SLE โรคแพ้ภูมิตัวเอง ความเสี่ยงที่เกิดกับเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์

เอส แอล อี (SLE) หรือ โรคพุ่มพวง เป็นโรคซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน มีการต่อต้านเนื้อเยื่อและเซลล์ ในระบบอวัยวะต่าง ๆ ของตนเอง
พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
พบบ่อยในช่วงวัยเจริญพันธุ์ 20 – 50 ปี
ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด คาดว่าเกิดจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์ ร่วมกับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เช่นแสงแดด, ยา, การติดเชื้อ ฯลฯ


อาการของโรค SLE มีหลากหลายระดับความรุนแรง
พบผื่นผิวหนัง แพ้แสงแดด มีแผลในปาก และผมร่วง
ปวดข้อ บวม แดง
ปัสสาวะเป็นฟอง หรือมีเลือดปน ความดันโลหิตสูง ขาบวม หนังตาบวมหลังตื่นนอน น้ำหนักเพิ่มขึ้น ปัสสาวะออกน้อยลง ไตทำงานลดลง
พบภาวะผิดปกติทางสมอง เช่น การเห็นภาพหลอน สับสน ชัก
เม็ดเลือดขาวต่ำ มีภาวะซีด เกล็ดเลือดต่ำ
เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ความดันในเส้นเลือดในปอดสูง


การดูแลตัวเองหากเป็นโรค SLE
หลีกเลี่ยงแสงแดด
พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด
ยากดภูมิคุ้มกันเป็นส่วนสำคัญในการความควบคุมไม่ให้โรคกำเริบ ผู้ป่วยควรรับประทานยาสม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยา ลดยา หรือซื้อยารับประทานเอง


เนื่องจากการรับประทานยากดภูมิอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จึงควรล้างมือเป็นประจำ สวมใส่หน้ากากในที่แออัด รับประทานอาหารปรุงสุก สะอาด
พบแพทย์สม่ำเสมอ


โรค SLE เป็นโรคที่ยังไม่พบวิธีรักษาให้หายขาด แต่การปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วย และการให้ความร่วมมือกับแพทย์ผู้รักษา จะสามารถควบคุมมิให้โรคกำเริบและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเหมือนคนปกติได้


 


ข้อมูลโดย อ.พญ.วรรณงาม กิจธนามงคลชัย
ฝ่ายวิจัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