นพ.บัณฑิต ศรไพศาล นักวิจัยในโครงการวิจัยสังเคราะห์ และทบทวนเพื่อพัฒนามาตรการ นำสารสกัดกัญชาใช้ทางการแพทย์สำหรับประเทศไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ให้ สัมภาษณ์ถึงประเด็นนี้ว่า การตัดกัญชาออกจาก รายชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง อย่างยิ่ง ด้วยเหตุผล 5 ประการ คือ
1.การอ้างเหตุผลว่าไม่มีคำว่ากัญชาในประมวลกฎหมายยาเสพติดกัญชาจึงไม่ใช่ยาเสพติด แล้วจะ ให้คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดตัดชื่อกัญชาออกจากรายชื่อยาเสพติดให้โทษ เป็นการตรรกะที่ไม่ถูกต้องการที่ตัวประมวลกฎหมายยาเสพติดระบุตัวอย่างสารเสพติดในประเภทนั้นๆ ได้เพียงบางชนิด เพราะจำนวน สารเสพติดมีมากมาย เช่น ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 มีถึง 75 ชนิด แต่ประมวลกฎหมาย ยาเสพติดได้ระบุเพียง เฮโรอีน เพียงตัวอย่างเดียวในตัวกฎหมาย หากใช้ตรรกะเดียวกันว่า “ถ้าไม่ได้ระบุคำว่ากัญชาในประมวลกฎหมายยาเสพติด แสดงว่ากัญชาไม่เป็นยาเสพติด” จะหมายถึงว่าขณะนี้ ยาบ้า (Methamphetamine) หรือ เฟนทานิล (Fentanyl) ซึ่งไม่ได้ระบุในประมวลกฎหมายยาเสพติดเช่นกัน ก็ไม่ใช่ยาเสพติดในประเทศไทยแล้วกระนั้นหรือ
ยก 5 เหตุผล สธ.ควรชะลอตัด “กัญชา”ออกจากยาเสพติดประเภท 5
2.กัญชายังเป็นยาเสพติด และเป็นประตูสู่การเสพติดอื่นที่ร้ายแรงกว่า กัญชาก่อให้เกิดการเสพติดและ การเจ็บป่วยจากการเสพติดที่ชัดเจน แม้จะมีสารบางส่วนของกัญชาที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ การสนับสนุน ให้ใช้ประโยชน์จากกัญชาในทางการแพทย์ โดยยังกำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดเป็นทางออกสายกลาง ที่ดีที่สุด ในระหว่างสองทางเลือกสุดโต่ง คือ การกำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดโดยไม่ใช้ประโยชน์ทางการ แพทย์เลย หรือการกำหนดให้กัญชาไม่ใช่ยาเสพติดเลย
3.กระทรวงสาธารณสุขต้องการกำหนดให้กัญชาไม่ใช่ยาเสพติด หรือ ช่อดอกกัญชาไม่ใช่ยาเสพติด แต่กำหนดให้สารสกัดกัญชาเท่านั้นที่เป็นยาเสพติด โดยยกเว้นสารสกัดกัญชาที่มี THC น้อยกว่าร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักเท่านั้นที่ไม่เป็นยาเสพติด เป็นตรรกะที่ผิดและการควบคุมกระทำได้ยากในทางปฏิบัติ เช่น หากเยาวชนนำช่อดอกซึ่งระบุว่าไม่ใช่ยาเสพติดไปสูบจะถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เพราะช่อดอกกัญชาไม่ใช่ ยาเสพติด
หากกระทรวงสาธารณสุขต้องการให้สารสกัดกัญชาที่มี THC น้อยกว่าร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก ไม่เป็นยาเสพติด เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ได้นั้น ยังคงสามารกำหนดให้กัญชาเป็นสาร เสพติดได้ แต่ยกเว้นสารสกัดกัญชาที่มี THC น้อยกว่าร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักไม่เป็นยาเสพติดได้ ทำเพียงแค่นี้ ประชาชนก็จะเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ได้มากแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องปลดกัญชาออกจากการเป็นสารเสพติด
ยก 5 เหตุผล สธ.ควรชะลอตัด “กัญชา”ออกจากยาเสพติดประเภท 5
4.การกำหนดให้สารสกัดกัญชาที่มี THC มากกว่าร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักเป็นยาเสพติด จะมีความ ยากมากในทางปฏิบัติที่จะควบคุม เพราะเป็นการยากที่จะตรวจสอบว่า ยาหรืออาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มี อยู่ในท้องตลาดหรือตามบ้าน จะมีระดับ THC ไม่เกินปริมาณดังกล่าว หากเยาวชนนำช่อดอกไปต้มดื่มใครจะ ทราบว่ามีปริมาณ THC เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักหรือไม่ หากร้านอาหารผสมช่อดอกในอาหารให้ รับประทาน ใครจะไปตามตรวจสอบอาหารทุกจานว่ามีปริมาณเกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักหรือไม่
และ 5.กัญชาก่อให้เกิดผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองของเยาวชน และก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ครอบครัวและสังคมวงกว้าง ดังที่เห็นเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ เช่น “หลอน!! ลูกพี้กัญชาจนผวาเกรงคน มาฆ่าแทงพ่อแม่เจ็บ” “สลด! พ่อบังคับลูกวัย 13 ให้คนข่มขืนแลกกัญชา” “พ่อทาสกัญชาประสาทหลอน ฆ่าลูก ในไส้ 1 ขวบ” เป็นต้น หากในอนาคตประชาชนและเด็กและเยาวชนเสพใช้กัญชา โดยเข้าใจว่ากัญชาไม่ใช่ ยาเสพติดสังคมไทยจะหายนะขนาดไหน
ยก 5 เหตุผล สธ.ควรชะลอตัด “กัญชา”ออกจากยาเสพติดประเภท 5
ทางออกสำหรับสถานการณ์ปัจจุบันจากเหตุผล 5 ประการในข้างต้น ที่ประจักษ์ชัดว่าต้อง พิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบครอบ ทั้งผลประโยชน์ด้านบวกที่ต้องการ เช่น ประโยชน์ทางการแพทย์ ทางเศรษฐกิจ และความนิยมทางการเมือง และผลกระทบด้านลบที่จะตามมา เช่น การเสพติดและผลกระทบต่อเยาวชน ครอบครัวและสังคม ตลอดจนต้องมองในมิติของการควบคุมในทางปฏิบัติด้วย เช่น จะควบคุมการใช้ผิด วัตถุประสงค์ได้อย่างไร
"จึงควรชะลอการกำหนดว่าจะตัดคำว่ากัญชาออกจากรายชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ไว้ก่อน โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านจากกระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ฝ่ายการแพทย์และจิตแพทย์ ฝ่ายครอบครัวของเด็กและ เยาวชน ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายศาสนา ฝ่ายตำรวจและกระบวนการยุติธรรมต่าง ๆ และอื่น ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจใน นโยบายซึ่งจะชี้อนาคตระยะยาวของประเทศไทย ไม่มีเหตุผลใดที่ทำให้ต้องเร่งรัดกระบวนการตัดสินใจนี้” นพ.บัณฑิต กล่าว