www.healio.com, www.jacc.org: ผลการศึกษาวิจัยของ ดร. Marta Guasch-Ferré (ภาควิชาโภชนาการของวิทยาลัยสาธารณสุข Harvard T.H. Chan School of Public Health นคร Boston มลรัฐ Massachusetts สหรัฐอเมริกา) และคณะ ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Journal of the American College of Cardiology ฉบับประจำวันที่ 18 มกราคม 2565 แสดงให้เห็นว่า การรับประทานอาหารที่มีน้ำมันมะกอกรวมอยู่ด้วยประมาณครึ่งช้อนโต๊ะเป็นประจำทุกวัน อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular death หรือ CV death) และการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุใด ๆ ก็ตาม (all-cause death) ลงได้ถึง 19%
คณะผู้วิจัยภายใต้การนำของ ดร. Marta Guasch-Ferré ได้ทำการศึกษาเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคน้ำมันมะกอกและการเสียชีวิตทั้ง total และ cause-specific mortality ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลของ 2 prospective cohorts ขนาดใหญ่ในหมู่ผู้ชายชาวอเมริกัน จำนวน 31,801 คน (Health Professionals Follow-up Study, 1990-2018) และผู้หญิงชาวอเมริกัน จำนวน 60,582 คน (Nurses’ Health Study, 1990-2018) ซึ่งชาวอเมริกันทั้งชายและหญิงเหล่านี้ไม่ได้มีโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease) หรือโรคมะเร็ง เมื่อเริ่มต้นการศึกษา โดยคณะผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ multivariable-adjusted Cox proportional-hazards model เพื่อหาค่าประมาณการของ hazard ratio (HR) สำหรับ total และ cause-specific mortality และประเมินการบริโภคอาหารของชาวอเมริกันชายและหญิงเหล่านี้ด้วยแบบสอบถาม food frequency questionnaire ทุก ๆ 4 ปี
โดยความถี่ของการบริโภคน้ำมันมะกอกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ไม่เคยบริโภคเลยและน้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน (กลุ่มอ้างอิง) ส่วนการบริโภคน้ำมันมะกอก ประกอบด้วย การบริโภคน้ำมันมะกอก 4.5 กรัมต่อวัน (น้อยกว่า 1 ช้อนชา), 4.5-7 กรัมต่อวัน (1 ช้อนชา ถึง 0.5 ช้อนโต๊ะ) และบริโภคน้ำมันมะกอกอย่างน้อย 7 กรัมต่อวัน (0.5 ช้อนโต๊ะ)
ผลการศึกษาจากการติดตามผู้เข้าร่วมการศึกษาในทั้ง 2 prospective cohorts เป็นเวลาเฉลี่ย 28 ปี พบว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่เคยเลยหรือแทบจะไม่เคยบริโภคน้ำมันมะกอก มี adjusted pooled HR for all-cause mortality ในหมู่ผู้ที่รายงานว่ามีการบริโภคน้ำมันมะกอกในปริมาณมากที่สุดอยู่ที่ 0.81 (95% CI, 0.78-0.84)
ขณะเดียวกัน พบว่าการบริโภคน้ำมันมะกอกในปริมาณสูงมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดน้อยลงถึงประมาณ 19% (HR = 0.81; 95% CI, 0.75-0.87) ของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด, ความเสี่ยงที่ลดน้อยลงถึงประมาณ 17% (HR = 0.83; 95% CI, 0.78-0.89) ของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง, ความเสี่ยงที่ลดน้อยลงถึงประมาณ 29% (HR = 0.71; 95% CI, 0.64-0.78) ของการเสียชีวิตจากโรค neurodegenerative disease และความเสี่ยงที่ลดน้อยลงถึงประมาณ 18% (HR = 0.82; 95% CI, 0.72-0.93) ของการเสียชีวิตจากโรค respiratory disease