ตับอ่อน มีหน้าที่สำคัญที่ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยอาหาร โดยเฉพาะไขมัน และสร้างฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยทำหน้าที่ผลิตสารอินซูลิน โดยมีความเชื่อมโยงระหว่างผู้ป่วยโรคเบาหวานและสาเหตุอื่น ๆ ของตับอ่อน เช่น การป่วยโรคตับอ่อนอักเสบและโรคมะเร็งตับอ่อน ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน กล่าวคือ หากตับอ่อนแข็งแรงและทำหน้าที่ผลิตอินซูลินได้เป็นปกติก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานน้อยลง
เรื่องน่ารู้
- โรคเบาหวานสามารถทำลายทุกระบบในร่างกาย เช่น หัวใจ การทำงานของไต ระบบเส้นประสาท กระเพาะอาหาร ทางเดินกระเพาะปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ระบบการเคลื่อนไหว สุขภาพช่องปาก การได้ยิน และการมองเห็น
- ดูแลตับอ่อนให้แข็งแรง ด้วยการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ และออกกำลังกายเป็นประจำ ที่สำคัญควรหมั่นตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
ตับอ่อนกับการป้องกันโรคเบาหวาน
ตับอ่อนเป็นอวัยวะบาง ๆ ยาวประมาณ 15 ซม. ซึ่งอยู่บริเวณหลังกระเพาะอาหารและใต้ตับ เป็นอวัยวะสำคัญที่มีบทบาทสำคัญ 2 ประการ คือ ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยอาหาร โดยเฉพาะไขมัน และสร้างฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยหน้าที่การผลิตสารอินซูลินที่เป็นฮอร์โมนทำหน้าที่เผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมัน และเปลี่ยนน้ำตาลในร่างกายไปเป็นไขมัน ถ้าตับอ่อนผลิตสารอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลย น้ำตาลก็จะตกค้างอยู่ที่กระแสเลือดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน
โดยมีความเชื่อมโยงระหว่างผู้ป่วยโรคเบาหวานและสาเหตุอื่น ๆ ของตับอ่อน เช่น ป่วยเป็นโรคตับอ่อนอักเสบและโรคมะเร็งตับอ่อน โดยโรคตับอ่อน 2 ประเภท ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน มีดังนี้
- ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า หรือเบียร์เป็นประจำ จะมีความเสี่ยงที่จะมีอาการของโรคนี้สูง หรือเป็นผลข้างเคียงจากโรคพิษสุราเรื้อรัง หากปล่อยให้เกิดอาการของโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรังเป็นเวลานานเป็นปี และไม่สามารถรักษาได้ทันท่วงที จะทำให้เนื้อเยื่อและเซลล์ตับอ่อนได้ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านการย่อยอาหาร และเป็นโรคเบาหวานได้ และถ้าหากเป็นเรื้อรังต่อไปมีโอกาสกลายเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนได้
โรคมะเร็งตับอ่อน เป็นประเภทของมะเร็งที่มีอัตราเสียชีวิตจากโรคสูงเป็นอันดับ 4 ของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั้งหมด โดยผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน ได้แก่ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง และเกิดจากพันธุกรรม
และนอกจากตับอ่อนอักเสบจะก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ดังกล่าวแล้ว และก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ และนี่คือการดูแลตับอ่อนของคุณก่อนโรคเบาหวานจะถามหา
การดูแลตับอ่อน
นอกจากตับอ่อนอักเสบจะก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ดังกล่าวแล้ว และก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ และนี่คือการดูแลตับอ่อนของคุณก่อนโรคเบาหวานจะถามหา
- หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวานและมีไขมันสูง
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุงตับอ่อน ได้แก่
● ผักและผลไม้ใบเขียวเข้ม (เช่น ผักโขม คะน้า) หรือเส้นใยอาหารสูง (เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลเกรน)
● พืชผักตระกูลแอลเลียม (Allium) ได้แก่ กระเทียม หอมใหญ่ หอมเล็ก ต้นกระเทียม และพืชผักประเภทนี้มีสารต่อสารอนุมูลอิสระอันดับต้น ๆ โดยมีสารฟลาโวนอยด์ วิตามินซี ซิลีเนียม กำมะถัน ที่มีผลดีอย่างมากต่อการสร้างเนื้อเยื่อตับอ่อน และยังมีคุณสมบัติต่อสารก่อมะเร็ง รวมทั้งการป้องกันโรคหัวใจวายเฉียบพลันและเส้นเลือดในสมองตีบหรืออุดตัน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พร้อมควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- หากจะงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เพื่อการรักษาตับอ่อน สำหรับผู้ที่เสพติดมานานอย่างดหรือเลิกอย่างกะทันหันเพราะจะเกิดผลข้างเคียง และควรอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์
