ไม่ได้รักษ์โลกอย่างที่คิด? วิจัยเผย พบ ‘สารเคมีอมตะ’ ในหลอด-แก้วกระดาษ

“พลาสติก” เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ “สิ่งแวดล้อม” เพราะย่อยสลายยาก และก่อให้เกิดขยะสะสมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use) ที่ใช้กันตามร้านค้า ร้านอาหาร ทำให้ปัจจุบันผู้ประกอบการส่วนมากหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษ เพื่อทดแทนพลาสติกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นถุงกระดาษ แก้วกระดาษ หลอดกระดาษ จานกระดาษ เป็นต้น


ด้วยความที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติ หลายคนจึงคิดมองว่าน่าจะไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้มากเท่ากับพลาสติก แต่จากงานวิจัยล่าสุดพบว่า แก้วกระดาษ และหลอดกระดาษ มีสารประกอบ PFAS สังเคราะห์ หรือที่เรียกว่า “สารเคมีอมตะ” มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า สารเปอร์และโพลีฟลูออโรอัลคิล (Perfluoroalkyl Substances) เคลือบอยู่บนพื้นผิว เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ไม่อ่อนตัวง่ายเมื่อเปียกน้ำ แม้ว่าสารดังกล่าวจะพบในปริมาณต่ำ แต่หากสะสมไปนาน ๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้


แม้ว่าในปัจจุบันคนส่วนมากมีความตระหนักรู้ด้าน “สิ่งแวดล้อม” เพิ่มขึ้น และผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์กระดาษแบบใช้แล้วทิ้งสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และแทบไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพเลย แต่จากข้อค้นพบของทีมวิจัยทั้งจากเบลเยียมและสวีเดนดังกล่าว พวกเขาจึงอยากแนะนำว่า ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงใช้ “หลอดดูดน้ำกระดาษ” และ “แก้วกระดาษ” คือทางเลือกในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด เพราะ “สารเคมีอมตะ” ในภาชนะเหล่านั้นไม่ได้ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมได้อย่างที่ใครบางคนเชื่อ และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคอีกด้วย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :https://shorturl.asia/pyY5R


ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : bangkoklibrary.go.th