ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวคืบหน้าเข้าสู่เฟส 2

กระทรวงสาธารณสุขเดินหน้านโยบาย “ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” เข้าสู่ระยะที่ 2 ครอบคลุมเพิ่มเติมเพชรบูรณ์นครสวรรค์สิงห์บุรีหนองบัวลำภูสระแก้วอำนาจเจริญและพังงาเตรียมเดินหน้าระยะที่ 3 ครอบคลุม 6 เขตสุขภาพในเดือนพฤษภาคมก่อนขยายผลครอบคลุมทั่วประเทศภายในสิ้นปีนี้


ความคืบหน้าเกี่ยวกับนโยบาย “ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2567 ที่สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 จ.นครราชสีมานพ.ชลน่านศรีแก้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยน.ส.แพทองธารชินวัตรรองประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาตินายประเสริฐจันทรรวงทองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและน.ส.สุดาวรรณหวังศุภกิจโกศลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมเปิดงาน “ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” ระยะที่ 2 โดยมีผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขนำโดยนพ.โอภาสการย์กวินพงศ์ปลัดกระทรวงสาธารณสุขผู้บริหารในพื้นที่บุคลากรสาธารณสุขผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่นอสม. และประชาชนเข้าร่วมงานกว่า 10,000 คนพร้อมกับการเปิดงานในอีก 7 จังหวัดคือเพชรบูรณ์นครสวรรค์สิงห์บุรีหนองบัวลำภูสระแก้วอำนาจเจริญและพังงา


นพ.ชลน่านกล่าวว่า การยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ประชาชน สามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลทุกที่ทั้งรัฐและเอกชน เป็นหนึ่งในนโยบายรัฐบาลที่นายเศรษฐาทวีสินนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แถลงต่อรัฐสภาและเป็นนโยบายที่กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนทุกพื้นที่ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพจากหน่วยบริการทุกระดับทุกสังกัดและยกระดับหน่วยบริการให้เป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้จัดบริการสุขภาพซึ่งปัจจุบันมีหน่วยบริการสังกัดสป.สธ. ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร.พ.อัจฉริยะแล้ว 99.7% มีการเชื่อมต่อ Application และไลน์หมอพร้อมทั่วประเทศแล้วกว่า 40 ล้านคนโดยมีการนัดหมายและให้บริการระบบการแพทย์ทางไกลแล้ว 55,446 ครั้ง, ออกใบรับรองแพทย์ดิจิทัล 81,317 ใบ, จัดส่งยาและเวชภัณฑ์โดย Health Rider ครอบคลุมแล้วกว่า 35 จังหวัด 55,376 ออร์เดอร์ผู้รับบริการกว่า 90% พึงพอใจในระดับดีมากทั้งนี้ขอให้มั่นใจได้ว่า ข้อมูลสุขภาพของประชาชนทุกคนจะได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล โดยกระทรวงสาธารณสุขมีการติดตามตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยงเพื่อยกระดับการป้องกันและสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับทุกโรงพยาบาล


นพ.ชลน่านกล่าวต่อว่า จากการตรวจเยี่ยมติดตามการให้บริการในระบบต่าง ๆ ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาและโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีอาทิประวัติสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์การออกใบรับรองแพทย์ดิจิทัลใบสั่งยา/ใบสั่งแล็บออนไลน์การแพทย์ทางไกลเภสัชกรรมทางไกลการรับยาผ่านระบบเภสัชกรรมทางไกลการดูแลผู้ป่วยที่บ้านทางไกลรวมถึงระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์พบว่ามีความพร้อมอย่างมากมีการยืนยันตัวตนของผู้รับบริการ Health ID 1,286,975 คนและลงทะเบียนผู้ให้บริการ Provider ID แล้ว 18,862 คนคิดเป็น 96.3% ของบุคลากรในจังหวัดทุกโรงพยาบาลในสังกัดสธ. เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพได้ 100% ส่วนการยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ฯระยะที่ 3 จะขยายเป็น 6 เขตสุขภาพคือเขตสุขภาพที่ 1, 3, 4, 8, 9 และ 12 ซึ่งเมื่อรวมกับ 2 ระยะแรกจะครอบคลุมถึง 45 จังหวัดจากนั้นจะขยายให้ครอบคลุมทั้งประเทศภายในปี 2567 นี้


“หลังดำเนินการครบถ้วน ประชาชนทั่วประเทศจะได้รับความสะดวกในการเข้ารับบริการสุขภาพกับสถานพยาบาลทุกเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ด้วยบัตรประชาชนเพียงใบเดียวไม่ต้องใช้ใบส่งตัวช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลลดระยะเวลารอคอยและที่สำคัญช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางซึ่งต้องขอขอบคุณทั้งภาครัฐเอกชนสภาวิชาชีพต่าง ๆ ประชาชนและอสม. ทุกจังหวัดที่ช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายนี้ให้สำเร็จเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพของพี่น้องคนไทย” นพ.ชลน่านกล่าว


 


 

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2567 ที่ลานสาเกตนครหน้าหอโหวด 101 จ.ร้อยเอ็ดนายเศรษฐาทวีสินนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานพิธีเปิดตัวนโยบาย “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่” โดยมีน.ส.แพทองธารชินวัตรรองประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาตินพ.ชลน่านศรีแก้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนพ.โอภาสการย์กวินพงศ์ปลัดกระทรวงสาธารณสุขผู้บริหารในพื้นที่บุคลากรสาธารณสุขผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่นอสม. ชมรมผู้สูงอายุและประชาชนจำนวน 10,101 คนเข้าร่วมพิธีเปิดพร้อมกับอีก 3 จังหวัดนำร่องคือแพร่เพชรบุรีและนราธิวาส


