“ลิ้นเป็นฝ้า” เรื่องใกล้ตัวนี้อันตรายแค่ไหน

 ในการดูแลสุขภาพช่องปาก เรามักให้ความสำคัญกับการดูแลให้ฟันขาวแข็งแรง และเหงือกสุขภาพดี แต่บางครั้งก็ลืมดูแลอวัยวะอื่นในช่องปาก เช่น ที่เป็นส่วนสำคัญในการรับรสชาติ และใช้เป็นส่วนหนึ่งในการออก

“ลิ้นเป็นฝ้า” คืออะไร ?
            ลิ้นเป็นฝ้า (White Tongue) คือ อาการหนึ่งที่เกิดขึ้นกับลิ้น โดยมีสาเหตุเบื้องต้นมาจากการมีเชื้อแบคทีเรียสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อรวมกับเซลล์ที่ตายแล้วบนลิ้นจึงทำให้เกิดฝ้าขาวขึ้น โดยมากไม่ใช่อาการเรื้อรัง แต่เป็นอาการที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวในระยะสั้น ๆ ที่อาการบรรเทา หรือหายไปได้เมื่อทำการแปรงลิ้น และดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากอาการลิ้นเป็นฝ้าเกิดขึ้นต่อเนื่อง เรื้อรัง อาจเป็นไปได้ว่า อาการลิ้นเป็นฝ้านั้นไม่ได้เกิดจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย แต่มีสาเหตุอื่นที่ส่งผลต่อสุขภาพก็เป็นได้
“ลิ้นเป็นฝ้า” เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไรบ้าง ?
           1.เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่สะสมอยู่เป็นจำนวนมากที่ผิวลิ้นจนทำให้เกิดลิ้นเป็นฝ้า ปล่อยทิ้งไว้ก็จะยิ่งหนาเป็นปื้นมากขึ้น และก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ในสุขภาพช่องปากตามมา ซึ่งการที่เชื้อแบคทีเรียสะสมจำนวนมากก็เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อาการปากแห้งจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ และการหายใจทางปาก หรือทำความสะอาดช่องปากไม่เพียงพอ และไม่เคยทำความสะอาดลิ้น เป็นต้น
           2.เกิดจากเชื้อราภายในช่องปาก (Oral Thrush) ที่มีสาเหตุมาจาก แคนดิดา ยีนส์ (Candida Yeast) ที่ส่งผลทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อ เชื้อรานี้จะทำให้รู้สึกแสบร้อนในช่องปาก และเกิดขุยสีขาวที่ลิ้น มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอม ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ

            3.มีคราบอาหารตกค้างอยู่ในช่องปาก เช่น คราบนมติดบนลิ้นจนเป็นปื้นขาว และช่องปากขาดการดูแล จนเกิดฟันผุ และคราบหินปูน จนทำให้ลิ้นเป็นฝ้า
            4.การสูบบุหรี่ ทำให้ช่องปากมีความผิดปกติได้โดยง่าย เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และจุลินทรีย์ ทำให้ลิ้นเป็นฝ้าขาวได้ง่าย
            5.การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ทำให้ลิ้นเป็นฝ้าขาวได้ง่าย และภายในช่องปากอ่อนแอ
            6.เป็นผลสืบเนื่องจากการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
            7.ผลจากการรับประทานอาหารนิ่ม ละเอียด มากเกินไปแล้วไม่ได้ทำความสะอาดลิ้น
            8.เกิดการระคายเคืองในช่องปากจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น แบร็กเก็ต (Bracket) เครื่องมือจัดฟันในช่อง
ลักษณะ “ลิ้นเป็นฝ้า” พาให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง
            อาการลิ้นเป็นฝ้าถ้ามองผิวเผินอาจไม่ต่างกัน แต่ความจริงแล้วลิ้นเป็นฝ้าอาจมีอาการอื่น ๆ แฝงอยู่ และเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นโรคต่าง ๆ ได้ ดังนี้
            1.ลิ้นมีลักษณะเป็นฝ้าขาว รวมทั้งมีคราบสีขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้นที่กระพุ้งแก้ม เกิดจากโปรตีนเคอราตินที่เกิดขึ้นจำนวนมากในช่องปาก เป็นผลจากการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ปริมาณมาก เมื่อเกิดฝ้าขาวเป็นปื้นหนาบนลิ้น จะเรียกว่า โรคฝ้าขาว (Leukoplakia) ไม่เป็นอันตรายมาก แต่ถ้าเป็นนาน ๆ โดยไม่ได้ดูแลจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งช่องปากได้
            2.เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ อาจทำให้เกิด โรคไลเคนพลานัส (Oral Lichen Planus) ในช่องปากได้ โดยในระยะเริ่มเป็นจะไม่รู้สึกอะไร นอกจากลิ้นมีฝ้าขาว แต่เมื่อมีอาการมากขึ้น จะทำให้รู้สึกว่าในช่องปากเกิดอาการแสบร้อนไม่ปกติขึ้น รู้สึกว่าเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้มระคายเคือง และเหงือกเจ็บระบมไม่ปกติ

