Evusheldสามารถป้องกันการดำเนินโรคของโควิด-19หรือการเสียชีวิต จากการทดลองระยะที่3แท็คเคิล (TACKLE)

ข่าวประชาสัมพันธ์

ผลการศึกษาซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารThe Lancet Respiratory Medicine แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของEvusheldในการรักษาโรคโควิด-19 สำหรับกลุ่มผู้ป่วยนอกที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง
          ผลการทดลองแท็คเคิล (TACKLE) การศึกษาระยะที่ 3 สำหรับการรักษาโรคโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยนอก แสดงให้เห็นว่า Evusheldของแอสตร้าเซนเนก้า (เดิมชื่อ AZD7442 ส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวสองชนิด ได้แก่ tixagevimabและ cilgavimab)สามารถป้องกันการการเกิดโรคแบบรุนแรง หรือการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ
          ได้อย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกและทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo)โดยการรักษาด้วย Evusheldในระยะเริ่มต้นของโรคนั้น สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น1
          ข้อมูลนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารThe Lancet Respiratory Medicine
          การทดลองแท็คเคิลดำเนินการศึกษาผู้ร่วมโครงการที่เป็นผู้ป่วยนอกโรคโควิด-19ซึ่งมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางในระยะเวลาไม่เกิน 7 วันนอกจากนั้น 90% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีโรคประจำตัวและภาวะต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงจากโรคโควิด-19 หรือเป็นผู้สูงอายุ1
          ฮิวจ์ มอนต์โกโมรี ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเวชบำบัดผู้ป่วยหนัก มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และหัวหน้าทีมวิจัยของโครงการแท็คเคิล กล่าวว่า “ถึงแม้การใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะประสบผลสำเร็จในวงกว้าง แต่ยังมีประชากรจำนวนมากที่ยังมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรครุนแรงเช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ดังนั้นวิธีการอื่นๆ จึงมีความจำเป็นเพื่อป้องกันการดำเนินของโรค และลดภาระของระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่ต่างๆ อย่างต่อเนื่องการทดลองแท็คเคิลแสดงให้เห็นว่าการฉีด Evusheldเข้ากล้ามเนื้อหนึ่งโดสสามารถป้องกันการดำเนินของโรคโควิด-19 ไปสู่ขั้นรุนแรงได้ ซึ่งการได้รับยาเร็วขึ้นจะส่งผลดีต่อการรักษามากขึ้น”
          เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) ของแอสตราเซนเนก้า กล่าวว่า “ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Respiratory Medicineเป็นอีกหนึ่งข้อมูลสนับสนุนการใช้ Evusheldเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องการการป้องกันโรคโควิด-19 มากกว่าคนทั่วไปซึ่งขณะนี้ได้มีการหารือเกี่ยวกับข้อมูลจากการศึกษานี้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีการยื่นพิจารณาการขึ้นทะเบียนยาในข้อบ่งชี้ทั้งในทางการรักษาและการป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19ในทุกๆด้าน”
          ผลลัพธ์หลัก (primary endpoint) ของการทดลองแท็คเคิล พบว่า ยา Evusheldสำหรับฉีดเข้ากล้ามเนื้อ1 โดส ขนาด 600 มก.สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแบบรุนแรง หรือการเสียชีวิต (จากทุกสาเหตุ) ได้ถึง 50%(95% ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 15, 71; p=0.010)หลังการได้รับยาไปแล้ว 29 วันเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) ในผู้ป่วยนอก ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีอาการในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน
          จากการวิเคราะห์แบบ pre-specifiedผู้ป่วยโควิด-19ที่แสดงอาการ และได้รับยาภายในช่วง 3 วันแรกพบว่าEvusheldสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรครุนแรง หรือเสียชีวิต (จากทุกสาเหตุ) ได้ถึง 88%เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo)(95% ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 9, 98) และยังลดความเสี่ยงถึง 67% (95% ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 31, 84)ในกลุ่มที่ได้รับยาภายใน 5 วันหลังแสดงอาการ1
          นอกจากนี้ ในรายงานผลลัพธ์รอง (secondary endpoint) Evusheldยังสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวได้ถึง 72% (95% ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 0.3, 92; nominal p=0•036)โดยมีผู้รับ Evusheld3 คน (0.7%) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 11 คน (3%) ที่ต้องอาศัยการรักษาด้วยเครื่องมืออื่นๆ อาทิ เครื่องช่วยหายใจ หรือเครื่องหัวใจ-ปอดเทียมแบบเคลื่อนย้าย (ECMO)1.
