SGLT2 Inhibitors ลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์

นักวิจัยเกาหลีพบว่า SGLT2 inhibitors ที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 สามารถลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม อัลไซเมอร์และโรคพาร์กินสันได้ประมาณ 20%


วารสาร  Neurology ของ American Academy of Neurology  รายงานผลวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของ dipeptidyl peptidase-4 (DPP-4) inhibitors หรือ sodium-glucose cotransporter 2 (SGLT2) inhibitors ต่อความเสี่ยงของภาวะเสื่อมในระบบประสาทและสมอง โดยกลุ่มนักวิจัยจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยยอนเซในกรุงโซล ได้เก็บรวบรวมข้อมูลและประเมินผลการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาชนิดนี้ และมีอายุระหว่าง 40 ถึง 69 ปี ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.2013 ถึง 2021 และเปรียบเทียบกับการใช้ยารักษาโรคเบาหวานชนิดอื่นๆ


นักวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ SGLT2 inhibitors มีความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และภาวะสมองเสื่อมโดยทั่วไปลดลงประมาณ 20%  นั่นอาจจะเป็นเพราะ  SGLT2 inhibitors แทรกซึมผ่านสิ่งกีดขวางภายในเส้นเลือดและสมองได้ง่าย รวมทั้ง acetylcholinesterase inhibition และการแสดงอาการของ SGLT-2 ในเนื้อเยื่อสมอง


อัตราภาวะความเสื่อมของระบบประสาทกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก จึงมีงานวิจัยจำนวนมากศึกษาเพื่อหาทางป้องกันปัญหาด้านนี้  ภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น จากสถิติขององค์การอนามัยโลกตั้งแต่ปีค.ศ. 2021 คาดการณ์ว่า ภายในปี ค.ศ.2030 จะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเกือบ 78 ล้านคนทั่วโลก

 


ข้อมูล : https://www.medicalnewstoday.com/articles/type-2-drugs-could-lower-dementia-parkinsons-disease-risk