               3.ปกติที่ลิ้นคนเราจะมีปุ่มรับรส (Papillae) สีชมพูอมขาวเล็ก ๆ อยู่ แต่เมื่อไหร่ที่ปุ่มรับรสที่ปกคลุมลิ้นหายไปกลายเป็นพื้นลิ้นเรียบ ๆ มีฝ้าขาว และบางส่วนมีร่อง เป็นรอยสีแดงขอบนูนเกิดขึ้นคล้ายแผนที่ คืออาการของ ลิ้นลายแผนที่ (Geographic Tongue) ที่ไม่เป็นอันตราย ไม่เกี่ยวกับมะเร็งช่องปาก และยังไม่สามารถหาสาเหตุแน่ชัดได้ แต่มีการวิจัยพบว่า การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องแอลกอฮอลล์ ทานอาหารรสจัด ใช้น้ำยาบ้วนปากฤทธิ์แรง อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้


             4.เมื่อลิ้นเป็นฝ้าขาวร่วมกับการเกิดแผลเล็ก ๆ หลายแห่งบนลิ้น อาจเกิดจากการเป็น โรคซิฟิลิส (Syphilis) ที่มีสาเหตุจากการทำออรัลเซ็กซ์ให้ผู้ที่มีเชื้อซิฟิลิส โดยในระยะแรกแผลเล็ก ๆ บนลิ้นจะไม่ทำให้เจ็บ แต่เป็นแผลที่แสดงถึงอาการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
            5.ลักษณะของลิ้นที่อันตรายที่สุด คือ การที่เซลล์สแควมัสชนิดผอมแบน (Squamous Cells) มาปรากฏบนลิ้น ทำให้มีความผิดปกติบนลิ้น เช่น มีคราบขาวบนลิ้น ใต้ลิ้น บนเหงือก และเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ ในช่องปาก ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งช่องปาก (Oral Cancer) ได้
การรักษาอาการ “ลิ้นเป็นฝ้า” มีวิธีดังต่อไปนี้
            1.อาการลิ้นเป็นฝ้าโดยทั่วไป หรือแม้แต่มีอาการลิ้นเป็นลายแผนที่ จะหายได้เองเมื่อทำความสะอาดลิ้นสม่ำเสมอ
            2.ถ้าลิ้นเป็นฝ้าที่ไม่ปกติ อาจต้องรู้สาเหตุ แล้วรักษาตามวิธีการที่ต่างกันไป ดังนี้
            2.1 ถ้าลิ้นเป็นฝ้าจากเชื้อรา แพทย์อาจให้ยาต้านเชื้อราเพื่อทำการรักษา ซึ่งไม่เกิน 2 สัปดาห์ อาการก็จะบรรเทาลง
            2.2 อาการลิ้นเป็นฝ้าจากโรคฝ้าขาวที่แพทย์วินิจฉัยว่ารุนแรงกว่าปกติ แพทย์อาจให้ใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งการผ่าตัดลิ้นนี้มีหลายวิธี เช่น การใช้เลเซอร์ การจี้เย็น (Cryotherapy) และการใช้มีดผ่าตัด
            2.3 ถ้าลิ้นเป็นฝ้าจากโรคไลเคนพลานัสในช่องปาก อาการน้อยไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ให้ดูแลสุขภาพร่างกาย และช่องปากให้ดี หรือถ้าต้องรักษาเบื้องต้น แพทย์จะให้ผู้ป่วยใช้น้ำยาบ้วนปากที่เหมาะสม กับการใช้ยาพ่นช่องปากชนิดมีสเตียรอยด์ หรืออาจเป็นยาเม็ดสเตียรอยด์แบบละลายน้ำได้สำหรับบ้วนปาก
            2.4 ถ้าลิ้นเป็นฝ้าจากโรคซิฟิลิสแพทย์มักใช้ยาเพนนิซิลินในการรักษา
            2.5 กรณีแพทย์ระบุว่าเป็นโรคมะเร็งช่องปาก มักต้องรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัด ฉายแสง หรือผ่าตัด ตามแต่แพทย์จะวินิจฉัย