          จากการศึกษาแท็คเคิล Evusheldมีผลข้างเคียงที่ยอมรับได้ดีโดยพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์(AEs) ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกมากกว่ายา Evusheld(36% และ 29% ตามลำดับ)เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้คือภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ซึ่งเกิดขึ้นในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก49 คน (11%) และในกลุ่มที่ได้รับ Evusheld26 คน (6%) สำหรับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระดับรุนแรงนั้นเกิดขึ้นในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก12% และในกลุ่มที่ได้รับ Evusheld17% โดยมีรายงานผู้เสียชีวิต 6 รายในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และ 3 รายในกลุ่มที่ได้รับEvusheld1


TACKLE
          การทดลองแท็คเคิล (TACKLE) เป็นการทดลองในระยะที่3 แบบสุ่มปกปิดข้อมูลทั้งสองทางและศึกษาควบคุมด้วยยาหลอกภายในศูนย์ทดลองหลายแห่งเพื่อให้ทราบถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการใช้ยาEvusheld 1 โดสขนาด600 มิลลิกรัมฉีดเข้ากล้ามเนื้อเปรียบเทียบกับการใช้ยาหลอกในการรักษากลุ่มผู้ป่วยนอกจากโรคโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางซึ่งการทดลองดังกล่าวได้ถูกดำเนินการในศูนย์การทดลอง95 แห่งทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา, กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา, ทวีปยุโรปและประเทศญี่ปุ่นมีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวน903 คนโดยสุ่มผู้ที่ได้รับยาEvusheldหรือได้รับน้ำเกลือเป็นยาหลอกในอัตราส่วน1:1 โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยาEvusheldเป็นจำนวน452 คนและมีกลุ่มตัวอย่างที่ได้น้ำเกลือเป็นยาหลอกจำนวน451 คนซึ่งเป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อสองจุดต่อเนื่องกัน
ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และแสดงอาการในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน แบบที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการต้องได้รับเอกสารยืนยันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธีทดสอบเชื้อทางโมเลกุล (การตรวจแอนติเจนหรือกรด นิวคลีอิก) จากการเก็บตัวอย่างทางระบบทางเดินหายใจ (เช่น ทางช่องปาก ช่องจมูก หรือ น้ำมูก หรือ น้ำลาย) ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่างเชื้อมาไม่เกิน 3 วัน ก่อนวันที่เข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าร่วมจะต้องไม่ใช่ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาแล้ว ณ วันที่คัดกรอง
          ประสิทธิภาพระดับปฐมภูมิประกอบไปด้วยการมีอาการจากการติดเชื้อโควิด-19 แบบรุนแรง หรือการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุที่เกิดขึ้นในช่วง 29 วัน โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะถูกติดตามต่อไปจนครบ 15 เดือน
          ผู้เข้าร่วมโครงการราว 13% มีอายุตั้งแต่ 65 ขึ้นไป นอกจากนี้ 90% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีโรคประจำตัวและภาวะต่าง ๆที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19ซึ่งรวมถึง โรคมะเร็ง, เบาหวาน, โรคอ้วน, โรคปอดเรื้อรัง หรือ โรคหอบ, โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ62% เป็นชนผิวขาว/คอเคซอยด์ ,4% เป็นชาวแอฟริกันอเมริกัน, 6%เป็นชาวเอเชีย, 24% เป็นชนพื้นเมืองอเมริกันและ52% เป็นชาวละติน
ก่อนหน้านี้ทางแอสตร้าเซนเนก้าได้ประกาศผลลัพธ์เบื้องต้นที่ดีจากการทดลองแท็คเคิล (TACKLE) การศึกษาระยะที่ 3 เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง


Evusheld