- บุคคลทั่วไปควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ (อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง)
ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน นอกจากการรับประทานอาหารที่หวานและมันจัดที่คุณรับประทานเป็นประจำแล้ว อาจมีสาเหตุจากโรคตับอ่อนตามที่กล่าวมานี้ ที่สำคัญโรคเบาหวานไม่ได้ส่งผลต่อระบบหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่มันมีโอกาสที่จะสร้างผลกระทบไปทั่วร่างกาย ที่จะทำให้เกิดปัญหาโรคแทรกซ้อนตามมา ดังนี้
โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน
โรคหัวใจ
น้ำตาลในเลือดสูงจากโรคเบาหวานสามารถทำลายหลอดเลือดและเส้นประสาทที่ควบคุมระบบหัวใจและหลอดเลือด และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนด้านสุขภาพได้อีก ได้แก่
- ภาวะความดันโลหิตสูง
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
- ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง
โรคไต
หากน้ำตาลในเลือดสูงจะทำลายเซลล์หลอดเลือดในไตเสียหาย จึงส่งผลต่อประสิทธิภาพการกรองของเสียทางไต หากปล่อยไว้โดยรักษาไม่ทันท่วงทีจะส่งผลให้เซลล์หลอดเลือดในไตเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง จะส่งผลทำให้เกิดโรคไตวายได้
ระบบเส้นประสาทเกิดความเสียหายกับความรู้สึกที่กำลังหายไป
ระดับน้ำตาลในเลือดสูงยังสามารถทำลายระบบเส้นประสาททั่วร่างกาย ตั้งแต่เส้นประสาทหัวใจ กระเพาะอาหาร ระบบการเคลื่อนไหว เช่น แขน ขา นิ้วมือนิ้วเท้า ข้อต่อต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มสูงที่จะเสี่ยงต่อภาวะสูญเสียความรู้สึก โดยมักจะมีอาการชาไปจนถึงอาการอัมพฤกษ์-อัมพาต ที่อาจรับความรู้สึกเจ็บที่เป็นสัญญาณเตือนจากการกระทบกับของแข็ง ของมีคม ความร้อน และแมลงสัตว์กัดต่อยได้ เป็นต้น ที่จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานอาจเกิดร่องรอยการฟกช้ำโดยไม่รู้ตัวไปจนถึงบาดแผลที่มีอาการอักเสบเรื้อรังและรุนแรง หากรักษาไม่ทันท่วงที อาจเสี่ยงต่อเกิดการลุกลามไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือด ที่เป็นสาเหตุที่แพทย์ของคุณอาจจะต้องตัดสินใจตัดอวัยวะที่มีความเสี่ยงนั้นทิ้งไป
ความผิดปกติของระบบการกระเพาะอาหาร
ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้าเรื้อรัง (Gastroparesis) ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมาเป็นเวลานานมักจะพบภาวะนี้ โดยจะมีอาการกระเพาะอาหารเกิดการบีบรัดตัวตลอดเวลาแม้จะไม่มีอาหาร และส่งผลเกิดระดับน้ำตาลในเลือดแปรปรวน เนื่องจากเชื่อมโยงจากระบบประสาทกระเพาะอาหารที่ถูกทำลายไป จึงทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดอาการจุกเสียดท้อง ท้องอืด มีความรู้สึกเบื่ออาหาร มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นกรดไหลย้อน
ความเสื่อมของระบบประสาททางเดินกระเพาะปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์
จะเกิดปัญหาในเรื่องการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศก่อนวัยทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ความแปรปรวนของฮอร์โมน การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะจากการปัสสาวะบ่อยเกินปกติ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และในเพศหญิงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคติดเชื้อทางกระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะการติดเชื้อยีสต์มากกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน เนื่องจากเชื้อยีสต์จะสามารถเจริญเติบโตได้ง่ายเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาการติดเชื้อนี้อาจะจะลามไปสู่ระบบไตได้
ปัญหาสุขภาพช่องปาก
การที่น้ำตาลในเลือดสูงจะเป็นแหล่งอาหารและเพาะพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้เป็นอย่างดี เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้จึงสามารถเพิ่มจำนวนได้มากเป็นหลายเท่าเมื่อเทียบกับตอนมีสุขภาพดี และสร้างกรดกัดเนื้อฟัน และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเป็นโรคฟันพุได้ง่าย รวมถึงการมีแนวโน้มการเป็นโรคเหงือกอักเสบตามมาด้วย
สูญเสียการได้ยิน
