การดื้อยามีผลอย่างไรต่ออัตราการตายของการติดเชื้อ E. coli ในกระแสเลือด

J AntimicrobChemother 2020 May 17

แหล่งการติดเชื้อในทางเดินหายใจปอด การมีโรคร่วมของผู้ป่วยยีนก่อโรคและการได้รับบริการรักษาพยาบาลเป็นตัวผลักดันอัตราการเสียชีวิตที่สำคัญการดื้อยาของ E.coli
          การดื้อยาต้านจุลชีพกำลังเพิ่มสูงขึ้นใน Escherichia coliโดยเฉพาะอย่างยิ่งเอนไซม์บีตา-แลคทาเมสที่มีฤทธิ์ขยายอำนาจการดื้อยา (Extended-Spectrum b-lactamase; ESBL)  อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่าการดื้อยาต้านจุลชีพมีบทบาทในการผลักดันให้เกิดอัตราการเสียชีวิตที่สัมพันธ์กับแบคทีเรียเมื่อเทียบกับปัจจัยอื่นๆ
          เพื่อดำเนินการศึกษาในประเด็นนี้ คณะผู้วิจัยได้ตรวจภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด E. coli ในผู้ใหญ่ 545 คนจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ7 แห่งในเขตมหานครปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยมีการถอดรหัสพันธุกรรมจีโนมทั้งหมดเพื่อศึกษาชนิดของ clonal complex, การมีอยู่ของสารพิษและยีนที่ดื้อยาต้านจุลชีพ และสถานะphylogroup
          คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลลักษณะเฉพาะตัวของผู้ป่วยเพื่อดูความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็นเวลาถึง 28 วันหลังการเพาะเชื้อจากเลือด  มีการนำคุณลักษณะเฉพาะทางคลินิกและ genotype ของแบคทีเรียจากการวิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยวที่สัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตมาใช้กับการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบหลายตัวแปร
          พบว่าแหล่งของภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด (bacteremia) มีความเกี่ยวข้องกับปัสสาวะในผู้ป่วยร้อยละ 52  ทางเดินอาหารร้อยละ 42 และทางเดินหายใจร้อยละ 3.5  ผู้ป่วยที่ถูกแยกเดี่ยวทั้ง 98 คน (ร้อยละ 18) มีการดื้อยาcephalosporins รุ่นที่สาม;86 คน (ร้อยละ 16) มีการผลิต ESBL
          ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยยาcephalosporins รุ่นที่สาม  หรือยา piperacillin-tazobactam
          ตัวพยากรณ์อิสระของการเสียชีวิต ได้แก่ แหล่งของภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดในทางเดินหายใจ; การเริ่มติดเชื้อในโรงพยาบาล; ค่าที่สูงของดัชนีโรคร่วมชาร์ลสัน (Charlson comorbidity index);STc88 clonal complex type และการมีอยู่ของยีนก่อโรค iha_17ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเป็นพิษในทางเดินปัสสาวะ  ขณะที่สายพันธุ์E. coli  ซึ่งรวมทั้งสายพันธุ์ที่ผลิตESBL ที่ดื้อยา cephalosporins รุ่นที่สาม ไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น แม้เมื่อได้พิจารณาถึงแหล่งการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะที่มีความเสี่ยงต่ำและความล่าช้าในการรักษาด้วยยาแอนติไบโอติกอย่าง “เพียงพอ” เป็นเวลา 48 ชั่วโมง
          การศึกษานี้มีข้อจำกัดเนื่องจากไม่ได้รวมผู้ป่วยที่ได้รับยา vasopressors ก่อนเริ่มพบภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด แต่การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดจากE.coliอาจถูกแรงผลักด้นจากคุณสมบัติทางคลินิกที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าจากการรักษาด้วยยาแอนติไบโอติก  ผลการศึกษานี้ทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจว่าการดื้อยาต้านจุลชีพจะมาพร้อมกับการแลกด้วยความเป็นพิษที่ลดลงของE.coli หรือไม่ และการพยากรณ์ปฏิกิริยาของยาแอนติไบโอติกในร่างกายทำได้แม่นยำหรือไม่ด้วยวิธีปัจจุบันของเราในการทดสอบความไวในหลอดทดลอง