ดร. ไบรอัน สุภวุฒิ คุณาคม
แพทย์ธรรมชาติบำบัดขึ้นวิชาชีพที่สหรัฐอเมริกา (ND)
“ความอ้วน” ภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพผู้คนทั่วโลก ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน นำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และมะเร็ง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายทางสุขภาพเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมหาศาล
การลดน้ำหนัก เป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในชีวิตที่ไม่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพราะนอกจากจะต้องใช้เวลาและความตั้งใจแล้ว คนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจหลักการที่ถูกต้อง วิธีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม รวมถึงมีความเร่งรีบในการลดน้ำหนักและทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จึงไม่เป็นไปตามที่ต้องการ หรือลดน้ำหนักไม่สำเร็จ จนรู้สึกเหนื่อยท้อ หมดกำลังใจ ฯลฯ และยังทำให้กลับมาอ้วนขึ้นมากกว่าเดิม
สำหรับการลดน้ำหนักควรทำอย่างมีวินัยและค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการวางแผน กำหนดเป้าหมายและเลือกวิธีการลดน้ำหนักที่เหมาะสม โดยไม่ต้องควบคุมอาหารหรืออดอาหารอย่างเคร่งครัดเกินไป แต่ต้องมีความเข้าใจเรื่องหลักการสร้างสมดุลพลังงาน โดยมีหลักเกณฑ์อยู่ที่การรับพลังงานจากอาหารให้น้อยกว่าที่ร่างกายใช้ไปในกิจกรรมประจำวัน เพื่อให้ร่างกายดึงเอาพลังงานสำรองที่สะสมไว้ในรูปของไขมันและกล้ามเนื้อมาใช้ ดังนั้นจึงควรเลือกและควบคุมปริมาณอาหารแต่ละประเภทให้เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานตามที่ต้องการในแต่ละวันในปริมาณที่ไม่ขาดหรือมากเกินไป จะช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานที่เหมาะสม และช่วยลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันมีรูปแบบการลดน้ำหนักมากมายให้ได้เลือกใช้ในการลดน้ำหนัก เช่น Ketogenic diet, Intermittent Fasting diet (IF), low carbohydrate diet, Atkins diet จากงานวิจัยพบว่า ช่วยให้ลดน้ำหนักได้ดีในช่วงแรก จากนั้นน้ำหนักที่ลดลงไม่ต่างจากการลดน้ำหนักแบบ balance diet ซึ่งจะช่วยให้ลดน้ำหนักได้อย่างยั่งยืนกว่า สิ่งสำคัญมากที่สุดสำหรับการกินเพื่อลด หรือควบคุมน้ำหนัก ก็คือ การที่ไม่สูญเสียกล้ามเนื้อระหว่างลดน้ำหนัก ทักษะสำคัญที่สุด คือ ความสม่ำเสมอและความชอบในรูปแบบอาหารที่กิน เพราะทั้ง 2 สิ่งนี้จะทำให้เราทำได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และที่ลืมไปไม่ได้ก็คือ การรู้ช่วงเวลาที่ต้องอด หรือ Fasting นั่นเอง เพราะการ Fasting เป็นแนวทางสำคัญในการปรับสมดุลอินซูลินในร่างกายให้ทำงานดีขึ้น ทำให้ร่างกายดึงเอาไขมันสะสมออกมาใช้เป็นพลังงานมากขึ้น
หลักการกินอาหารเพื่อลดน้ำหนัก
• รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างหลากหลายที่ไม่แปรรูป ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดจากการขาดสารอาหาร หากขาดสารอาหารตัวใดตัวหนึ่งไป
• เน้นอาหารโปรตีนให้ได้มากขึ้นในแต่ละวัน เพราะมีคุณสมบัติช่วยควบคุมความอยากอาหาร และช่วยให้รู้สึกอิ่มไวขึ้น นอกจากนี้โปรตีนยังทำหน้าที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และลดไขมันได้อีกด้วย รับประทานโปรตีนให้ครบ 1.2-1.5 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนัก เพราะว่าโปรตีนจะสร้างกล้ามเนื้อ การที่สูญเสียกล้ามเนื้อจะทำให้ร่างกายใช้พลังงานได้น้อยลงและเปิดโอกาสให้ไขมันมาทดแทนพื้นที่