          Evusheldเดิมชื่อ AZD7442 คือ แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Antibody - LAAB) ที่ผสมยา LAAB สองชนิด ได้แก่ tixagevimab (AZD8895) และ cilgavimab (AZD1061) ซึ่งมาจากบีเซลล์ที่ได้รับการบริจาคจากผู้ที่เคยป่วยจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งถูกค้นพบโดยศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิวท์ และได้อนุญาตให้แอสตร้าเซนเนก้านำมาพัฒนาต่อเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2563โมโนโคลนอลแอนติบอดีของมนุษย์ 2 ตัวนี้จะมีความจำเพาะที่ต่างกัน เพื่อจับกับโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือ SARS-CoV-27 ในคนละจุด2และถูกพัฒนาต่อโดยแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อขยายระยะเวลาครึ่งชีวิต(half-life) เพื่อเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี้ และปรับให้มีการจับกันของ Fc Receptor และ Complement ชนิด C1q ที่ลดลง310 โดยการขยาย half-life นั้น สามารถเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี้ได้มากกว่าสามเท่าเมื่อเทียบกับแอนติบอดี้ทั่วไป4-6จากข้อมูลของการทดลองในระยะที่ 3 แสดงให้เห็นว่าระดับของแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจํานวนของไวรัส (neutralizing antibody) คงอยู่ได้เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน7และการปรับให้มีการจับของ Fc Receptor ที่ลดลงนั้นสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะ antibody-dependent enhancement (ADE) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่แอนติบอดี้ของเชื้อไวรัสเข้าไปกระตุ้นแทนที่จะยับยั้งการติดเชื้อ8
          มีหลักฐานค้นคว้าในหลอดทดลองและการทดลองในสิ่งมีชีวิต (แบบใช้สัตว์) ที่แสดงให้เห็นว่ายา Evusheldสามารถป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์ย่อยโอมิครอนและสายพันธุ์ที่เป็นกังวลทั้งหมดที่ได้รับการทดสอบจนถึงตอนนี้9-13จากการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตันยังยืนยันถึงประสิทธิภาพของ Evusheldในการลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ย่อย BA.2 ซึ่งปัจจุบันเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดทั่วโลก9-14 และผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า Evusheldลดปริมาณเชื้อไวรัสและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อในปอดต่อทุกสายพันธุ์ย่อยของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน BA.1, BA.1.1 และ BA.29การศึกษาพรีคลินิกครั้งใหม่จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด พบว่า Evusheld ลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน BA.4และ BA.513ได้ไม่ต่างกัน
          ยา Evusheldได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาในสหภาพยุโรป และได้รับการขึ้นทะเบียนวางจำหน่ายแบบมีเงื่อนไขจากหน่วยงานกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (MHRA) ของสหราชอาณาจักร สำหรับใช้เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ยา Evusheldการขึ้นทะเบียนให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉินสำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและยังได้รับอนุญาตให้นำมาใช้ และจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งนี้บริษัทกำลังดำเนินการยื่นทะเบียนยา Evusheldไปยังหลายประเทศเพื่อการอนุมัติใช้ทั้งในแง่ของการป้องกัน และการรักษาโรคโควิด-19
           ยา Evusheldที่กำลังพัฒนาอยู่นี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงเงินทุนจากหน่วยงานด้านสุขภาพและบริการมนุษย์ของสหรัฐฯ ภายใต้การกำกับดูแลของ Office of the Assistant Secretary for Preparedness and Response และ Biomedical Advanced Research and Development Authority ภายใต้ความร่วมมือกับกระทรวงกลาโหม และ Joint Program Executive Office for Chemical, Biological, Radiological and Nuclear Defenseภายใต้สัญญาหมายเลข W911QY-21-9-0001
