ฝีดาษลิง

สำหรับ โรคระบาด ฝีดาษลิง คืออะไร? ฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัสฝีดาษลิงซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับฝีดาษ (smallpox) หรือไข้ทรพิษ แต่รุนแรงน้อยกว่าและมีโอกาสในการติดเชื้อต่ำกว่า ส่วนใหญ่ระบาดในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตกใกล้กับป่าฝนเขตร้อน ฝีดาษลิงมี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์แอฟริกากลางและสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตกซึ่งรุนแรงน้อยกว่า



มีอาการอะไรบ้าง?
จะเริ่มต้นจากอาการมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และมีต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างฝีดาษลิงและฝีดาษ คือในฝีดาษจะไม่มีอาการต่อมน้ำเหลืองโตเช่นเดียวกับในฝีดาษลิง ภายใน 1 – 3 วัน หลังจากมีอาการดังกล่าว    จะเริ่มมีผื่นขึ้นโดยเริ่มมีผื่นบริเวณใบหน้าแล้วลามไปที่ผิวหนังส่วนอื่น จากผื่นจุดแดง นูนขึ้นเป็นตุ่ม แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำ และตุ่มหนอง และแตกออกเป็นสะเก็ดในที่สุด การดำเนินโรคจะใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ โดยประมาณโดยมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10 % โดยมีสาเหตุจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในปอด การขาดน้ำและภาวะสมองอักเสบ การตรวจทางห้องปฏิบัติการใช้การตรวจด้วยวิธี PCR ของเหลวจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง รักษาโดยให้ยาต้านไวรัส cidofovir , Tecovirimat, brincidofovir การป้องกันปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษลิง   ในสหรัฐอเมริกา คือ JYNNEOS



ได้รับเชื้อจากอะไร?
ฝีดาษลิงแพร่กระจายจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ โดยเชื้อไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนังที่เป็นแผล ทางเดินหายใจ ตา จมูก หรือปาก ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีการอธิบายว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ฝีดาษลิงสามารถติดต่อได้โดยตรงระหว่างมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังติดต่อผ่านการสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อ อาทิ ลิง หนู และระรอก หรือวัตถุที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อน เช่น เครื่องนอน เสื้อผ้า


ระยะแพร่เชื้อ?
ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เกิดผื่นหรือตุ่มที่ผิวหนังจนกว่าสะเก็ดแผลจะหลุดลอกออกมา โดยสะเก็ดแผลที่หลุดออกมาอาจมีเชื้อไวรัสที่สามารถติดไปสู่ผู้อื่นได้


อันตรายแค่ไหน?
ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง บางครั้งอาการคล้ายกับการเป็นโรคอีสุกอีใส และสามารถหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่บางครั้งฝีดาษลิงก็ก่อให้เกิดอาการรุนแรง และมีรายงานว่าถึงขั้นทำให้เสียชีวิตในแอฟริกาตะวันตก เมื่อปีที่แล้วองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ค่า R0 หรืออัตราแพร่เชื้อของเชื้อฝีดาษลิงอยู่ที่ 2


อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนรักษาฝีดาษลิง แต่สามารถควบคุมการระบาดด้วยการป้องกันการติดเชื้อ วัคซีนป้องกันฝีดาษมีประสิทธิภาพในการป้องกันฝีดาษลิงได้ 85% ทั้งนี้ฝีดาษลิง กรมควบคุมโรค ระบุว่า ไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดฝีดาษในคนหรือไข้ทรพิษ (variola virus) ไวรัสที่นำมาผลิตวัคซีนป้องกันฝีดาษในคน (vaccinia virus) และฝีดาษวัว (cowpox virus)
เชื้อไวรัสฝีดาษลิง พบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้ โดยฝีดาษลิงพบครั้งแรกเมื่อปี 1958 ในลิงที่นำมาศึกษาในห้องวิจัย พบการติดเชื้อในมนุษย์ครั้งแรกเมื่อปี 1970 ในคองโก นับตั้งแต่นั้นก็เกิดขึ้นนานๆ ครั้งในประเทศแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก จากนั้นในปี 2003 เกิดการระบาดในสหรัฐ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ฝีดาษลิงระบาดนอกแอฟริกา ผู้ป่วยในสหรัฐได้รับเชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิดกับแพรีด็อก (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมฟันแทะตระกูลกระรอก) ที่ติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเล็กที่นำเข้ามาในประเทศ
นอกจากนี้ โดยโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัสOrthopoxvirus พบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น ซึ่งการแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังคาดว่าการระบาดของโรคฝีดาษลิง ไม่น่าจะพัฒนาไปสู่โรคระบาดใหญ่เหมือนโรคไวรัสโควิด-19 เนื่องจากไวรัสชนิดนี้ไม่แพร่กระจายง่ายเหมือนไวรัส SARS-COV-2