• ลดการกินแป้งและน้ำตาลให้น้อยลง มีส่วนช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายได้มากขึ้น
• เลือกกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวแป้งไม่ขัดสี ธัญพืช ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ รวมทั้งมีเส้นใยอาหารสูง ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้อิ่มนานกว่า
นอกจากนี้การคำนวณแคลอรีในแต่ละวันถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานในปริมาณที่เหมาะสม โดยทั่วไปแล้ว ผู้ชายควรได้รับพลังงานวันละประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี ส่วนผู้หญิงควรได้รับพลังงานวันละประมาณ 1,600 กิโลแคลอรี อย่างไรก็ตามร่างกายแต่ละคนต้องการปริมาณพลังงานแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยอย่างน้ำหนัก อายุ และกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน โดยสัปดาห์หนึ่ง ควรลดปริมาณพลังงานให้ได้ 3,500-7,000 แคลอรีต่อสัปดาห์ หรือวันละประมาณ 500 แคลอรี เพื่อให้การลดน้ำหนักที่ถูกต้องไม่ควรหักโหมมาก ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนชัดเจนและไม่หักโหมจนเกินไป จึงจะช่วยให้สามารถบรรลุผลลัพธ์ที่ยั่งยืนได้ในระยะยาวด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ ดังนี้
• มีความมุ่งมั่นและตั้งใจ ต้องตระหนักรู้ว่าทำไมเราต้องลดน้ำหนัก หากเราไม่เห็นความสำคัญว่าจะต้องลดน้ำหนัก ก็จะไม่เกิดพฤติกรรมที่ดี ๆ อื่น ๆ ตามมา เช่น เริ่มต้นด้วยการเขียนลงบนกระดาษว่า อยากมีสุขภาพหรือรูปร่างที่ดีขึ้น ไว้ในจุดที่คุณจะเห็นได้บ่อย ๆ เพื่อให้เป็นแรงผลักดันให้คุณมุ่งมั่นสู่เป้าหมายและไม่ลืมวัตถุประสงค์ที่เป็นการสร้างแรงจูงใจ
• รู้จักตัวเองและไลฟ์สไตล์ตัวเองให้ดี ด้วยการประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวัน การสำรวจ จะช่วยให้คุณเข้าใจไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น เพื่อวิเคราะห์จุดที่ควรปรับเปลี่ยนอย่างเหมาะสม การลดน้ำหนักที่ถูกต้อง คือ การลดไขมันในร่างกาย โดยต้องพยายามรักษามวลกล้ามเนื้อให้คงที่ หรือให้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม เพื่อทำให้ระบบการเผาผลาญดียิ่งขึ้น แนวทางในการลดไขมันสะสม เราควรทราบค่าเลือดต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับระบบการเผาผลาญของร่างกายร่วมด้วย เช่น ระดับฮอร์โมนหลายตัว ได้แก่ ไทรอยด์ฮอร์โมน อินซูลิน ฮอร์โมนเพศชาย/หญิง ฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEA) โกรทฮอร์โมน (IGF-1) วิตามินดี ค่าการอักเสบในร่างกาย เป็นต้น
• การตั้งเป้าหมายที่เหมาะสม อย่ากำหนดเป้าหมายในการลดน้ำหนักที่มากเกินไป ควรตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและทำได้ แนะนำให้ลดน้ำหนักประมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้อย่างยั่งยืน พยายามสร้างทัศนคติที่ดีให้กับตัวเองอยู่ตลอดเวลา รู้จักการรับประทานอย่างมีสติ อาจลดปริมาณพลังงานให้ได้วันละประมาณ 500 แคลอรี ด้วยความพยายาม อดทนและสม่ำเสมอ หาจุดที่ตัวเองทำแล้วมีความสุขมากที่สุด
• การออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักโหม หรือไม่เบาจนเกินไป และต้องทำให้สม่ำเสมอ 3 - 4 วัน/สัปดาห์ ในแต่ละครั้งทำติดต่อกัน 40 - 60 นาที ใน “ระดับความเข้มแบบเหมาะสมกับความแข็งแรงของร่างกาย ออกแบบวันเว้นวัน หรือ 2 วัน ตามแต่ละบุคคล เพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุลระหว่างฮอร์โมนที่ช่วยเสริมสร้าง (Anabolic hormones) และฮอร์โมนที่ช่วยลดการอักเสบ (Cortisol) การออกกำลังกายมากและหนักเกินไปอาจจะไม่เป็นผลดีเพราะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Over training syndrome นอกจากนี้ควรเพิ่มการทำเวทเทรนนิ่งไปด้วย เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อ หรือสร้างให้มากขึ้นเพื่อระบบการเผาผลาญที่ดีขึ้นตาม สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนที่อ้วนหมดความพยายามในการออกกำลังกายก็คือ ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร หรือบางคนพอเริ่มไปก็ทำได้ไม่ต่อเนื่อง ไม่สม่ำเสมอ ควรหาโค้ชหรือเทรนเนอร์ดูแลในช่วงแรกก่อน เพื่อคอยดูแลปรับท่าทางในการออกกำลังกายที่ถูกต้องให้ก่อน จะได้ออกได้ถูกต้องเกิดประโยชน์ และลดการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย
• การหาข้อมูลและแรงสนับสนุน ด้วยการชวนเพื่อน ๆ หรือสมาชิกในครอบครัวที่สนใจลดน้ำหนักมาร่วมทางไปกับคุณ มีการแลกเปลี่ยนสูตรอาหาร ชวนกันออกกำลังกาย หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ นอกจากจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แล้ว ยังช่วยให้คุณมีกำลังใจและแรงผลักดันมากขึ้น หมั่นดูแลสุขภาพลำไส้ให้ดีอยู่เสมอเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการย่อย การดูดซึมสารอาหาร และภูมิคุ้มกันร่างกาย คนที่มีปริมาณและสายพันธุ์ของแบคทีเรียที่ดี น้อยกว่าสายพันธุ์ที่ไม่ดี จะก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นการกระตุ้นสารอักเสบให้ออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนหลายตัวในร่างกายทำงานได้น้อยลง
• การติดตามความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ด้วยการบันทึกน้ำหนักและสัดส่วนของคุณอย่างสม่ำเสมอ การติดตามผลลัพธ์จะช่วยให้คุณเห็นภาพความสำเร็จ และเป็นแรงผลักดันให้คุณมุ่งมั่นต่อไป
ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การคำนวณปริมาณแคลอรีเป็นเรื่องที่ยากและอาจเกิดความผิดพลาดได้ เพราะนอกจากร่างกายของแต่ละคนจะเผาผลาญแคลอรีแตกต่างกันแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเรื่องที่ยาก อีกทั้งยังต้องมีวินัยและความตั้งใจ แนวทางการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร (Meal Replacement) จึงเข้ามามีบทบาทในการควบคุมน้ำหนัก และลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารกับการควบคุมน้ำหนัก
ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Meal Replacement ถูกออกแบบมาให้สามารถบริโภคแทนมื้ออาหารหลัก โดยมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายและให้คุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน ประกอบด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงมีแคลอรีต่ำกว่าอาหารปกติ ส่วนมากมีรสชาติหลากหลายและสามารถชงดื่มได้ทันที จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ลดการบริโภคแคลอรี หรือไม่มีเวลาทำอาหาร ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา ความยุ่งยากในการวางแผนและจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหารทุกวัน
จากผลการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระหว่างการควบคุมน้ำหนักด้วยการใช้ทดแทนมื้ออาหารกับการควบคุมปริมาณอาหารเพียงอย่างเดียว พบว่า การบริโภคอาหารทดแทนมื้ออาหารมากกว่าหรือเทียบเท่า 60% ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน ในระยะเวลา 3 เดือน และ 1 ปี ช่วยลดน้ำหนักได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และยังช่วยควบคุมปริมาณการบริโภคอาหารได้ดี ดังนั้นการใช้อาหารทดแทนมื้ออาหารจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ อีกทั้งยังมีส่วนผสมและองค์ประกอบของสารอาหารที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนจะซื้อควรศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วนและอ่านฉลากให้ดีก่อนซื้อ ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารต้องมีมาตรฐานตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ด้วย
การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมกับการมีสุขภาพดี เมื่อเร็ว ๆ นี้มีผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารจากประเทศญี่ปุ่นที่สามารถเติมเต็มพลังงานให้แก่ร่างกายแต่มีปริมาณแคลอรีต่ำมาเปิดตัวในบ้านเรา เพื่อเป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการลดหรือควบคุมน้ำหนัก ซึ่งมีพลังงานเพียง 200 กิโลแคลอรี/มื้อ มีรสชาติให้เลือกอิ่มอร่อยทั้งรสกาแฟ ลาเต้ และโกโก้ อีกทั้งยังไม่เติมน้ำตาล จึงช่วยให้การควบคุมน้ำหนักเป็นไปอย่างสมดุล ไม่กระทบการทำงานของสุขภาพร่างกาย เหมาะกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว โดยผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารจากประเทศญี่ปุ่นนี้ประกอบไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการในปริมาณเหมาะสมกับการรับประทาน 1 มื้อ เช่น
• มีโปรตีนสูง ถึง 22 กรัม/มื้อ โปรตีนมีคุณสมบัติที่ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงานและช่วยสร้างกล้ามเนื้อในร่างกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้มากขึ้น และยังช่วยให้อิ่มนาน หิวน้อยลง เพราะร่างกายจะใช้เวลาย่อยนานกว่าคาร์โบไฮเดรตและไขมัน จึงช่วยให้การลดน้ำหนักมีผลลัพธ์ดีขึ้น
• มีวิตามินและแร่ธาตุ ที่จำเป็น 21 ชนิด แม้ร่างกายต้องการสารอาหารในหมวดหมู่นี้ในปริมาณไม่มากนัก แต่ก็ไม่สามารถขาดได้ เพราะเป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน การปรับความสมดุลของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และการเสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นไปอย่างปกติ
• มีใยอาหารสูง 10 กรัม ใยอาหารสำคัญต่อระบบย่อย ช่วยเพิ่มความอิ่ม ลดความต้องการในการบริโภคพลังงานเพิ่มเติมและช่วยเพิ่มกากอาหาร กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น ป้องกันท้องผูก
นอกจากนี้ยังเสริมสารแอลคาร์นิทีน (L-Carnitine) ในปริมาณถึง 250 มิลลิกรัม ซึ่งสารแอลคาร์นิทีนมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และช่วยให้กล้ามเนื้อมีพลังงานและประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น หากออกกำลังกายควบคู่กันไปก็จะช่วยให้ลดน้ำหนักและไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้จากผลการวิจัยของ Mansooreh Samimi และคณะ (2016) ได้ทำการศึกษาเรื่องการเสริมแอลคาร์นิทีนต่อการลดน้ำหนักและระบบเผาผลาญของผู้หญิงที่มีภาวะถุงไข่หลายใบ (PCOS) ซึ่งมักเกิดร่วมกับการภาวะน้ำหนักเกิน ผลการวิจัยพบว่าการเสริมแอลคาร์นิทีน ปริมาณ 250 มิลลิกรัม เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ส่งผลให้น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว เส้นรอบสะโพกลดลง และส่งผลดีต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือดอีกด้วย