           ภายใต้ข้อตกลงกับแวนเดอร์บิวท์ แอสตร้าเซนเนก้าจะจ่ายส่วนแบ่งค่าสิทธิจากยอดขายในอนาคต


เกี่ยวกับแอสตร้าเซนเนก้า
          แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ และมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมยาต่างๆ จากแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์ astrazeneca.comและช่องทางทวิตเตอร์ @AstraZeneca


เอกสารอ้างอิง
1.Montgomery H, et al. Efficacy and Safety of Intramuscular Administration of AZD7442 (Tixagevimab/Cilgavimab) for Early Outpatient Treatment of COVID-19: The TACKLE Phase 3 Randomised Controlled Trial. Lancet Respir Med. Published online June 7, 2022.doi.org/10.1016/S2213-2600(22)00180-1
2. Dong J et al. Genetic and Structural Basis for SARS-CoV-2 Variant Neutralization by a Two-Antibody Cocktail. Nat Microbiol. 2021;6(10):1233-1244. doi:10.1038/s41564-021-00972-2
3. Loo YM et al. AZD7442 Demonstrates Prophylactic and Therapeutic Efficacy in Non-Human Primates and Extended Half-Life in Humans. Sci Transl Med. 2022;14(635):eabl8124
4. Robbie GJ et al. A Novel Investigational Fc-Modified Humanized Monoclonal Antibody, Motavizumab-YTE, Has an Extended Half-Life in Healthy Adults. Antimicrobial Agents and Chemotherapy. 2013;57(12):6147. doi:10.1128/AAC.01285-13
5. Griffin MP et al. Safety, Tolerability, and Pharmacokinetics of MEDI8897, the Respiratory Syncytial Virus Prefusion F-Targeting Monoclonal Antibody with an Extended Half-Life, in Healthy Adults. Antimicrob Agents Chemother. 2017;61(3)
6. Domachowske JB et al. Safety, Tolerability and Pharmacokinetics of MEDI8897, an Extended Half-Life Single-Dose Respiratory Syncytial Virus Prefusion F-Targeting Monoclonal Antibody Administered as a Single Dose to Healthy Preterm Infants. Pediatr Infect Dis J. 2018;37(9):886-892
7. Levin MJ et al. Intramuscular AZD7442 (Tixagevimab–Cilgavimab) for Prevention of Covid-19. New England Journal of Medicine. Published online April 20, 2022. doi:10.1056/NEJMoa2116620
8. van Erp EA et al. Fc-Mediated Antibody Effector Functions During Respiratory Syncytial Virus Infection and Disease. Front Immunol. 2019;10(MAR)
9. Case JB et al. Resilience of S309 and AZD7442 Monoclonal Antibody Treatments against Infection by SARS-CoV-2 Omicron Lineage Strains. bioRxiv. Published online March 18, 2022:2022.03.17.484787. doi:10.1101/2022.03.17.484787
10. VanBlargan LA et al. An Infectious SARS-CoV-2 B.1.1.529 Omicron Virus Escapes Neutralization by Therapeutic Monoclonal Antibodies. Nature Medicine 2022. Published online January 19, 2022:1-6. doi:10.1038/s41591-021-01678-y
11. Dejnirattisai W et al. SARS-CoV-2 Omicron-B.1.1.529 Leads to Widespread Escape from Neutralizing Antibody Responses. Cell. 2022;185(3):467-484.e15
12. US Food and Drug Administration FACT SHEET FOR HEALTHCARE PROVIDERS: EMERGENCY USE AUTHORIZATION FOR EVUSHELDTM (Tixagevimab Co-Packaged with Cilgavimab). Available at: https://www.fda.gov/media/154701/download [Last accessed: May 2022]
13. Tuekprakhon A et al. Further Antibody Escape by Omicron BA.4 and BA.5 from Vaccine and BA.1 Serum. bioRxiv. Published online May 21, 2022. doi:https://doi.org/10.1101/2022.05.21.492554
14. World Health Organization. Weekly Epidemiological Update on COVID-19 - 25 May 2022. Available at:https://www.who.int/publications/m/item/weekly-epidemiological-update-on-covid-19---25-may-2022 [Last accessed: May 2022