เพราะเหตุใด ผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรกินมะเฟือง เสี่ยงไตวายเฉียบพลันได้

มะเฟือง (Star fruit) เป็นผลไม้ที่มีทั้งคุณประโยชน์ และส่งผลให้เกิดภาวะพิษต่อร่างกายได้ เพราะว่ามะเฟืองมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต สารออกซาเลต (oxalate) ที่จะไปจับกับแคลเซียมจนเกิดการตกตะกอนเป็นผลึกที่ไต ส่งผลให้เกิดไตวาย กรดอ็อกซาลิกที่ทำให้อาการของผู้ป่วยโรคไตรุนแรงขึ้น พร้อมทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่วในปัสสาวะ นี่คือสาเหตุที่ผู้ป่วยโรคไตถึงไม่ควรบริโภคมะเฟือง


“ผลการศึกษาพบว่า ในมะเฟืองเปรี้ยวจะมีปริมาณกรดออกซาลิคมากกว่ามะเฟืองชนิดหวาน ซึ่งในผู้ป่วยโรคไต โดยเฉพาะระยะ 4-5 ที่ต้องฟอกไตแล้ว จะไม่สามารถขับสารชนิดนี้ได้ ทำให้แม้แต่การกินเพียงเล็กน้อยก็อาจส่งผลต่อสมองได้ ทำให้สะอึก ซึมและชักได้ ส่วนผู้ป่วยไตระยะปานกลาง หากรับประทานมากเกินไป ก็ทำให้เกิดอาการได้เช่นกัน และจะทำห้ไตเสื่อมลง จึงเป็นกลุ่มที่ต้องระวัง ส่วนคนทั่วไปสามารถรับประทานได้ แต่ต้องไม่มากจนเกินไป”


คุณค่าทางโภชนาการของมะเฟือง
คุณค่าทางโภชนาการ ที่จะได้จากมะเฟือง 100 กรัม ได้แก่
* พลังงาน 31 กิโลแคลอรี
* คาร์โบไฮเดรต 6.73 กรัม
* น้ำตาล 3.98 กรัม
* ไขมัน 0.33 กรัม
* โปรตีน 1.04 กรัม
* วิตามินบี 1 0.014 มิลลิกรัม
* วิตามินบี 2 0.016 มิลลิกรัม
* วิตามินบี 3 0.367 มิลลิกรัม
*วิตามินบี 5 0.391 มิลลิกรัม
* วิตามินบี 6 0.017 มิลลิกรัม
* วิตามินบี 9 12 ไมโครกรัม
*วิตามินซี 34.4 มิลลิกรัม
* วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม
* ธาตุแคลเซียม 3 มิลลิกรัม
* ธาตุเหล็ก 0.08 มิลลิกรัม
* ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม
* ธาตุฟอสฟอรัส 12 มิลลิกรัม
* ธาตุโพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม
* ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม
* ธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม


ประโยชน์ของมะเฟือง
*น้ำคั้นจากมะเฟืองช่วยขจัดรังแคบนหนังศีรษะได้
* เสริมสร้างสร้างฟันให้แข็งแรง และป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
* ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่ช่วยในการรักษาสิว ฝ้า บำรุงผิวพรรณ
* เป็นยาขับเสมหะได้
* ควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นไปอย่างปกติสม่ำเสมอ
* ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
* ป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
* หากเป็นไข้มะเฟือง สามารถช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้
* ช่วยลดความอ้วน
* ช่วยให้นอนหลับได้สบายขึ้น
* เป็นยาแก้ร้อนใน ช่วยดับกระหายได้
* ช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดอาการฟุ้งซ่าน
* ผลมะเฟืองเมื่อคั้นเป็นน้ำสามารถช่วยลบรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าได้


