www.healio.com,https://medicalxpress.com, www.uchicagomedicine.org, https://jamanetwork.com: ผลลัพธ์ของการศึกษาทางคลินิกแบบ randomized clinical trial การศึกษาหนึ่งที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของ JAMA Internal Medicine เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 แสดงให้เห็นว่า ผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและเพิ่มระยะเวลาในการนอนหลับที่ยาวนานขึ้นในแต่ละวัน สามารถลด daily energy consumption ลงได้อย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและไม่ได้มีการเพิ่มระยะเวลาในการนอนหลับในแต่ละวัน ซึ่งบ่งชี้ว่าช่วงระยะเวลาการนอนหลับที่เพียงพอ อาจมีผลในการช่วยลดน้ำหนักในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินได้
ในการศึกษาทางคลินิกแบบ single-center, randomized clinical trial ซึ่งดำเนินการโดยแพทย์หญิง EsraTasali (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Chicago ในนคร Chicago มลรัฐ Illinois สหรัฐอเมริกา) และคณะ ช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2014 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2020 โดยเป็นการศึกษาที่ทำในอาสาสมัครชายและหญิงอายุตั้งแต่ 21 ปีไปจนถึง 40 ปี จำนวนทั้งสิ้น 80 คน ที่มีดัชนีมวลกาย (คำนวณจากน้ำหนักตัวหน่วยเป็นกิโลกรัมและหารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง) อยู่ระหว่าง 25.0 และ 29.9 และมีช่วงระยะเวลาการนอนหลับตามปกติน้อยกว่า 6.5 ชั่วโมงต่อคืน
โดยช่วง baseline 2 สัปดาห์แรกของการศึกษา อาสาสมัครผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมดจะนอนหลับตามปกติด้วยช่วงระยะเวลาน้อยกว่า 6.5 ชั่วโมงต่อคืน หลังจากนั้นอาสาสมัครจะถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งจำนวน 40 คน ที่คณะผู้วิจัยกำหนดให้เป็นกลุ่มควบคุม จะนอนหลับตามปกติด้วยระยะเวลาน้อยกว่า 6.5 ชั่วโมงต่อคืน ไปอีก 2 สัปดาห์ ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งจำนวน 40 คน ซึ่งถูกกำหนดให้เป็น extension group และได้รับ individualizedsleep hygiene counseling ที่มีเป้าหมายในการเพิ่มระยะเวลาการนอนหลับให้ได้ถึง 8.5 ชั่วโมงต่อคืน โดยตลอด 4 สัปดาห์ของการศึกษา อาสาสมัครทุกคนได้รับการกำชับให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ไม่ได้มีข้อกำหนดในเรื่องการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายแต่อย่างใด
เมื่อสิ้นสุด 4 สัปดาห์ของการศึกษา พบว่า อาสาสมัครกลุ่ม extension ที่ได้รับ individualizedsleep hygiene counseling ซึ่งมุ่งเพิ่มระยะเวลาการนอนหลับ มีระยะเวลาในการนอนหลับนานกว่าราว ๆ 1.2 ชั่วโมงต่อคืน เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่นอนหลับตามปกติ (95% CI, 1-1.4) ขณะเดียวกัน พบว่า อาสาสมัครกลุ่ม extension มีปริมาณพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน (daily energy intake) ลดลงมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับอาสาสมัครกลุ่มควบคุม (–270 kcal; 95% CI, –393 to –147) และที่สำคัญก็คือ พบว่า อาสาสมัครกลุ่ม extension มีน้ำหนักลดลงมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับอาสาสมัครกลุ่มควบคุม (–0.87 kg; 95% CI, –1.39 to –0.35) นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบจากเมื่อเริ่มต้นการศึกษา พบว่า อาสาสมัครกลุ่มควบคุมที่ใช้ระยะเวลาการนอนหลับตามปกติน้อยกว่า 6.5 ชั่วโมงต่อคืน มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว ๆ 0.39 กิโลกรัม (95% CI, 0.02-0.76) ขณะที่อาสาสมัครกลุ่ม extension มีน้ำหนักลดลงเฉลี่ยราว ๆ 0.48 กิโลกรัม (95% CI, –0.85 to –0.11)