ฟิลิปส์ เผยผลสำรวจใหม่ล่าสุด ‘Healthy Living Survey in Asia’ พบคนไทยให้ความใส่ใจด้านสุขภาพเชิงป้องกันมากขึ้นหลังการเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และบทบาทที่เพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล

www.medi.co.th


• 95% ของผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ในขณะที่ 57% รู้สึกว่าพวกเขาน่าจะทำได้ดีกว่านี้ในการดูแลสุขภาพ
• เกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลในการติดตามและตรวจวัดสุขภาพมากขึ้นหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19
• 75% ของกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยบอกว่า พวกเขาต้องการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลในการติดตามและตรวจวัดสุขภาพมากขึ้นภายใน 3 ปีข้างหน้า


การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและมุมมองด้านสุขภาพของผู้คนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพในเชิงป้องกันมากขึ้น ซึ่งหมายถึงการดูแลสภาพความเป็นอยู่ที่ดีในขณะที่ร่างกายยังแข็งแรงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การพักผ่อน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือแม้แต่การดูแลสุขภาพใจให้ดีอยู่เสมอ ดังนั้น นอกจากนวัตกรรมทางการแพทย์แล้ว อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้คน


ฟิลิปส์ ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ ได้จัดทำผลสำรวจ ‘Healthy Living Survey in Asia’ ร่วมกับบริษัทวิจัยชั้นนำอย่าง Kantar Profiles Network ซึ่งทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างกว่า 4,000 คน ในประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงด้านเทรนด์ เทคโนโลยี และการดูแลสุขภาพโดยรวมภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของผู้คนในเอเชีย และสิ่งที่น่าสนใจในรายงานชิ้นนี้พบว่าผู้คนในเอเชียให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมากขึ้น ในขณะที่อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันมากขึ้นเช่นกัน


การเพิ่มขึ้นของการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันของคนไทยที่สูงสุดในภูมิภาค
จากผลสำรวจพบว่า 95% ของกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยเข้าใจถึงความสำคัญของ ‘การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน’ ซึ่งหมายถึงการใส่ใจกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันที่ส่งผลต่อสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยในอนาคต ซึ่งรวมถึงเฮลท์ตี้ไลฟ์สไตล์ ได้แก่ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย การตรวจติดตามสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งจากผลสำรวจพบว่า 62% ของกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยมีการหาอ่านข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (เทียบกับ 45% ของกลุ่มตัวอย่างในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค) นอกจากนี้ 54% ของกลุ่มตัวอย่างยังเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น และ 51% (เทียบกับ 40% ของกลุ่มตัวอย่างในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค) ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากกว่าการทำงานหนัก ซึ่งมากกว่าก่อนการเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19


ความท้าทายที่มีผลต่อ ‘ช่องว่างด้านสุขภาพ’
แม้ว่าผลสำรวจจะชี้ชัดว่าผู้คนในเอเชียตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพมากขึ้น แต่ผลสำรวจยังเผยให้เห็นถึงความท้าทายที่ยังคงมีอยู่ และมีผลให้เกิด ‘ช่องว่างด้านสุขภาพ’ ด้วยเช่นกัน โดย 45% ของกลุ่มตัวอย่างในเอเชีย (57% ของกลุ่มตัวอย่างในไทย) คิดว่าพวกเขาน่าจะทำได้ดีกว่านี้ในการดูแลสุขภาพให้ดี โดย 52% ของกลุ่มตัวอย่างในไทยรู้สึกว่าอุปสรรคสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเอง คือ ไม่มีเวลา เนื่องจากต้องทำงาน ให้เวลากับครอบครัว และภาระความรับผิดชอบต่างๆ สำหรับปัจจัยที่จะเข้ามาช่วยให้การดูแลสุขภาพตนเองเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น 43% เห็นว่าควรอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแพทย์ให้ดีขึ้น 42% เห็นว่าควรเพิ่มทางเลือกในการปรึกษาแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์ 42% เห็นว่าควรเพิ่มการให้ความรู้เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ และ 51% เห็นว่าควรเพิ่มการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการดูแลและตรวจสุขภาพส่วนบุคคลในการตรวจวัดและติดตามภาวะสุขภาพ

เทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลกับการสนับสนุนการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ผลจากการสำรวจพบว่า 30% ของกลุ่มตัวอย่างในเอเชียหันมาใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลในการตรวจวัดสุขภาพของตนเองมากกว่าก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะที่ 43% ของกลุ่มตัวอย่างในไทยใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลเป็นประจำ โดยใช้ในการตรวจวัดสุขภาพหัวใจ (47%) ตรวจวัดคุณภาพการนอนหลับ (45%) ตรวจติดตามปัญหาสุขภาพที่เป็นอยู่ (43%) และตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน (35%) ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันที่เพิ่มขึ้น โดย 74% ของกลุ่มตัวอย่างกล่าวว่าการเข้าถึงอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลช่วยให้พวกเขาดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น และ 75% กล่าวว่าพวกเขาต้องการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลในการติดตามและตรวจวัดสุขภาพมากขึ้นภายใน 3 ปีข้างหน้า
นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “จากผลสำรวจที่ออกมา ผมรู้สึกดีใจที่ผู้บริโภคชาวไทยมีความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันมากขึ้น ดังนั้น ฟิลิปส์ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ เราเชื่อว่านวัตกรรมการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลที่ล้ำสมัย สะดวกสบาย และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันให้กับผู้บริโภคได้ ยกตัวอย่างล่าสุด เราได้นำเสนอเทคโนโลยี SenseIQ ในไดร์เป่าผมฟิลิปส์ เพราะไดร์เป่าผมไม่เพียงใช้งานเป่าผมให้แห้งเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพผมด้วย SenseIQ เป็นเซ็นเซอร์อินฟราเรดอัจฉริยะที่จะช่วยสแกนอุณหภูมิของเส้นผมอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับอุณหภูมิความร้อนให้เหมาะสม เพื่อป้องกันความร้อนที่มากเกินไป ด้วยเทคโนโลยีที่ปรับให้เหมาะกับการใช้งานของเราช่วยปกป้องเส้นผมขณะที่เป่าผมแห้ง กักเก็บความชุ่มชื้นตามธรรมชาติของเส้นผมได้ถึง 90%* นี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลจากฟิลิปส์ที่ตอบรับเทรนด์ด้านการดูแลสุขภาพจากที่บ้าน”
และการใช้เทคโนโลยีการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเอเชีย ตามเป้าหมายของฟิลิปส์ที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น โดยเริ่มจากความเป็นอยู่ที่ดีและป้องกันโรคด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของห่วงโซ่สุขภาพ (Health Continuum) ติดตามข่าวสารและข้อมูลเพิ่มเติมของฟิลิปส์ ได้ที่เว็บไซต์ www.philips.co.th