พฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทยเปลี่ยนไป ฮาคูโฮโด ชวนส่องเทรนด์การดูแลสุขภาพ หลังวิกฤติ "โควิด-19"

 



โดย คุณชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย)


พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเหมือนกับโลกที่หมุนไปในทุก ๆ ทำให้เหล่าธุรกิจต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ทุก ๆ อย่างผันเปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน และเกิดพฤติกรรมการใช้วิถีชีวิตแบบ Now Normal ที่พวกเราทุกคนต้องเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ของคนในสังคม หลังจากที่ได้ปรับตัวกับสถานการณ์โควิด-19


เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พบว่าพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเช่นกัน และนอกเหนือจากสาเหตุที่กล่าวไปเบื้องต้นแล้ว สภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองยังคงเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับคนไทยเป็นอย่างมาก หนึ่งในวิถีชีวิตแบบ Now Normal ของพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดในช่วงนี้ ได้แก่ พฤติกรรมการดูแลตนเองและครอบครัวหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และ พฤติกรรมการใช้จ่ายที่ให้ความสำคัญกับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพมากขึ้น


สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ของเรา ได้มุ่งมั่นที่จะทำการศึกษาเกี่ยวกับ "การคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย" อย่างต่อเนื่อง เพื่อสำรวจและคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยทุก ๆ สองเดือน ทั้งนี้เพื่อให้เหล่าธุรกิจสามารถนำข้อมูลวิจัยที่ได้ไปปรับใช้กับแผนการตลาดต่อไป รวมทั้งช่วยนำเสนอไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยมุ่งศึกษาไปที่ ผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคม (Life Living person) หรือ Sei-katsu-sha ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาของฮาคูโฮโด ที่ไม่เพียงแค่อธิบายผู้คนในฐานะผู้บริโภคที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่อธิบายถึงความเป็นบุคคลของผู้บริโภคที่มีชีวิต จิตใจ ไลฟ์สไตล์ แรงบันดาลใจ และความฝันที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล


แม้จะมีข้อจํากัดจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 เห็นได้ว่าธุรกิจต่าง ๆ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดภายใต้โลกยุคใหม่ที่ไม่มีวันเหมือนเดิมเพื่อให้สามารถนำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงใจผู้บริโภคที่สุด สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) หวังว่าธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ จะนำผลการวิจัยข้อและเสนอแนะของสถาบันฯ ไปปรับใช้กับแผนการตลาดของตน เพื่อให้สามารถรับมือกับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดเข้มข้นสู่เศรษฐกิจฝืดเคือง และสามารถนำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงใจผู้บริโภคที่สุด