1. ห้ามใจไม่ให้กิน : การกินเป็นเรื่องสำคัญ โดยการกินนั้นส่งผลโดยตรงต่อร่างกายของคนเราในระยะยาว นอกจากการเลือกกินอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนแล้ว การกินอาหารบางประเภทกลับอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อลดลงได้
2. นอนหลับพักผ่อน : ในขณะนอนหลับ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนอย่าง Growth Hormone ซึ่งเป็นหนึ่งในสารที่ถูกสร้างขึ้นจากกรดอะมิโนที่ได้รับมาจากการทานอาหารกลุ่มโปรตีน ผู้ใหญ่ควรนอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมง จึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพมากที่สุด
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ : เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น สภาพร่างกายอาจเสื่อมลงและไม่กระฉับกระเฉงเหมือนเช่นเดิม จากผลวิจัยพบว่ากลุ่มผู้สูงวัยประมาณ 1 ใน 3 คน มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย “การออกกำลังกายเป็นประจำ” จึงเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวได้
4. การออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ : เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้สูงวัย โดยอาศัยท่าทางการออกกำลังกายที่ไม่ต้องใช้แรงมากจนเกินไป อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ทำควบคู่ไปกับการทานอาหารที่ครบ โดยเฉพาะโปรตีนหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่
5. ดื่มน้ำให้เพียงพอ : ร่างกายของมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 75% ซึ่งร่างกายของเราจะสูญเสียน้ำระหว่างการทำกิจกรรมใช้ชีวิตประจำวัน เราจึงควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้วเพื่อทดแทนส่วนที่สูญหายไป ยังจะช่วยทำให้สุขภาพและการทำงานของอวัยวะต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อมูลจาก กรมอนามัย
อ่านพิ่มเติมได้ที่ https://sasuksure.anamai.moph.go.th/