ตับอ่อนอักเสบ ภัยเงียบที่ต้องระวัง

ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) คือ เนื้อเยื่อของตับอ่อนถูกทำลาย จึงเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงขึ้น บริเวณเซลล์ของตับอ่อน โดยที่น้ำย่อยในตับอ่อนไม่สามารถไหลผ่านท่อของตับอ่อน สามารถเกิดขึ้นได้ 2 ชนิด คือตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน และตับอ่อนอักเสบชนิดเรื้อรัง โดยโรคตับอ่อนอักเสบมักจะเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก


สาเหตุของการเกิดตับอ่อนอักเสบ
- ก้อนนิ่วในถุงน้ำดี หลุดลงมาอุดตันที่ท่อน้ำดีส่วนปลายกับท่อตับอ่อน
- การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก
- การสูบบุหรี่
- โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)
- ปริมาณของธาตุเหล็กในเลือดสูง
- แคลเซียมในเลือดสูง ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานหนัก
- อุบัติเหตุ หรือการผ่าตัด ที่ทำให้ช่องท้องเกิดการบาดเจ็บ
- บุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นภาวะตับอ่อนอักเสบ

อาการตับอ่อนอักเสบ
1.ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน
- เป็นไข้
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ท้องอืด เมื่อสัมผัสท้องจะมีอาการเจ็บปวด
- ปวดท้องส่วนบน 2-3 วัน และจะมีอาการรุนแรงขึ้น ในขณะรับประทานอาหาร
- อาจมีการปวดท้องลามไปยังบริเวณหลัง
- อาการดีซ่าน
- ภาวะขาดน้ำ
- สามารถเกิดการช็อกได้
2.ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
- ปวดท้องส่วนบนตลอดเวลา หรืออาจจะเป็นๆ หายๆ
- อุจจาระเป็นสีเทา มีกลิ่นเหม็น เนื่องจากมีไขมันออกมามาก
- น้ำหนักลดลงผิดปกติ เพราะร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้


การวินิจฉัยตับอ่อนอักเสบ
- การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ
- ตรวจการทำงานของตับ
- ตรวจเอนไซม์จากตับอ่อน
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
- หาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
การตรวจอุจจาระ
- เพื่อวัดระดับของไขมัน เห็นการดูดซึมสารอาหาร
การทำอัลตราซาวด์ช่องท้อง
- เพื่อตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี และการอักเสบของตับอ่อน
การทำอัลตราซาวด์ทางเดินอาหาร
- เพื่อตรวจหาการอักเสบ และการปิดกั้นในท่อตับอ่อน หรือท่อน้ำดี
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
- เพื่อตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี และประเมินขอบเขตการอักเสบของตับอ่อน
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
- เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับถุงน้ำดี ตับอ่อน และท่อตับอ่อน


การรักษาตับอ่อนอักเสบ
ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน
ตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลันมักเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน อาการของผู้ป่วยจะดีขึ้น และหายเป็นปกติหลังรับการรักษาประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยจะต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล งดน้ำ งดอาหาร และแพทย์จะทำการรักษาดังนี้
-การให้สารน้ำผ่านทางหลอดเลือด
-ให้ยาบรรเทาอาการปวด
-หากเนื้อเยื่อตับอ่อนของผู้ป่วยตาย และเกิดการติดเชื้อ แพทย์จะทำการผ่าตัดเนื้อเยื่อที่เสียหายนี้ออกไป
-การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี หรือนำถุงน้ำดีออก
-หากผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จะต้องเข้ารักษาที่ห้องไอซียู (ICU)


ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
- การปรับโภชนาการ เช่น ลดอาหารที่มีไขมันสูง งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
- การได้รับเอนไซม์ของตับอ่อน
- การได้รับอินซูลิน
- การผ่าตัดระบายเอนไซม์ หรือฮอร์โมนของตับอ่อน เพื่อบรรเทาอาการปวดท้อง


การป้องกันตับอ่อนอักเสบ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น อาหารประเภทไขมันต่ำ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
- ก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
- หากเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี ควรรักษาให้หายขาด


ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่ผลิตเอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร และผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของน้ำตาลในร่างกาย หากตับอ่อนอักเสบ หรือเกิดการผิดปกติ จะส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ต่อมไร้ท่อ และระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการ ลดพฤติกรรมเสี่ยง และตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะทำให้ห่างไกลจากโรคตับอ่อนอักเสบได้

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลเพชรเวช


https://www.petcharavejhospital.com/en/Article/article_detail/Pancreatitis-caused-by-Gall-Stone