Meal Replacement Product และ Protein Shake ต่างกันอย่างไร
ปัจจุบันอาจมีความเข้าใจสับสนระหว่างผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร (Meal Replacement) และผลิตภัณฑ์โปรตีนสูง (Protein Shake) ที่เกิดจากความคล้ายคลึงกันในบางด้านของ 2 ผลิตภัณฑ์นี้ อย่างไรก็ตามมีความแตกต่างที่สำคัญในการใช้งานและประโยชน์ที่ได้รับดังนี้:
ตารางที่ 1 แสดงความแตกต่างระหว่าง Meal Replacement Product และ Protein Shake
Meal Replacement | Protein Shake |
|
|
โดยสรุป Meal Replacement มุ่งเน้นที่การให้สารอาหารครบถ้วนเพื่อทดแทนมื้ออาหาร มีแคลอรีต่ำ จึงช่วยให้การควบคุมน้ำหนักเป็นไปอย่างสมดุล ในขณะที่ Protein Shake เน้นการเสริมโปรตีนเพื่อบำรุงร่างกายหรือเพิ่มกล้ามเนื้อโดยเฉพาะ ดังนั้นก่อนจะเลือกผลิตภัณฑ์ประเภทใดมาบริโภค ควรดูที่เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของตนเองเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ตามการลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องใช้ทั้งเวลา แรงกาย แรงใจ ความสม่ำเสมอ รวมถึงต้องมีวินัยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญหลังจากที่ลดน้ำหนักได้แล้ว ต้องรักษาน้ำหนักไว้ให้คงที่และไม่กลับไปอ้วนอีก ขอให้มุ่งมั่นตั้งใจจริง มีความพยายามและอดทนในการปรับเปลี่ยนตัวเราเองไปเรื่อย ๆ สู่การเปลี่ยนแปลงตัวเองให้กลายเป็นคนใหม่ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดียิ่งขึ้นด้วย
เอกสารอ้างอิง
- Astbury NM, Piernas C, Hartmann-Boyce J et al. A systematic review and meta-analysis of the effectiveness of meal replacements for weight loss. Obesity reviews. 2019; 20:569-87.
- Jihyun M, Seo-Young K., Young-Bae P., Young-Woo L The Effect of Meal Replacement on Weight Loss According to Calorie-Restriction Type and Proportion of Energy Intake: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials. JAND 2021; 212(8): 1551-1564.
- Leidy HJ, Clifton PM, Astrup A et al. The role of protein in weight loss and maintenance. AJCN. 2015; 101(suppl):1320S-9S.
- Losing Weight. CDC’s Division of Nutrition, Physical Activity, and Obesity (DNPAO). Last Reviewed: June 15, 2023. Accessed April 16, 2024. https://www.cdc.gov/healthyweight/losing_weight/index.html
- Obesity and overweight. World Health Organization. Updated March 1, 2024. Accessed April 3, 2024. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight
- Ruth Frechman. What a Healthy Weight Loss Plan Really Looks Like? April 23, 2021. Accessed April 3, 2024. https://www.eatright.org/health/wellness/weight-and-body-positivity/what-a-healthy-weight-loss-plan-really-looks-like
- Sandeep K. Dhaliwa, David Zieve, et al. Diet for rapid weight loss. Updated April 29, 2022. Accessed April 17, 2024. https://ufhealth.org/care-sheets/diet-for-rapid-weight-loss
- Talenezhad N, Mohammadi M, Ramezani-Jolfaie N et al. Effects of L-carnitine supplementation on weight loss and body composition: A systematic review and meta-analysis of 37 randomized controlled clinical trials with dose-response analysis. Clinical Nutrition ESPEN. 2020; 37:9-23.