นายเศรษฐากล่าวว่าการยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ประชาชนสามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลทุกที่ทั้งรัฐและเอกชน เป็นหนึ่งในนโยบายรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา และเป็นนโยบายเน้นหนักของกระทรวงสาธารณสุขที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคน ทุกกลุ่มทุกพื้นที่ผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพจากหน่วยบริการทุกระดับทุกสังกัดและยกระดับหน่วยบริการให้เป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้จัดบริการสุขภาพอาทิประวัติสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์การออกใบรับรองแพทย์ดิจิทัลใบสั่งยาและใบสั่งแล็บออนไลน์การแพทย์และเภสัชกรรมทางไกลการนัดหมายออนไลน์ส่งยาและเวชภัณฑ์ที่บ้านผ่าน Health Rider และการส่งยาทางไปรษณีย์เป็นต้นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทำให้ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลลดระยะเวลารอคอยและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชน


“หวังว่านโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวจะช่วยให้คนไทยทุกคนได้รับการดูแลสุขภาพได้ทุกที่ให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงมีพลังในการดำเนินชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไปซึ่งต้องขอขอบคุณทั้งภาครัฐเอกชนสภาวิชาชีพต่าง ๆ ประชาชนและอสม. ทั้งในจังหวัดร้อยเอ็ดและอีก 3 จังหวัดนำร่องที่ช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายนี้ให้สำเร็จเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพของประชาชนไทย” นายเศรษฐากล่าว


ขณะที่ น.ส.แพทองธาร กล่าวว่าประเทศไทยขับเคลื่อนนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคมาตั้งแต่ปี 2544 เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยในการรับบริการสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยและส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ถือเป็นนโยบายสาธารณสุขที่สำคัญและมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องช่วยให้ประชาชนคลายความกังวลเรื่องภาระค่าใช้จ่ายทางสุขภาพสามารถลดครัวเรือนที่ยากจนจากรายจ่ายด้านสุขภาพจาก 250,000 ครัวเรือนในปี 2531 เป็น 49,300 ครัวเรือนในปี 2564 ซึ่งการขับเคลื่อนต่อจากนี้คือการยกระดับเป็น 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อให้คนไทยเข้ารับบริการสุขภาพได้อย่างสะดวกรวดเร็วด้วยบัตรประชาชนใบเดียวเข้ารับบริการได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐเอกชนคลินิกแล็บและร้านยาใกล้บ้านเชื่อว่านโยบายนี้จะทำให้คนไทยทุกคนได้รับการส่งเสริมสุขภาพควบคุมป้องกันโรครักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยเท่าเทียมลดความเหลื่อมล้ำเพิ่มการเข้าถึงบริการสาธารณสุข

ด้านนพ.ชลน่านกล่าวว่าที่ผ่านมาเมื่อประชาชนจำเป็นต้องเปลี่ยนหน่วยบริการจะพบปัญหาเรื่องการเข้าถึงข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาล เนื่องจากข้อมูลการรับบริการทางการแพทย์ของแต่ละหน่วยบริการไม่เชื่อมโยงกัน ทำให้ประชาชนต้องเสียเวลาในการรวบรวมข้อมูลการรักษาของตนเองจากสถานพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งทั้งไม่สะดวกและเป็นภาระค่าใช้จ่ายแฝงขณะที่แพทย์ผู้รักษามักจะได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการรักษาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็นประวัติการรักษาประวัติการแพ้ยาการได้รับวัคซีนผลทางห้องปฏิบัติการที่ผ่านมา เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการรักษาในหน่วยบริการอื่นเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน รัฐบาลจึงยกระดับระบบ 30 บาท ให้สามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลทุกเครือข่ายทั้งรัฐและเอกชน โดยพัฒนาระบบบริการและเชื่อมโยงฐานข้อมูลสุขภาพจากหน่วยบริการทุกระดับ ช่วยให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่สะดวกรวดเร็วมีประสิทธิภาพและคุณภาพยิ่งขึ้นรวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพเพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้


“กระทรวงสาธารณสุขกำหนดขับเคลื่อนใน 4 จังหวัดนำร่องได้แก่แพร่เพชรบุรีนราธิวาสและร้อยเอ็ดจากนั้นระยะที่ 2 จะขยายอีก 8 จังหวัดคือเพชรบูรณ์นครสวรรค์สิงห์บุรีสระแก้วหนองบัวลำภูนครราชสีมาอำนาจเจริญและพังงาและขยายทั่วประเทศภายใน 1 ปีโดยจัดงานเปิดตัวขึ้นที่ร้อยเอ็ดพร้อมกับอีก 3 จังหวัดนำร่องเพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนซึ่งวันนี้ได้มีการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลจตุรพักตร์พิมานร้านยาร้านแล็บคลินิกเวชกรรมคลินิกทันตกรรมและโรงพยาบาลร้อยเอ็ดพบว่ามีความพร้อมในการขับเคลื่อนเต็มร้อย” นพ.ชลน่านกล่าว


ส่วนนพ.โอภาสกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศให้เจริญก้าวหน้าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและลดภาระงานของบุคลากรจึงกำหนดให้เรื่องดิจิทัลสุขภาพเป็นหนึ่งในนโยบายการดำเนินงานโดยมีเป้าหมายหลักในการยกระดับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนซึ่งจะมีการถอดบทเรียนการดำเนินงานใน 4 จังหวัดนำร่องเพื่อนำไปขยายผลอีก 8 จังหวัดในระยะที่ 2 และขยายครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศต่อไป