“แวดวงการแพทย์” VS “วงการพลังงาน” ตะลึงตึงตึง เมื่อเจอ “แบตเตอรี่กินได้” นวัตกรรมจาก “อิตาลี”

By Jakkrit Siririn


 


 


 

“แวดวงการแพทย์” VS “วงการพลังงาน” ตะลึงตึงตึง เมื่อเจอ “แบตเตอรี่กินได้” นวัตกรรมจาก “อิตาลี” โดยรายงานการวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์เผยแพร่อยู่ในวารสาร Advanced Materials ฉบับเดือนเมษายนที่ผ่านมา
               


                ดร. Mario Caironi นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งอิตาลี หรือ Istituto Italiano di Tecnologia แห่งเมือง Milan คือผู้ค้นคิดประดิษฐกรรมแบตเตอรี่ต้นแบบที่สามารถกินได้ และชาร์จไฟได้ตามปกติ
                เบื้องหลังการถ่ายทำของ “แบตเตอรี่กินได้” ก็คือ ใช้วัตถุดิบจากผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด ดังนั้น นวัตกรรมนี้อาจเป็นใบเบิกทางสู่การพัฒนาด้านพลังงาน ด้านอาหาร และด้านการแพทย์ไปพร้อม ๆ กัน
               ดร. Mario Caironi เกิดที่เมืองแบร์กาโม ประเทศอิตาลี เมื่อปี ค.ศ. 1978 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าที่ Politecnico di Milano เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 2003 และปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศเกียรตินิยมอันดับ 1 ในปี ค.ศ. 2007 ด้วยวิทยานิพนธ์การสร้างหน่วยความจำจากสารอินทรีย์
               ดร. Mario Caironi ได้ทำงานวิจัยหลังปริญญาเอก หัวข้อเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตความละเอียดสูงโดยทรานซิสเตอร์อินทรีย์ ในปี ค.ศ. 2007 ร่วมกับ ศ.ดร. Henning Sirringhaus ที่ Cavendish Laboratory เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และทำงานอยู่ที่เคมบริดจ์เป็นเวลา 3 ปี
                ต่อมาในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2010 ดร. Mario Caironi ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทีมที่ Center for Nano Science and [email protected] ของ Istituto Italiano di Tecnologia เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี เริ่มทำผลงานทางวิชาการ และเป็นนักเขียนบทความทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 130 ชิ้น ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
              ดร. Mario Caironi สนใจในเทคนิคการพิมพ์ความละเอียดสูงที่ใช้โซลูชันสำหรับการผลิตอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ออปโตอิเล็กทรอนิกส์ และเทอร์โมอิเล็กทริก โดยใช้สารอินทรีย์ รวมถึงอุปกรณ์ของทรานซิสเตอร์เอฟเฟกต์ภาคสนามที่ใช้เซมิคอนดักเตอร์อินทรีย์

                 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานการประดิษฐ์คิดค้นด้านชีวการแพทย์ หรือเซ็นเซอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบอินทรีย์ที่ฝังไว้สำหรับการดูแลสุขภาพ โดย ดร. Mario Caironi เป็นผู้รับสิทธิ์ ERC ในปี ค.ศ. 2014 และผู้รับสิทธิ์ Consolidator ในปี ค.ศ. 2019
                 สำหรับผลงานวิจัยชิ้นล่าสุด คือ “แบตเตอรี่กินได้” นี้ ดร. Mario Caironi หวังว่าจะสามารถปฏิวัติอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถบริโภคได้ โดย ดร. Mario Caironi ได้กล่าวว่า นี่เป็นตัวอย่างแรกของแบตเตอรี่ที่ทั้งกินได้ และชาร์จไฟได้
                  ซึ่ง ดร. Mario Caironi ได้ผลิต “แบตเตอรี่กินได้” จากผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย “อัลมอนด์” “ลูกเคเปอร์” “ถ่านชาร์โคล” “สาหร่าย” “ทองคำเปลว” และ “ขี้ผึ้ง”
                  ดร. Mario Caironi อธิบายว่า แกนกลางของอุปกรณ์ดังกล่าว จะมีขั้วไฟฟ้าอยู่ 2 ขั้ว โดยจะต้องใช้วัสดุจำนวน 2 ชนิด แบบ 2 โมเลกุล เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้แบบขั้วบวก-ขั้วลบ

