เพิ่มก้าวเดินลดความเสี่ยงเบาหวานในสตรีสูงอายุ

https://ucsdnews.ucsd.edu, www.healio.com,www.medicinenet.com: ผลการศึกษาของคณะนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย California San Diego ในสหรัฐอเมริกา บ่งชี้ว่า การเดินทุกก้าวย่างที่เพิ่มขึ้นเป็นประจำทุกวันไม่ได้มีความหมายแค่การออกกำลังกายเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2  ในสตรีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปอีกด้วย
          การศึกษานี้ที่รายงานไว้ใน Diabetes Care เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 นับเป็นหนึ่งในการศึกษาแรก ๆ ที่ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มจำนวนก้าวเดินเป็นประจำทุกวัน หรือการออกกำลังกายด้วยการเดินแบบค่อนข้างหนัก (moredaily steps and step intensity or cadence) ของสตรีสูงวัย และการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2
          ในการศึกษานี้ที่มีชื่อว่า OPACH Study (Objective Physical Activity and Cardiovascular Disease Health in Older Women) ของ Alexis C. Garduno (นักศึกษาปริญญาเอกสาขาสาธารณสุขศาสตร์ของมหาวิทยาลัย California San Diego) และคณะ ทำในกลุ่มสตรีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 4,838 คน ที่ร่วมอยู่ในการศึกษาที่มีชื่อว่า Women’s Health Initiative (WHI) ซึ่งเป็น long-term national health study ขนาดใหญ่การศึกษาหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 1990s และยังคงดำเนินอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
          โดยสตรีทั้งหมดเหล่านี้ที่มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 79 ปี ต่างก็ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน (physician-diagnosed diabetes) นับตั้งแต่เริ่มการศึกษา ทุกคนสามารถใช้ชีวิตอย่างอิสระ และได้รับการติดตามเป็นเวลาเฉลี่ยนานถึง 6.9 ปี โดยสตรีเหล่านี้ทุกรายถูกกำหนดให้ต้องสวม research-grade accelerometer (GT3X+ ของบริษัท ActiGraph ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้าน motion-sensing wearable technology ในสหรัฐอเมริกา) ที่สะโพก เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ขณะเดินออกกำลังกายเพื่อวัดจำนวนก้าวเดินทั้งหมดในแต่ละวัน และวัดว่าเป็นการเดินออกกำลังกายด้วย light-intensity หรือ moderateto vigorousintensity (MV-intensity) steps per day
          ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดการศึกษามีสตรีจำนวน 395 (8%) คน จากสตรีที่เข้าร่วมในการศึกษานี้จำนวนทั้งสิ้น 4,838 คน มีโรคเบาหวานเกิดขึ้น และโดยเฉลี่ยแล้วสตรีส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมในการศึกษานี้เดินออกกำลังกายด้วย 3,729 steps per day ขณะที่ light-intensity steps คือ 1,875 และ 1,854 ± 1,762 steps per day คือ moderate to severe intensity ขณะเดียวกันจากการใช้ Cox proportional hazards analysis พบว่า การออกกำลังกายด้วยการเดินในทุก 1,000 steps per day สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานลงได้ 6% ซึ่งเท่ากับว่าหากสตรีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มจำนวนก้าวเดินในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวันเป็น 2,000 steps per day จะสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานลงได้ถึง 12%
          คณะผู้วิจัยระบุว่า จากข้อมูลของ American Diabetes Association (ADA) ที่พบว่าปัจจุบันจะมีชาวอเมริกันจำนวนถึง 1.5 ล้านคน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นเบาหวานในแต่ละปี ซึ่งหากเราประมาณการว่า 1 ใน 3 ของชาวอเมริกันเหล่านี้ที่ป่วยเป็นเบาหวานในแต่ละปีเป็นผู้สูงอายุ ก็จะเท่ากับว่ามีผู้สูงอายุถึงประมาณ 500,000 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นเบาหวานในแต่ละปี ดังนั้น หากผู้สูงอายุเหล่านี้เพิ่มจำนวนก้าวเดินในการออกกำลังกายในแต่ละวันเป็น 2,000 steps per day จะช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในผู้สูงอายุได้ถึงประมาณ 60,000 คน ในแต่ละปี