อาการสูญเสียการได้ยินในผู้ป่วยเบาหวานพบได้บ่อยเป็น 2 เท่า ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เป็น และพบได้กับผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรังที่เป็นมานาน เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง สามารถทำลายหลอดเลือดขนาดเล็กและเส้นประสาทในหูชั้นในได้ นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อการทรงตัวของคุณ อาการสูญเสียการได้ยินจากโรคเบาหวานมักเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนคุณอาจไม่รู้ว่าคุณกำลังจะมีปัญหาในการได้ยิน
สูญเสียการมองเห็น
เบาหวานขึ้นตาเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่พบบ่อยมาก และเป็นสาเหตุสำคัญของการตาบอดในผู้ป่วยเบาหวานระยะรุนแรง เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงและความดันโลหิตสูงสามารถทำลายหลอดเลือดขนาดเล็กในเรตินา (เนื้อเยื่อชั้นบาง ๆ ของเซลล์รับภาพที่อยู่ด้านหลังของลูกตา) ที่ทำให้หลอดเลือดเหล่านั้นมีการขยายตัวไม่ปกติและเปราะบาง ที่จะมีแนวโน้มเป็นโรคต้อกระจก (การขุ่นมัวของเลนส์ตา) และต้อกระจก (กลุ่มของโรคที่ทำลายเส้นประสาทตา)
โรคเบาหวานมีความเชื่อมโยงกับตับอ่อนและฮอร์โมนอินซูลิน เช่น เมื่อตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินน้อยเกินไปหรือไม่สามารถผลิตได้จากการที่ตับอ่อนเกิดโรคหรือความเสียหาย หรือระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติที่เกิดการต่อต้านอินซูลิน ที่จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุอาการของโรคเบาหวาน ประเภทที่ 1
ที่ต้องระวัง! เมื่อเวลาผ่านไปเมื่อคุณเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างซ้ำ ๆ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวานควรติดตามระดับน้ำตาลสะสมในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
ภาวะเรื้อรังบางอย่าง เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ โรคมะเร็งตับอ่อน จากสาเหตุทางพันธุกรรมหรือประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเบาหวาน หรือการใช้ชีวิต เช่น เสพติดอาหารหรือเครื่องดื่มรสหวานมัน สูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นโรคอ้วน ขาดการออกกำลัง พักผ่อนไม่เพียงพอ และเกิดโรคเครียด เป็นต้น เหล่านี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ประเภทที่ 2
บุคคลอาจสามารถป้องกันโรคเบาหวาน ประเภทที่ 2 ได้โดยการงดสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกายเป็นประจำ พร้อมกับรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นต้น
ทั้งโรคเบาหวาน ประเภทที่ 1 และ 2 เป็นภาวะด้านสุขภาพที่สามารถจัดการและรับมือได้ โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการใช้ยารักษาภายใต้การดูแลจากแพทย์ของคุณ
สรุป
โรคเบาหวานมีความเชื่อมโยงกับตับอ่อนและฮอร์โมนอินซูลิน เช่น เมื่อตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินน้อยเกินไปหรือไม่สามารถผลิตได้จากการที่ตับอ่อนเกิดโรคหรือความเสียหาย หรือระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติที่เกิดการต่อต้านอินซูลิน ที่จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการของโรคเบาหวาน ประเภทที่ 1
ที่ต้องระวัง! เมื่อเวลาผ่านไปเมื่อคุณเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างซ้ำ ๆ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวานควรติดตามระดับน้ำตาลสะสมในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
ภาวะเรื้อรังบางอย่าง เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ โรคมะเร็งตับอ่อน จากสาเหตุทางพันธุกรรมหรือประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเบาหวาน หรือการใช้ชีวิต เช่น เสพติดอาหารหรือเครื่องดื่มรสหวานมัน สูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นโรคอ้วน ขาดการออกกำลัง พักผ่อนไม่เพียงพอ และเกิดโรคเครียด เป็นต้น เหล่านี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ประเภทที่ 2
บุคคลอาจสามารถป้องกันโรคเบาหวาน ประเภทที่ 2 ได้โดยการงดสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกายเป็นประจำ พร้อมกับรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นต้น
ทั้งโรคเบาหวาน ประเภทที่ 1 และ 2 เป็นภาวะด้านสุขภาพที่สามารถจัดการและรับมือได้ โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการใช้ยารักษาภายใต้การดูแลจากแพทย์ของคุณ
ขอขอบคุณข้อมูล :
นทพ. ชาญเวช ตันติกัลยาภรณ์ , นักเทคนิคการแพทย์
: https://www.pathlab.co.th/health-pancreas-prevent-diabetes/