1.ถั่วต่างๆ
เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ในถั่วเหล่านี้พบว่า มีสารต้านโปรตีเอสในปริมาณสูง(มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง) นอกจากนี้ยังพบว่ามีอินโนซิทอล เฮกซาฟอสเฟต(กรดไฟตริก ซึ่งในท้องตลาด จะขายในรูปของ IP-6) และจีเนสเตอิน (ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งตีบลง) นอกจากนี้ จากการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองสามารถป้องกันและลดการเกิดมะเร็งเต้านมในหนูตัวเมีย และมะเร็งต่อมลูกหมากในหนูตัวผู้ได้ นอกจากนั้นการให้โปรตีนจากถั่วเหลืองยังสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งใหม่ และทำให้การกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำเกิดขึ้นช้ากว่าเดิม
2.มะละกอ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอินสบรุ๊ค ประเทศออสเตรีย พบว่ามะละกอมีสารต้านอนุมูลอิสระ สูงสุดเมื่อสุกงอม เนื่องจากคลอโรฟิลล์สีเขียวเปลี่ยนเป็นสารไม่มีสี ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอย่างเยี่ยมยอดอีกชนิดหนึ่ง เรียก NCCs (nonfluorescing chlorophyll catabolytes)
3.มะเดื่อหวาน
จากการทดสอบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยนำสารสกัดหยาบจำนวน 12 ชนิด ที่ได้จากการสกัดจากส่วนของมะเดื่อ พบว่า สารสกัดส่วนใหญ่ มีฤทธิ์การยับยั้งมะเร็งปอดและมะเร็งเต้านม มะเร็งในช่องปาก และสารบางส่วนมีฤทธิ์การต้านเชื้อมาลาเรีย
4.ขมิ้นชัน
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) เป็นพืชสมุนไพรนิยมใช้เป็นเครื่องเทศสำหรับแต่งรสและสีผสมอาหาร ขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและอาจมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งผิวหนัง ในระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง ในมนุษย์ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ และควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนรับประทาน
5.ขิง
มีการศึกษาค้นพบว่า ขิง เป็นสมุนไพรที่ช่วยทำให้เซลล์มะเร็งภายในรังไข่ตายได้ เพราะสารเคมีในขิงจะไปกระตุ้นเอนไซม์กลูตาไธโน-เอส-ทรานสเฟอรเรส ซึ่งเอนไซม์ชนิดนี้คือสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ อีกทั้งขิงยังช่วยลดผลข้างเคียงจากสารเคมีที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ดังนั้น ควรรับประทานขิงควบคู่ไปกับการรักษามะเร็งจะเป็นผลดี
6.กระเทียม
การศึกษาในกลุ่มประชากรตัวอย่างของสถาบันมะเร็งและโภชนาการยุโรป กำลังดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับ โภชนาการต้านมะเร็งในกว่า 10 ประเทศ การศึกษาเบื้องต้นพบว่าการรับประทานหัวหอมและกระเทียมช่วยลดความเสี่ยงต่อการ เป็นมะเร็งลำไส้ลงได้
7.ผักจำพวกกะหล่ำ
พืชตระกูลกะหล่ำมีสารกลูโคไซโนเลต (Glucosinolate) ซึ่งเมื่อ ผ่านกระบวนการย่อย จะได้สารอินโดล (Indole) และไอโซไทโอไซยาเนต (Isothiocyanate) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านโรคมะเร็ง โดยการศึกษาหนึ่งใน หนูทดลองพบว่า สารทั้งสองชนิดนี้สามารถยับยั้งการลุกลามของเซลล์มะเร็ง ในหลายอวัยวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ เต้านม ลำไส้ ตับ ปอด ช่องท้อง
8.เห็ด
จากงานวิจัยฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ และความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเต้านมของสารสกัดเห็ดบดเทียบกับเห็ดหลินจือ พบว่า สารสกัดของเห็ดทั้ง 2 ชนิด มีสารประกอบฟีโนลิกส์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเป็นองค์ประกอบ ซึ่งมีปริมาณรวมของสารต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีโนลิกส์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิดของดอก เส้นใย อุณหภูมิที่ทำให้แห้ง และอายุการเพาะเลี้ยงเส้นใยเห็ด เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, CHULA CANCER รังสีรักษา และ มะเร็งวิทยา, วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2552; 5(3): 243-250