“ลิ้นเป็นฝ้า” ป้องกันอย่างไรดี ?
           เราสามารถป้องกันอาการลิ้นเป็นฝ้าได้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ในช่องปากได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
           - ทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ ด้วยการแปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน ใช้ไหมขัดฟัน อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการสะสมเชื้อโรคในช่องปาก
          - บ้วนปากเป็นประจำด้วยน้ำสะอาดหลังรับประทานอาหาร และใช้น้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปาก (ที่ไม่มีฤทธิ์รุนแรงเกินไป) และมีสรรพคุณที่ดี เช่น น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมจากเกลือ สะระแหน่ ดอกคาโมมายล์ ที่ช่วยลดอาการลิ้นเป็นฝ้าได้
          - แปรงลิ้นด้วยแปรงสีฟันขนนุ่ม หรืออุปกรณ์ทำความสะอาดลิ้นที่สะอาด
          - ในผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอม ต้องหมั่นทำความสะอาดช่องปาก และฟันปลอมทุกวัน

           - ดื่มน้ำให้พอเพียง จะได้ไม่เกิดภาวะขาดน้ำที่ทำให้เกิดอาการปากแห้ง และลิ้นเป็นฝ้า
           - รับประทานอาหารประเภทแป้งที่ใส่ยีสต์ เช่น ขนมปัง และอาหารที่มีน้ำตาลสูง อย่างระมัดระวัง
           - กรณีลิ้นเป็นฝ้าขาวร่วมกับมีแผลเล็ก ๆ บนลิ้นเนื่องจากโรคซิฟิลิส สามารถป้องกันได้โดยการใส่ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ หรือมีออรัลเซ็กซ์
           - ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ช่วยลดความเสี่ยงการที่ลิ้นเป็นฝ้า และความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งช่องปาก
           - เลิกสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ทำให้เกิดลิ้นเป็นฝ้าขาว และโรคในช่องปากทุกอย่าง รวมทั้งมะเร็งช่องปาก
           - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปาก เช่น ผัก ผลไม้ ที่อุดมไปด้วยวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก
           - ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 6 เดือน
            การดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม คือ หัวใจหลักของการป้องกันการเกิด “ลิ้นเป็นฝ้า” ซึ่งหากปฏิบัติตาม นอกจากจะห่างไกลจากอาการลิ้นเป็นฝ้าแล้ว ยังมีสุขภาพฟันขาว เหงือกแข็งแรง ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมของเราทุกคนด้วยยังไงล่ะคะ


ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : https://lineeprofessional.com/blogs/linee-tips