จริงหรือไม่? กินไก่แล้วเป็นเกาต์

เป็นเวลาที่ยาวนานที่เราได้ยินเรื่องการกินไก่แล้วจะทำให้เป็นเกาต์ ซึ่งในความจริงนั้นเนื้อไก่มีสารพิวรีนในปริมาณไม่ได้สูงมากนัก ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถบริโภคได้โดยที่ไม่เป็นอันตราย

ดังนั้น เราจึงควรมาทำความรู้จักโรคเกาต์ เพื่อที่จะได้ทำการป้องกันและรักษาอย่างถูกต้องกันดีกว่า
โรคเกาต์ เกิดจากการตกตะกอนของผลึกยูริก ที่เกิดจากการที่ร่างกายสลายพิวรีนจากอาหารและขับออกได้ไม่เพียงพอตามข้อต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง โรคเกาต์นี้มักพบได้ในผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี หรือผู้หญิงที่มีโรคประจำตัวที่ควบคุมได้ไม่เหมาะสม อาการของผู้ป่วยโรคเกาต์โดยมากจะเป็น อาการปวดข้อ ข้อร้อนบวมแดง บางครั้งอาการปวดมากจนไม่สามารถสัมผัสได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณนิ้วโป้งเท้า ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถลงน้ำหนักได้ แต่ก็สามารถพบได้ในข้ออื่น ๆ ในร่างกายได้อีกเช่นกัน

ความเสี่ยงในการเกิดอาการโรคเกาต์ อาทิเช่น
1.ประวัติโรคเกาต์ในครอบครัว
2.น้ำหนักมากหรือภาวะโรคอ้วน
3.รับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง
4.ดื่มแอลกอฮอล์
5.มีประวัติโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน และโรคไต

เป็นเกาต์ห้ามกินอะไร อาหารอะไรบ้างที่มีปริมาณพิวรีนสูง แนะนำให้หลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคเกาต์ คือ
1.เครื่องในสัตว์
2.เนื้อสัตว์ที่มีสีแดง
3.อาหารทะเล เช่น หอย กุ้ง ปู ปลาแซลมอน ทูน่า เป็นต้น
4.แอลกอฮอล์
5.น้ำที่มีรสหวาน
6.ผักบางชนิด เช่น หน่อไม้ สะเดา ยอดกระถิน ชะอม ตำลึง เป็นต้น


 ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล :https://www.lionhealththailand.com/food