ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ตั้งแต่แรกไม่มีประโยชน์ต่อภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่างเฉียบพลัน

Clin Gastroenterol Hepatol 2019 Dec 13

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่หลังจากมีอาการ 24 ชั่วโมง ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรที่แตกต่างจากการส่องกล้องตรวจภายหลัง
          ข้อแนะนำของสมาคมวิทยาการทางเดินอาหารแนะนำให้ใช้การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แต่เริ่มแรก (ภายใน 24 ชั่วโมง) ในผู้ป่วยที่เข้าโรงพยาบาลเนื่องจากเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่างเฉียบพลัน (acute lower gastrointestinal bleeding: LGIB) อย่างไรก็ตาม การทดลองแบบสุ่มเมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่า การส่องกล้องตั้งแต่เริ่มแรกนั้นไม่มีประโยชน์ในสถานการณ์นี้ (NEJM JW Gastroenterol Dec 2019 และ Gastroenterology 2020; 158:168) และการศึกษาก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่ว่าด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แต่เริ่มแรกในผู้ป่วย LGIB เฉียบพลันเป็นการศึกษาเชิงสังเกตการณ์
          เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ต่อไปจากหลักฐานที่มีอยู่ คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการทบทวนอย่างเป็นระบบและมีการวิเคราะห์เชิงอนุมานกับการทดลองแบบสุ่มภายใต้การควบคุมที่เผยแพร่ออกมา 4 ชิ้น ซึ่งเป็นการศึกษาทดลองการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ตั้งแต่เริ่มแรกเทียบกับการส่องกล้องภายหลังในผู้ป่วย LGIB เฉียบพลัน ซึ่งรวมถึงการศึกษาที่เผยแพร่ในปี 2019 ด้วย
          การศึกษาเชิงอนุมานแสดงว่า ไม่มีความแตกต่างในความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกระหว่างการส่องกล้องตั้งแต่เริ่มแรกเทียบกับการส่องกล้องภายหลัง (ความเสี่ยงเชิงเปรียบเทียบเท่ากับ 1.57; ขอบเขตความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เท่ากับ 0.74–3.31) อัตราการเสียชีวิตยังเหมือนกันระหว่าง 2 กลุ่ม (RR, 0.93) เช่นเดียวกับผลลัพธ์รองประการอื่น ๆ ซึ่งรวมไปถึงผลการตรวจวินิจฉัย สัญญาณของการมีภาวะเลือดออกเมื่อไม่นานมานี้ การรักษาผ่านการส่องกล้องหรือการรักษาด้วยการผ่าตัด และเหตุที่ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