“ตาบอดกลางคืน” ภัยเงียบที่ควรเร่งแก้ไข!

การมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวไม่ชัดเจน โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญทางด้านสายตาที่ควรได้รับการแก้ไข เพราะอาการดังกล่าวอาจบ่งบอกได้ว่า คุณกำลังเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ “ตาบอดตอนกลางคืน” หรือ “ตาพร่ามัวตอนกลางคืน” อยู่นั่นเอง


            ปกติแล้ว รูม่านตาของคนเราจะขยายขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืด เพื่อให้แสงเข้าตาได้มากขึ้น แต่หากการทำงานภายในดวงตามีความผิดปกติ ก็อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลงในช่วงเวลากลางคืนได้


ทำความรู้จัก “ตาบอดกลางคืน”


           “ตาบอดกลางคืน” (Night blindness) หรือที่เรียกกันว่า “ตาบอดไก่” เป็นความผิดปกติทางสายตาชนิดหนึ่ง ที่ส่งผลให้มองเห็นได้ไม่ชัดเจนในช่วงเวลากลางคืน หรือในที่แสงสลัว แต่ไม่ต้องกังวลไป! เพราะคุณอาจกลับมามองเห็นเป็นปกติอีกครั้ง เมื่อสภาพแวดล้อมโดยรอบสว่าง และมีแสงมากขึ้น


            อาการของภาวะ “ตาพร่ามัวตอนกลางคืน” สังเกตได้จากประสิทธิภาพการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่ลดลง รวมทั้งอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้


                       - ตาพร่ามัว มองเห็นวัตถุระยะไกลไม่ชัด


                       - ตาไวต่อแสง


                       - ปวดศีรษะ


                       - ปวดตา


                        - คลื่นไส้


                        - อาเจียน


          นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการตาพร่ามัวตอนกลางคืน ควรหลีกเลี่ยงการขับรถในเวลากลางคืน เพื่อความปลอดภัย และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ


รวม 4 สาเหตุ ที่ทำให้ “ตาบอดกลางคืน”


            ภาวะตาบอดตอนกลางคืน ส่วนใหญ่มาจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสายตา ดังนี้


       

         1. ต้อหิน (Glaucoma)


          “ต้อหิน” ถือเป็นอีกหนึ่งโรคตาที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทตาที่เชื่อมต่อกับสมอง ดวงตามักมองเห็นวัตถุไม่ชัดเจนในที่แสงสลัว นำไปสู่อาการตาพร่ามัวตอนกลางคืนได้


           โดยปกติ ผู้ป่วยต้อหินจะมีเลนส์ตาโดยรอบขุ่นมัว ส่วนใหญ่จึงมีปัญหาด้านการมองเห็นทั้งในช่วงเวลากลางวัน และกลางคืน

           2. ต้อกระจก (Cataract)


           “ต้อกระจก” เป็นภาวะที่ทำให้เลนส์ตาเกิดความขุ่นขาว ส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมตามวัย ส่งผลให้การมองเห็นลดลง และตาบอดตอนกลางคืนได้


         3. สายตาสั้น (Myopia)


         “สายตาสั้น” เป็นภาวะทางสายตาที่ทำให้การมองเห็นวัตถุในระยะไกลไม่ชัดเท่าการมองวัตถุในระยะใกล้ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน


          4. โรคจอประสาทตาเสื่อม ชนิด RP (Retinitis pigmentosa)


          “โรคจอตาเสื่อมชนิด RP” เป็นหนึ่งในโรคจอประสาทตาเสื่อมที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เกิดจากการเสื่อมของจอตาส่วนขอบ (peripheral retina) ที่มีเซลล์รับแสงรูปแท่ง (rod cells) ซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็นในตอนกลางคืน ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้จึงมีอาการตาพร่ามัวตอนกลางคืน มองเห็นไม่ชัดในที่ที่มีแสงน้อย


 “ตาบอดตอนกลางคืน” รู้ไว แก้ไขทัน!


          การรักษาภาวะตาบอดตอนกลางคืน จะต้องรักษาที่ต้นเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการใส่คอนแทคเลนส์ ใส่แว่นตา และการผ่าตัด ตามการประเมินของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแอนโทไซยานิดิน (Anthocyanidin) และแอนโทไซยาโนไซด์ (Anthocyanosides)


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : https://herbitia.com/eyes-night-blindness/