 “สำหรับขั้วบวก ผมใช้ไรโบฟลาวิน ซึ่งเป็นวิตามินที่พบได้ในอัลมอนด์ ส่วนขั้วลบ ผมใช้เควอซิทิน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และพบได้ในลูกเคเปอร์” ดร. Mario Caironi กระชุ่น


                  สำหรับการอัดประจุ ดร. Mario Caironi ใช้ถ่านชาร์โคลในการเพิ่มการนำไฟฟ้า ในขณะที่ตัวคั่นภายในแบตเตอรี่เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ดร. Mario Caironi ใช้สาหร่ายแผ่นแบบที่ใช้ในการห่อซูชิ
                  ส่วนขั้วไฟฟ้าของแบตเตอรี่จะถูกหุ้มด้วยขี้ผึ้ง โดยมีหน้าสัมผัสเป็นทองคำที่กินได้ 2 แผ่น ซึ่งรองรับด้วยฐานเซลลูโลสเพื่อเป็นตัวนำไฟฟ้า
                  ดร. Mario Caironi ชี้ว่า แบตเตอรี่ที่กินได้นี้ ช่วยให้เราสามารถกลืนอุปกรณ์ เช่น เซ็นเซอร์ เข้าไป และมันจะย่อยสลายภายในร่างกายของเราเหมือนกับอาหาร หลังจากที่ใช้งานเสร็จแล้ว
                  ดร. Mario Caironi หวังว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กินได้ เช่นเดียวกับ “แบตเตอรี่กินได้” นี้ จะส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อการวินิจฉัย และการรักษาอาการต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหาร และยังสามารถใช้ตรวจสอบคุณภาพอาหารในอนาคตได้อีกด้วย
                  โดยที่ผ่านมา อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่กินได้นั้น ต่างมีใช้อยู่บ้างแล้วในปัจจุบัน แต่ร่างกายของเราไม่สามารถย่อยได้ แปลไทยเป็นไทยก็คือ หากพบปัญหาในระหว่างกระบวนการย่อยอาหาร ก็อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อนำอุปกรณ์ดังกล่าวออกมา
                  แต่อุปกรณ์ของ ดร. Mario Caironi สามารถย่อยได้ทั้งหมดโดยไม่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพใด ๆ เลย
                  นอกจากนี้ การใช้งานอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้นอกเหนือจากเรื่องสุขภาพก็คือ การตรวจสอบคุณภาพอาหาร และการพัฒนาหุ่นยนต์แบบนิ่มที่กินได้
                  ทั้งนี้ “แบตเตอรี่กินได้” ของ ดร. Mario Caironi ที่เป็นต้นแบบชิ้นนี้ ทำงานที่กระแสไฟฟ้า 0.65 โวลต์ ซึ่งเป็นแรงดันไฟฟ้าต่ำเกินไปที่จะทำให้เกิดปัญหาภายในร่างกายมนุษย์
                  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แบตเตอรี่กินได้” ของ ดร. Mario Caironi มีสมรรถนะการจ่ายไฟที่ 48 ไมโครแอมป์ ได้นานสูงสุด 12 นาทีอีกด้วย
                  นอกจากนี้ ยังสามารถจ่ายไฟให้กับหลอดไฟ LED ขนาดเล็ก หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่น ๆ โดย ดร. Mario Caironi กำลังพยายามเพิ่มความจุ พร้อมทั้งลดขนาดอุปกรณ์ลงให้เท่ากับยาเม็ดแคปซูลที่สามารถกลืนได้ง่ายขึ้น
ครับ


สำหรัผลงานวิจัยชิ้นล่าสุดคือ
" แบตเตอรี่กินได้" นี้
ดร. Mario Caironi หวังว่า
จะสามารถปฏิวัติอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถบริโภคได้
โดย ดร. Mario Caironi ได้กล่าวว่า นี่เป็นตัวอย่างแรกของแบตเตอรี่
ที่ทั้งกินได้ และชาร์จไฟได้
ดร. Mario Caironi ได้ผลิต " แบตเตอรี่ กินได้ "
จากผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด
ซึ่งประกอบด้วย อัลมอนด์ ,ลูกเคเปอร์ ,
ถ่านชาร์โคล , สาหร่าย , ทองคำเปลว
และขี้ผึ้ง


 


 


ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.salika.co/2023/05/11/mario-caironi/