ผู้สูงวัยกำลังหันมาใช้วิตามิน biotin กันมากขึ้นทุกวัน เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับผิวหนัง เส้นผม และเล็บที่เสื่อมลงตามวัย แต่การศึกษาครั้งใหม่ชี้ว่า การใช้ biotin ขนาดเข้มข้นสามารถรบกวนการทดสอบภูมิคุ้มกันได้
การใช้ biotin หรือที่บางครั้งเรียกว่า วิตามิน B7 หรือวิตามิน H แพร่หลายกว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัย เพื่อประโยชน์ในการกระตุ้นการเติบโตของผิวหนัง เส้นผม และเล็บ แต่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) เตือนว่า การใช้ biotin ขนาดสูงหรือเข้มข้นจะรบกวนการตรวจทดสอบภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งรวมไปถึงการทดสอบการทำหน้าที่ของ thyroid และ parathyroid และ troponin ด้วย
การใช้ biotin ขนาดสูงหรือเข้มข้นที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ตั้งแต่ 1 milligram (mg)/day ขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าขนาดที่แนะนำให้ใช้ 30 microgram/day หลายเท่ามาก
เนื่องจากยังไม่ปรากฏชัดเจนว่ามีการใช้ biotin ขนาดเข้มข้นแพร่หลายเพียงไร คณะผู้วิจัยจึงใช้ข้อมูลจากผลการสำรวจสุขภาพระยะยาวในสหรัฐอเมริกา และพบว่าการเสริมอาหารด้วย biotin ขนาดเข้มข้นได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ในการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยประเมินความนิยมบริโภค biotin ขนาดเข้มข้นจากผู้เข้าร่วมการศึกษาประมาณ 5,000 คน ในการสำรวจของ U.S. National Health and Nutrition Survey ของการสำรวจครั้งละ 2 ปี จำนวน 9 ครั้ง ตั้งแต่ปี 1999 ถึง 2016 ส่วนข้อมูลการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในช่วงเวลา 30 วันก่อนหน้า ได้มาจากการสัมภาษณ์ส่วนบุคคล
การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร biotin โดยทั่วไป ≥1 g/day เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.1 เป็นร้อยละ 2.8 ระหว่างช่วงการศึกษา 18 ปี ผู้เข้าร่วมการศึกษาประมาณร้อยละ 0.1 ใช้ ≥5 g/day ในปี 2007–2008 และอัตราส่วนนี้ได้เพิ่มเป็นร้อยละ 0.7 ในปี 2015–2016 ผู้หญิงสูงวัย (อายุ ≥60 ปี) เป็นกลุ่มที่ใช้สูงมาก โดยร้อยละ 7.4 บริโภค ≥1 g/day และร้อยละ 2.3 บริโภค ≥5 g/day ในปี 2015–2016
ผลลัพธ์ข้างต้นแสดงว่า ในการทำงานรักษาผู้ป่วย 1 สัปดาห์ แพทย์ปฐมภูมิอาจตรวจพบผู้ป่วย 1 หรือ 2 คน ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร biotin มากเกินไป แม้ว่าผลข้างเคียงที่แท้จริงของ biotin ขนาดเข้มข้นจะมีน้อยมาก (ส่วนใหญ่มีอาการทางเดินอาหารเล็กน้อย) แต่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดผลลัพธ์ที่ผิดพลาดในการตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้อาจมีปัญหาข้อสงสัยได้โดยเฉพาะในผู้หญิงสูงวัย
เสริม Biotin เข้มข้นรบกวนการทดสอบทางการแพทย์
JAMA 2020 Aug 11