งานวิจัย ระบุ ยาที่ใช้สำหรับรักษากระดูกไม่แข็งแรงในผู้ป่วยสูงอายุซึ่งประสบปัญหาโรคกระดูกพรุน อาจทำให้กระดูกอ่อนแอยิ่งขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ที่ Imperial College London ได้ตรวจโครงสร้างกระดูกของผู้ป่วยที่มีกระดูกสะโพกหัก ซึ่งได้รับการรักษาด้วย bisphosphonates
คณะทำงานพบหลักฐานว่า ยามีความสัมพันธ์กับรอยแตกร้าวขนาดเล็ก ซึ่งทำให้กระดูกเปราะบางมากขึ้นและ มีแนวโน้มว่าจะหัก
โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) เป็นภาวะปกติส่วนหนึ่งของกระบวนการชราภาพ แต่บางคนสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกเร็วกว่าปกติอย่างมาก ซึ่งอาจนำไปสู่โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อภาวะกระดูกหัก
ยาหลักสำหรับโรคกระดูกพรุน คือ bisphosphonates เป็นกลุ่มยาที่มีผู้ประกอบวิชาชีพสั่งให้แก่ผู้ป่วยโดยทั่วไปและประสบความสำเร็จสูงมาก เป็นยาที่ชะลอกระบวนการธรรมชาติ ซึ่งจะขจัดภาวะชราภาพหรือกระดูกเสียหาย
แต่แพทย์มีความกังวลเกี่ยวกับจำนวนกระดูกหักที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ ซึ่งใช้ยาเป็นเวลานาน
เพื่อค้นหาเหตุผลในเรื่องนี้ คณะทำงานนำโดย Dr.Richie Abel ได้นำตัวอย่างกระดูกจากผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก 16 คน ไปศึกษาที่ Diamond Light Source ที่ Harwell campus ใน Oxfordshire ใต้
“สิ่งที่เราต้องการรู้ คือ กระดูกจากผู้ป่วยที่ใช้ยา bisphosphonates อ่อนแอลงหรือแข็งแรงขึ้นกว่ากระดูกจากผู้ป่วยกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับยา” Dr.Abel อธิบาย
“ค่อนข้างน่าตกใจ เราพบว่ากระดูกจากผู้ป่วยที่ใช้ยา bisphosphonates อ่อนแอ นั่นทำให้เรางงสงสัยมาก เพราะกระดูกควรจะแข็งแรงขึ้น”
จากการฉายเอกซเรย์ตัวอย่างกระดูกด้วยแสงที่สว่างกว่าแสงแดด 10 พันล้านเท่า คณะทำงานสามารถสร้างภาพของโครงสร้างภายในกระดูกด้วยรายละเอียดที่ไม่เคยทำมาก่อน
ภาพเหล่านี้แสดงว่า รอยแตกร้าวขนาดเล็กเกิดขึ้นในกระดูกของผู้ป่วยที่รักษาด้วยยา bisphosphonates
Dr.Abel บอกว่า ยาทำงานได้ clearly แต่ก็นำไปสู่การสร้างรอยแตกร้าวขนาดเล็กในกระดูก และเพิ่มโอกาสที่กระดูกจะหักได้
เป็นผลลัพธ์ที่น่าประหลาดใจ แต่การศึกษามีขนาดเล็กและงานศึกษายังอยู่ในขั้นเริ่มแรก
แต่กระนั้น Prof.Justin Cobb ผู้ร่วมเขียนรายงาน กล่าวว่า การค้นพบทำให้เกิดคำถามสำคัญว่า เราจะสั่งยา bisphosphonates เพื่อรักษาอาการในระยะยาว อย่างเช่นโรคกระดูพรุนได้อย่างไร
“ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน แต่เราควรคิดว่า ผู้ป่วยใช้ยามานานแค่ไหน และเราจะติดตามการเกิดรอยแตกร้าวขนาดเล็กเหล่านี้ได้อย่างไร”
ในช่วงเวลานี้ คณะผู้วิจัยบอกว่าผู้ป่วยควรรับยาที่แพทย์สั่งต่อไป
คุณมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนหรือไม่
ถ้าคุณตอบคำถามต่อไปนี้ว่า “ใช่” กับมากกว่า 1 คำถามแล้ว คุณอาจมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดโรคกระดูกพรุน
- มีคนในครอบครัวของคุณเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่
- คุณเคยกระดูกหักหลังจากหกล้มแค่เล็กน้อย
- คุณเป็นผู้หญิงและอายุมากกว่า 50 ปี หรือไม่
- คุณดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 3 แก้วต่อวัน หรือไม่
- คุณไม่ได้ถูกแสงแดดในฤดูร้อนใช่หรือไม่ (โดยการอยู่ภายในอาคาร หลีกเลี่ยงแสงแดด ปกคลุมผิวหนังหรือใช้ซันสกรีน)
- คุณไม่ได้ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
ยากระดูกพรุนอาจทำให้กระดูกอ่อนแอลง
Tom Feilden, BBC News