โรคลิ้นหัวใจ โรคอันตรายที่อาจแอบซ่อนอยู่โดยไม่รู้ตัว ในทุกวัย


หัวใจคนเรามีทั้งหมดสี่ห้อง โดยมีลิ้นหัวใจทำหน้าที่เป็นเหมือนวาล์วกั้นเปิดปิดระหว่างหัวใจห้องบนกับห้องล่างเพื่อควบคุมการไหลของเลือดให้ไปในทิศทางเดียว ไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับมา ลิ้นหัวใจมี 4 ลิ้น ได้แก่ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายกับห้องล่างซ้าย ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนขวากับห้องล่างขวา และลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างกับเส้นเลือดใหญ่ โรคลิ้นหัวใจเกิดขึ้นเมื่อลิ้นหัวใจลิ้นใดลิ้นหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งลิ้นทำงานผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้

โรคลิ้นหัวใจมีกี่ประเภท
โรคลิ้นหัวใจมีหลายประเภท สามารถแบ่งออกตามอาการได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
โรคลิ้นหัวใจตีบ คือ ภาวะลิ้นหัวใจตีบ ทำให้เลือดไหลผ่านลิ้นหัวใจได้ลำบาก
โรคลิ้นหัวใจรั่ว คือ ภาวะลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ทำให้เลือดไหลย้อนกลับมายังทิศทางเดิม


สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจ
สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจที่พบได้บ่อย เช่น
ความเสื่อมของลิ้นหัวใจจากอายุที่มากขึ้น
ภาวะหัวใจล้มเหลว
โรคความดันโลหิตสูง
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณทรวงอกโป่งพอง (thoracic aortic aneurysm)
การติดเชื้อ เช่น โรคไข้รูมาติก เยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ
ความผิดปกติแต่กำเนิด

อาการของโรคลิ้นหัวใจมีอะไรบ้าง
โรคลิ้นหัวใจมีอาการคล้ายกับโรคทางหัวใจระบบอื่น เช่น
รู้สึกเหนื่อย อ่อนแรงแม้ทำกิจวัตรประจำวันปกติทั่วไป
หายใจลำบากขณะทำกิจกรรมหรือนอนราบ
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
อาการบวมตามอวัยวะต่างๆ เช่น หน้าท้อง ขา ข้อเท้าและเท้า
หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น เต้นเร็วหรือเต้นไม่สม่ำเสมอ
หากเกิดจากการติดเชื้อ อาจมีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย
หากอาการรุนแรง จะมีภาวะน้ำท่วมปอด หายใจลำบาก หมดสติได้

มีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง
การรักษาโรคลิ้นหัวใจทำได้หลายวิธี ซึ่งในปัจจุบันโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีเทคโนโลยีในการเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นทางเลือกในการรักษาที่มีความปลอดภัยสูงและได้ผลลัพธ์ที่ดี การรักษาโรคลิ้นหัวใจทำได้ด้วยวิธีการดังนี้
การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ
การเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยการผ่าตัดเปิดหน้าอก (Traditional Open Surgery) เพื่อตัดลิ้นหัวใจเก่าออกและเย็บลิ้นหัวใจเทียมเข้าไปแทนที่
การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (TAVI) โดยการสอดใส่สายสวนที่ส่วนปลายมีลิ้นหัวใจเทียมเข้าไปทางเส้นเลือดเพื่อนำลิ้นหัวใจเทียมใส่เข้าไปทดแทนลิ้นหัวใจเดิม
การหนีบลิ้นหัวใจโดยใช้คลิปผ่านทางสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (TriClip) เป็นการใช้อุปกรณ์พิเศษ TripClip หนีบบริเวณช่องว่างระหว่างลิ้นหัวใจไตรคัสปิดที่รั่วให้มาชนกันเพื่อลดรูรั่ว
การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral Valve Repair) เป็นการผ่าตัดซ่อมแซมส่วนที่ผิดปกติของลิ้นหัวใจ เช่น การผ่าตัดให้ลิ้นหัวใจที่ตีบกว้างขึ้นและการซ่อมแซมรอยรั่วของลิ้นหัวใจ
การรักษาลิ้นหัวใจไมทรัลรั่วโดยการซ่อมลิ้นผ่านสายสวน คือ กระบวนการทำหัตถการเพื่อรักษาภาวะลิ้นหัวใจไมทรัลรั่วชนิดรุนแรงโดยการซ่อมลิ้นผ่านสายสวนด้วย MitraClip
การรักษาด้วย MitraClip นี้เป็นทางเลือกสําหรับผู้ที่มีอาการและอาการแสดงจากการรั่วของลิ้นหัวใจไมทรัลชนิดรุนแรงที่ไม่สามารถทําผ่าตัดหัวใจแบบเปิดได้ หรือในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดอันตรายจากการผ่าตัด เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคร่วมหลายโรค เป็นต้น ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีนี้ลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิต นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการที่เกิดจากลิ้นหัวใจรั่วและทําให้ภาวะสุขภาพโดยรวมของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงดีขึ้น
จะป้องกันโรคลิ้นหัวใจได้อย่างไร
ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างอาจป้องกันไม่ได้ เช่น วัยที่เพิ่มมากขึ้น แต่ทุกคนสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคลิ้นหัวใจได้ ดังนี้
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่
ควบคุมน้ำหนักตัว
ไม่สูบบุหรี่
รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งหากเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง
รีบไปพบแพทย์เมื่อมีการติดเชื้อ
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้การรักษาอย่างครอบคลุมทุกมิติของโรคลิ้นหัวใจ เราทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อดุแลรักษาดูแลคนไข้โรคลิ้นหัวใจแบบองค์รวม ไม่ว่าจะเป็นอายุรแพทย์โรคหัวใจ ศัลยแพทย์โรคหัวใจ เภสัชกรเฉพาะทาง โภชนากร เวชศาสตร์ฟื้นฟูเฉพาะทาง รวมกระทั่งการให้ยาการดูแลรักษาก่อนผ่าตัด และหลังการผ่าตัด เพื่อให้คนไข้กลับไปใช้ชีวิตที่ดีกว่าเดิมและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น


ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์


ข้อมูลเพิ่มเติม
โรคลิ้นหัวใจ Valvular heart disease - หาหมอ.com (haamor.com)
ลิ้นหัวใจตีบ | โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (bumrungrad.com)
Heart Valve Diseases: Causes, Symptoms and Treatment (clevelandclinic.org)
Heart Valve disease Symptoms, Risk Factors, Diagnosis and Treatment | Narayana Health
Heart Valve Diseases | Johns Hopkins Medicine