ภาวะพิษของมะเฟือง
ภาวะพิษของมะเฟืองไม่ได้เกิดขึ้นกับไตเพียงอย่างเดียว หากบริโภคมะเฟืองในปริมาณที่มาก จะส่งผลกระทบต่อระบบบต่างๆ ในร่างกาย
1. พิษต่อไต
* ผู้ป่วยจะมีอาการไตวายเฉียบพลัน หลังรับประทานมะเฟืองผ่านไปหลายชั่วโมง รวมทั้งมีอาการความดันโลหิตสูง น้ำท่วมปอด ปัสสาวะออกมาน้อย เนื่องจากของเสียที่คั่งค้างอยู่ในไตไม่สามารถขับออกมาได้ อาจจะต้องได้รับการฟอกเลือดล้างไต ซึ่งต้องใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ ไตถึงจะสามารถทำงานได้เป็นปกติ
2. พิษต่อระบบประสาท
* มักจะเกิดในผู้ป่วยที่รับประทานมะเฟืองเป็นจำนวนมาก จะเกิดภาวะสมองบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื่องจากการเกิดผลึก calcitum oxalate ที่ไปเกาะผนังหลอดเลือดที่บริเวณเยื่อหุ้มสมอง แต่ภาวะพิษต่อระบบประสาทที่เกิดจากการรับประทานมะเฟืองนั้น เกิดขึ้นได้น้อย
3. พิษต่อระบบทางเดินอาหาร
ในมะเฟืองมีสารอ็อกซาลิก ซึ่งมีสถานะเป็นกรด หากรับประทานมะเฟืองในปริมาณที่มากจะส่งผลให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร หากมีอาการรุนแรงจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง รวมทั้งรับประอาหาร และดื่มน้ำได้น้อยลง
ปัจจัยในการเกิดโรคจากการบริโภคมะเฟือง
* ชนิดพันธุ์ของมะเฟือง มะเฟืองที่มีรสชาติเปรี้ยวจะมีกรดอ็อกซาลิกมากกว่ามะเฟืองที่มีรสชาติหวาน ดังนั้นผู้บริโภคมะเฟืองที่มีรสชาติเปรี้ยวจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมากกว่า
* ปริมาณ หากรับประทานมะเฟืองในปริมาณที่มาก จะได้รับสารออกซาเลตที่สูงขึ้น
* วิธีการบริโภค หากหากรับประทานมะเฟืองที่ผ่านการแปรรูป เช่น การดอง การเชื่อม หรือการตากแห้ง สารออกซาเลตจะมีปริมาณลดน้อยลง ความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ จะน้อยกว่าการบริโภคมะเฟืองสด
* การดูดซึม การรับประทานมะเฟืองขณะที่ท้องว่าง สารออกซาเลตจะถูกดูดซึมอย่างอิสระ และถูกขับออกทางไต แต่ถ้าหากรวมตัวกับแคลเซียม จะตกผลึกเป็นแคลเซียมออกซาเลตในเนื้อไต ส่งผลให้เกิดไตวายได้
* ภาวะขาดน้ำ หากรับประทานน้ำมะเฟือง หลังจากการออกกำลัง หรือสูญเสียเหงื่อมากๆ จะเกิดการตกผลึกแคลเซียมออกซาเลตในเนื้อไตได้ง่าย ส่งผลให้เกิดไตวายได้


วิธีการบริโภคมะเฟืองที่ดีต่อสุขภาพ
1. เลือกผลมะเฟืองที่สุก ไม่เน่าเสีย หรือผลดิบจนเกินไป
2. ก่อนรับประทานควรล้างผลมะเฟืองให้สะอาด
3. หั่นมะเฟืองให้เป็นชิ้นพอดีคำ นำเมล็ดออกก่อนรับประทาน
4. รับประทานมะเฟือง ในปริมาณที่พอดี ไม่มากจนเกินไป
5. ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์จากมะเฟือง


ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคมะเฟือง
* ผู้ที่รับประทานยาลดไขมัน
* ผู้ที่รับประทานยาคลายเครียด
* ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต หรือกำลังจะฟอกไต
* ผู้ป่วยโรคนิ่ว
* ผู้ป่วยภาวะขาดน้ำ


แม้ว่ามะเฟืองจะเป็นอันตรายแก่ผู้ป่วยโรคไต แต่บุคคลปกติสามารถบริโภคมะเฟืองได้ในปริมาณที่พอดี นอกจากผลของมะเฟือง ที่สามารถนำมารับประทานได้แล้ว ส่วนต่างๆ ของมะเฟืองสามารถเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายได้ เช่น การนำรากของมะเฟืองมาต้ม เพื่อแก้อาการปวดตามร่างกาย การรักษาอาการท้องร่วง ใบของมะเฟือง หากนำมาตำแล้วพอกบนผิวหนัง สามารถแก้การอักเสบ หรืออาการช้ำ บวมตามร่างกายได้ รวมทั้งการรักษาตุ่มจากโรคอีสุกอีใส ผื่นคันทั่วร่างกาย กลาก เกลื้อน เป็นต้น


 


ขอบคุณข้อมูลจากรพ.เพชรเวช , สสส.


https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Why-Kidney-disease-patients-should-not-eat-Star-fruit