21 กันยายน วันอัลไซเมอร์โลก (World Alzheimer s Day) เว็บไซต์ Caregiverthai.com ขอชวนทุกท่านตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลและป้องกันสมองของเรา เพื่อช่วยให้ห่างไกลภาวะสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์
do
1 กินดี - กินอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ในสัดส่วนและปริมาณเหมาะสม ควรได้รับพลังงานจากแป้งที่มีกากใยและวิตามิน ได้โปรตีนเพียงพอ เน้นจากปลาเป็นหลักเนื่องจากมีโอเมก้า 3 เน้นการกินผักให้มากและผลไม้หลากสีรสไม่หวานจัดเพื่อต้านอนุมูลอิสระในสมอง กินให้น้อยลงเนื่องจากร่างกายในวัยสูงอายุใช้พลังงานน้อย รวมทั้งลดการกินหวานและมันน้อย ๆ
2 นอนได้ - นอนก่อนเที่ยงคืน และให้พอวันละ 8-9 ชั่วโมง หรือนอนจนเต็มอิ่มตื่นขึ้นมาสดชื่น สมองจะมีเวลาจัดระเบียบข้อมูล ช่วยให้ความจำดี เรียนรู้สิ่งใหม่ได้ดี ร่างกายหลัง Growth Hormone ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กำจัดขยะและสารพิษในสมอง
3 ให้มีสังคม - คบเพื่อน เข้ากลุ่มความสนใจเดียวกัน มีกิจกรรมช่วยให้แอคทีฟ มีประโยชน์ต่อตัวเองและคนอื่น เมื่อไม่ได้ออกนอกบ้าน อาจโทรศัพท์ สื่อสารออนไลน์ พูดคุย วิดีโอคอล เรียนสิ่งที่สนใจ ช่วยให้ไม่เหงา เบื่อ และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคโควิด-19 และไขัหวัดใหญ่
4 สะสมพลังกาย - เลี่ยงการอยู่นิ่ง ๆ ขยับตัวให้เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็วบ้าง ออกกำลังกายเหมาะกับวัย อย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน ช่วยสร้างความแข็งแรงให้รระบบทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทั้งสมอง หัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ ลดโอกาสเกิดโรคเรื้อรัง ซึมเศร้า สมองเสื่อม
5 ใช้สมองต้องดูแล - รู้จักลดความเครียด ผ่อนคลายบ้าง ฝึกสมองส่วนต่าง ๆ เช่น เขียนหนังสือ ฝึกสายตา เล่นเกม และลองทำสิ่งใหม่ ๆ
6 ควรแคร์ความดัน - ความดันโลหิตของผู้สูงอายุระดับปกติ ตัวบนควรควบคุมให้ไม่เกิน 130 และตัวล่าง ไม่เกิน 80 เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุของ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์อัมพาต เส้นเลือดสมองแตก หัวใจล้มเหลว ไตวาย และภาวะสมองเสื่อม
7 เบาหวานคุมได้ - รายงานการศึกษาพบว่าโรคเบาหวานในผู้สูงอายุสร้างความเสี่ยงสมองเสื่อมเป็นอย่างยิ่ง แต่ยังไม่พบสาเหตุชัดเจน แนะนำให้กินแป้งและของหวานให้น้อย ผลไม้หวานจัด เน้นกินผัก ผลไม้รสไม่จัด
8 ไขมันคุมดี - เลี่ยงของทอด ๆ ผัด ๆ เนื้อสัตว์ติดมันติดหนัง เบเกอรี่ ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงควรเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต และปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาช่วยรักษา ลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง และภาวะสมองเสื่อม
9 ได้ยินให้ชัด - ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินจะแยกตัวออกจากสังคม ต้องเผชิญกับความเหงาส่งผลต่อสุขภาพจิต และนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม หากมีปัญหาการได้ยิน ใส่เครื่องช่วยฟังช่วยให้คุยกับคนอื่นรู้เรื่อง ไม่เหงา เฉา เบื่อ
10 ระมัดระวังใช้ยา - สารต้านสารสื่อประสาทแอนตี้โคลินิจิก ที่มีอยู่ในยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาแก้แพ้รุ่นเก่า ๆ ยารักษาโรคจิต ยาต้านเศร้า รวมทั้งยาคลายกล้ามเนื้อบางประเภท ทำให้ความจำความคิด ความสามารถสมองแย่ลง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเมื่อใช้ยา
DON’T
1 ลดอ้วน - ความอ้วนนำไปสู่หลายโรค เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และนำสู่สมองเสื่อม แนะนำให้รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
2 เลิกบุหรี่ - บุหรี่ตัวทำร้ายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและร่างกาย การเลิกบุหรี่ช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล ลดเสี่ยงซึมเศร้า พบว่าผู้ที่มีปัญหาความจำเลิกบุหรี่สำเร็จ คุณภาพชีวิตดีกว่าผู้ที่ยังสูบบุหรี่
3 หนีเหล้า - เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตัวร้ายทำลายสมองโดยตรง ควรเลิกดื่ม หากเลิกไม่ได้แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการบำบัดการติดสุรา
4 งดเซ็งเศร้า - ผู้มีภาวะซึมเศร้ามีโอกาสพัฒนาเป็นสมองเสื่อมถึง 2 เท่าของคนทั่วไป แนะนำให้ทำงานอดิเรกที่ชอบ ถ้าหากมีความเศร้ายาวนานเกิน 2 สัปดาห์ควรปรึกษาแพทย์
5 เลี่ยงบาดเจ็บสมอง - ผู้ที่เล่นกีฬา ต่อยมวย ฟุตบอล รักบี้ หรือเคยเกิดอุบัติรุนแรงทางศีรษะและหายแล้วก็ตาม เมื่ออายุมากมีโอกาสเสี่ยงสมองเสื่อมมากกว่าคนทั่วไป
ควรเลี่ยงกีฬากระเทือนสมอง และรู้จักป้องกันการบาดเจ็บศีรษะ เช่น นั่งรถยนต์คาดเข็มขัดนิรภัย สวมหมวกกันน็อกเมื่อนั่งมอเตอร์ไซค์ รวมทั้งใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://caregiverthai.com/news-216.html?#gsc.tab=0