หนูทดลองอายุมากที่สุดในโลกที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน บ่งชี้แนวโน้มความเป็นไปได้ของการชะลอวัย

เมาน์เทนวิว แคลิฟอร์เนีย, 9 ก.พ. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

          ""สีมา" หนูเพศเมียอายุ 47 เดือน อยู่ระหว่างการบำบัดด้วยอี5 ซึ่งเป็นการบำบัดเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการไหลเวียนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอายุน้อยขึ้นใหม่ โดยอายุขัยสูงสุดของหนูสายพันธุ์นี้ที่มีการบันทึกไว้ คือ 45.5 เดือน"


            การทดลองนำโดย ดร.แฮโรลด์ แคทเชอร์ (Harold Katcher) หนึ่งในผู้ค้นพบยีนมะเร็งเต้านมตัวแรก มอบความหวังให้แก่มนุษยชาติในการเติมเต็มความฝันของการย้อนความชรา ขณะทำงานที่ยูวาน รีเสิร์ช อิงค์ (Yuvan Research Inc.) เขาได้ค้นพบว่าส่วนใดของเลือดสัตว์อายุน้อยเป็นส่วนที่ควบคุมอายุของสิ่งมีชีวิต และได้ทดสอบในหนูสปราก ดอว์ลีย์ (Sprague Dawley) เพศเมีย 8 ตัว โดย "สีมา" (Sima) เป็นตัวสุดท้ายที่มีชีวิตรอดอยู่ แต่อายุของมันทำให้เรามองเห็นหนทางของการชะลอวัยในมนุษย์ "การแก่ของเซลล์เป็นกระบวนการที่ไม่เป็นอิสระ โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับประวัติของเซลล์ แต่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของเซลล์" ดร.แคทเชอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของยูวาน ธุรกิจสตาร์ตอัปในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งดำเนินงานด้านการบำบัดเพื่อการชะลอวัย กล่าว การทดลองดังกล่าวนี้เป็นการติดตามวัดผลหลังจากการทดลองอีกรายการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการบำบัดของยูวานส่งผลให้เกิดการชะลอวัย 54% ในหนูเพศผู้ จากการวิเคราะห์อายุชีวภาพ (epigenetic clock) โดยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) ในขณะนั้น ดร.สตีฟ ฮอร์วาธ (Steve Horvath) หลังจากนั้น องค์กรไม่แสวงกำไรสัญชาติเบลเยียมอย่างฮีลส์ (HEALES) ตัดสินใจมอบเงินทุนสนับสนุนการศึกษาเกี่ยวกับอายุขัยสองรายการ การศึกษารายการแรกใช้การบำบัดของยูวาน ชื่อว่า "อี5" (E5) และการศึกษาอีกรายการ นำโดย ดร.โรดอลโฟ โกยา (Rodolfo Goya) ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยลา พลาตา (La Plata University) ประเทศอาร์เจนตินา ใช้พลาสมาของหนูอายุน้อย การทดลองของ ดร.โกยาบรรลุการยืดอายุระดับปานกลาง และขณะนี้การทดลองของยูวานยังคงดำเนินอยู่ โดยสีมายังมีชีวิตอยู่ที่อายุ 47 เดือน
            นอกจากนี้ สีมาและหนูตัวอื่น ๆ ที่ได้รับการบำบัดแสดงกำลังมือที่สูงกว่ากลุ่มควบคุม 2.8 เท่า ดร.โกยา ชี้ว่า "ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแสดงถึงอายุขัยที่มีสุขภาพสมบูรณ์ที่ยาวนานขึ้น" สีมาเป็นหนูสายพันธุ์แรทตัส นอร์เวจิคัส (Rattus norvegicus) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีอายุขัยยาวนานสูงสุด 45.5 เดือน อายุขัยเฉลี่ยของหนูสายพันธุ์นี้อยู่ที่ 24-36 เดือน การบำบัดของยูวานเริ่มต้นเมื่อหนูมีอายุได้ 24 เดือนแล้ว และแม้จะเป็นเช่นนั้นก็สามารถขยายอายุขัยสูงสุดของหนูสายพันธุ์นี้โดยใช้กลุ่มทดลองประกอบด้วยหนูเพียง 8 ตัว
            กระบวนการการผลิตอี5 อยู่ระหว่างการรอรับสิทธิบัตร เรื่องราวของการค้นพบอี5 อยู่ในหนังสือของ ดร.แคทเชอร์อย่าง The Illusion of Knowledge (มายาของความรู้) ขณะนี้ยูวานกำลังวางแผนการศึกษาทดลองในสายพันธุ์อื่น ๆ ก่อนที่จะทดสอบในมนุษย์ หากเทียบเป็นอายุของมนุษย์ ขณะนี้สีมามีอายุ 126 ปีแล้ว โดย 122.5 ปี เป็นอายุขัยสูงสุดของมนุษย์ ทั้งนี้ "สีมา" แปลว่า "ขีดจำกัด/พรมแดน/ขอบเขต" ในภาษาสันสกฤต และด้วยการก้าวข้ามขีดจำกัดด้านอายุขัยของสายพันธุ์ของมัน สีมาได้ย้ำเตือนกับเราว่า ประวัติศาสตร์ของมนุษย์คือประวัติศาสตร์ของการก้าวข้ามขีดจำกัด