สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
บางครั้งคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุในบ้านอาจมีอาการไอเรื้อรัง หนึ่งในสาเหตุนี้อาจเป็นผลข้างเคียงจากการรับประทานยาลดความดันก็ได้ สำหรับบทความนี้จะมาอธิบายสาเหตุและลักษณะของอาการไอที่เกิดจากยาลดความดัน พร้อมวิธีปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม
ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจก่อนว่าอาการไอนั้นเป็นหนึ่งในอาการที่ร่างกายมีการตอบสนองเมื่อมีสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นกลไกในการป้องกันเชื้อโรค เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าไปในระบบทางเดินหายใจ ปกติแล้วอาการไอจะแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น ไอแห้ง หรือไอแบบมีเสมหะ
สังเกตอย่างไรว่าเป็นการไอจากยาลดความดัน
1. ไอเรื้อรังมากกว่า 3 - 8 สัปดาห์
2. ไอแห้ง
3. กินยาแก้ไอแล้วอาการไม่ดีขึ้น
ยาลดความดันที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการไอแห้ง คือ ยาลดความดันในกลุ่มเอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE Inhibitors) เช่น ยาอีนาลาพริล (Enalapril) ยาไลซิโนพริล (Lisinopril) ยารามิพริล (Ramipril) ยาเพอรินโดพริล (Perindopril) ซึ่งถือเป็นอาการที่ไม่ได้เป็นอันตรายแต่อาจสร้างความรำคาญใจให้แก่ผู้ที่เป็นได้ ซึ่งหากมีอาการมากจนรบกวนคุณภาพชีวิต อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยา
สรุปว่าหากมีอาการไอลักษณะตามที่บทความกล่าว ให้ลองเช็กดูว่าเราได้กินยาลดความดันอยู่หรือไม่ ถ้าใช่ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์พิจารณาเปลี่ยนยาให้ ไม่ควรหยุดยาด้วยตนเอง
ข้อมูลอ้างอิง
ยาลดความดัน กับการไอ