รู้จัก ‘ความอ้วน’ ศัตรูตัวร้ายของคนทุกวัย นอกจาก ‘กิน’ เกิดจากอะไรได้บ้าง

คำว่า ‘อ้วน’ พูดเบา ๆ ก็เจ็บ ปัญหาความอ้วนนอกจากจะส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว ความอ้วนนั้นยังส่งผลต่อสุขภาพในบุคคลบางราย หรืออาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคที่มีผลกระทบร้ายแรงตามมาได้ ดังนั้น การลดน้ำหนักจึงเป็นวิธีการขจัดปัญหาดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้นในระยะยาว แต่ก่อนที่จะแก้ปัญหานั้นเราต้องศึกษากันก่อนว่า ความอ้วนนั้นปัญหาเกิดจากอะไร ?  บางครั้งอาจไม่ได้มาจากการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว

สาเหตุที่ทำให้อ้วน
          - อ้วนเพราะอายุเยอะขึ้น
           เมื่อคนเราอายุเยอะขึ้น มวลกล้ามเนื้อที่น้อยลง  ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง ส่งผลไปถึงการดึงพลังงานจากอาหารที่รับประทานไปใช้งานช้าลง จึงทำให้เกิดไขมันสะสมไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

          -  อ้วนเพราะความเครียด
          เวลาคนเราเครียดนั้น เส้นประสาทได้รับความตึงเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ส่งผลให้ร่างกายมีรูปร่างอ้วนมากขึ้น

          - อ้วนเพราะไม่ออกกำลังกาย
          แคลอรีจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป การจะถูกเผาผลาญได้ต้องเกิดจากการออกกำลังกาย จะช่วยให้ร่างกายเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญได้ดียิ่งขึ้น

          - อ้วนเพราะนอนหลับไม่เพียงพอ
          ผู้ที่นอนไม่ตรงเวลา หรือนอนน้อย จะทำให้ระบบเผาผลาญเกิดการต่อต้านต่ออินซูลิน นอกจากจะทำให้อ้วนแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานอีกด้วย

          - อ้วนเพราะโรคที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
          ผู้ที่ป่วยเป็นไฮโปไทรอยด์ ร่างกายจะทำงานได้ช้าลง เพราะการผลิตฮอร์โมนออกมาน้อย

          - อ้วนเพราะอุณหภูมิในสภาพอากาศที่ลดลง
          เมื่ออากาศหนาวเย็น ร่างกายจะควบคุมอุณหภูมิในร่างกายอุ่นขึ้นเพื่อต้านอากาศที่หนาวเย็น โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญให้ดียิ่งขึ้น

          - อ้วนจากพฤติกรรมการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี
          ใครหลาย ๆ คนเคยเป็นเมื่อต้องการลดความอ้วน เลยรับประทานอาหารน้อยลง หรือรับประทานอาหารแบบไม่ครบ 5 หมู่ แม้แต่กระทั่งงดอาหารเช้า แม้ว่าจะทำให้เรารู้สึกผอมลงก็ตาม  แต่จะส่งผลเสียต่อระบบการเผาผลาญแคลอรี ทำให้เรากลับมาอ้วนเหมือนเดิม

ความอ้วนมีกี่ประเภท?
          โรคอ้วนที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพมีอยู่ 2 ประเภท คือ
          - อ้วนลงพุง เป็นการสะสมของไขมันบริเวณช่องท้องและอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ลำไส้ กระเพาะอาหาร และอื่น ๆ
          - อ้วนทั้งตัว  คือ การมีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติ โดยมิได้จำกัดอยู่ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดยเฉพาะ

แบบไหนถึงเรียกว่า ‘อ้วน’ แล้วนะ ต้องรีบลดด่วน
          ความอ้วนนั้นเราสามารถวัดค่าได้นอกจากคนทักแล้ว ยังสามารถทำได้ด้วยการคำนวณค่า ดัชนีมวลกาย - BMI โดยค่า BMI คือค่าดัชนีที่ใช้ชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร) ซึ่งสามารถระบุได้ว่า ตอนนี้รูปร่างของคนคนนั้นอยู่ในระดับใด ตั้งแต่อ้วนมากไปจนถึงผอมเกินไป
          Body Mass Index (BMI) มีสูตรการคำนวณ = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม )/ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง  สูตรคำนวณเหมาะสำหรับใช้ประเมินผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ประโยชน์ของการวัดค่า BMI เพื่อดูอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตรวจสอบภาวะไขมันและความอ้วน ดังนั้น การทำให้ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว

สูตรคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย มีดังต่อไปนี้
          วิธีคำนวณ BMI ในการหาค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว กิโลกรัม ÷ ส่วนสูง  เมตร  ยกกำลังสอง
          ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิง น้ำหนัก 50 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร
          ดัชนีมวลกาย (BMI) = 50 ÷ (1.60 * 1.60)
          ดัชนีมวลกาย (BMI) = 50 ÷ 2.56
          ดัชนีมวลกาย (BMI) = 19.5
          เมื่อได้คำตอบค่าคำนวณดัชนีมวลกายแล้ว ให้นำตัวเลขนี้ไปเปรียบเทียบตารางเกณฑ์ BMI ตามเพศสภาพของตัวเอง หรือใช้โปรแกรมคำนวณ

โปรแกรมคำนวณค่าดัชนีมวลกาย - BMI
          ค่า BMI คือค่าดัชนีที่ใช้ชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร) ซึ่งสามารถระบุได้ว่า ตอนนี้รูปร่างของคนคนนั้นอยู่ในระดับใด ตั้งแต่อ้วนมากไปจนถึงผอมเกินไป
          Body Mass Index (BMI) มีสูตรการคำนวณ = น้ำหนักตัว[Kg] / (ส่วนสูง[m] ยกกำลังสอง) สูตรคำนวณเหมาะสำหรับใช้ประเมินผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ประโยชน์ของการวัดค่า BMI เพื่อดูอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตรวจสอบภาวะไขมันและความอ้วน ดังนั้น การทำให้ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว

30.0 ขึ้นไป = อ้วนมาก
          ค่อนข้างอันตราย เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่แฝงมากับความอ้วน หากค่า BMI อยู่ในระดับนี้ จะต้องปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และควรเริ่มออกกำลังกาย และหากเลขยิ่งสูงกว่า 40.0 ยิ่งแสดงถึงความอ้วนที่มากขึ้น ควรไปตรวจสุขภาพ และปรึกษาแพทย์

25.0 - 29.9  = อ้วน
          อ้วนในระดับหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ถือว่าอ้วนมาก ๆ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วนได้เช่นกัน ทั้งโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพ

18.6 - 24 น้ำหนักปกติ = เหมาะสม
          น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคนไทย คือ ค่า BMI ระหว่าง 18.5-24 จัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ห่างไกลโรคที่เกิดจากความอ้วน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ น้อยที่สุด ควรพยายามรักษาระดับค่า BMI ให้อยู่ในระดับนี้ให้นานที่สุด และควรตรวจสุขภาพทุกปี

น้อยกว่า 18.5 = ผอมเกินไป
          น้ำหนักน้อยกว่าปกติก็ไม่ค่อยดี หากคุณสูงมากแต่น้ำหนักน้อยเกินไป อาจเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย การรับประทานอาหารให้เพียงพอ และการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อสามารถช่วยเพิ่มค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
          หลังจากสำรวจตนเองกันเรียบร้อยว่า ความอ้วนที่เกิดขึ้นจากตนเองนั้นมาจากสาเหตุไหน และเมื่อลองทำแบบทดสอบค่า BMI  ของตนเองแล้วปรากฏว่าอ้วนจริง ๆ แบบไม่ได้มโน คงต้องพิจารณาแล้วว่า ถึงเวลาจะต้องลดความอ้วนกำจัดศัตรูตัวร้ายตัวนี้ออกไปจากร่างกายได้แล้วหรือยัง?

ขอขอบข้อมูลจาก  :  โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์/โรงพยาบาลขอนแก่นราม/โรงพยาบาลบางปะกอก/โรงพยาบาลเพชรเวช
                         :  https://news.trueid.net/detail/mDzzJm4l2Z8D