ปรับสมดุลในร่างกาย ด้วยอาหารฤทธิ์ ร้อน-เย็น

          อีกภูมิปัญญาด้านการรักษาโรคที่คนไทยทำมาอย่างช้านาน คือ การกินอาหาร จะเห็นได้ว่าการกินอาหารของคนไทยสมัยโบราณนั้นปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาล โดยยึดเอาสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศเป็นปัจจัยในการกำหนดพฤติกรรมการกิน อย่างเช่นหน้าร้อน คนไทยจะนิยมกินอาหารหรือผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น ทำให้ร่างกายเกิดความเย็น ไม่เป็นไข้หรือร้อนในง่าย เช่น มังคุด มะยม แตงโม แตงไทย แคนตาลูป สับปะรด ส้มโอ ลางสาด กล้วยน้ำว้า น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว สตรอเบอร์รี่ หรือในหน้าหนาวจะนิยมกินอาหารและผลไม้ที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ฝรั่ง ขนุนสุก ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย ทุเรียน น้อยหน่า สละ ส้มเขียวหวาน มะตูม ละมุด มะเฟือง มะปราง มะขามหวานสุก มะไฟ ทับทิมแดง มะม่วงสุก ลูกยอ กระเจี๊ยบแดง เป็นต้น


Tips : วิธีดูว่าผลไม้ชนิดนั้นเป็นฤทธิ์เย็นหรือร้อน ให้สังเกตุเมื่อกินเข้าไปแล้วรู้สึกชุ่มคือไม่กระหายน้ำมักจะเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น แต่หากรู้สึกร้อนในตัวกินแล้วหิวน้ำกระหายน้ำ ผลไม้นั่นคือผลไม้ที่มีฤทธิ์ร้อนนั่นเอง ผลไม้บางชนิดก็เป็นผลไม้ช่วยย่อยอีกด้วย