โปรแกรมบำบัดตามขั้นตอนช่วยลดอาการข้อเข่าเสื่อม

Ann Intern Med 2020 Dec 29

การศึกษาแสดงให้เห็นประโยชน์ของโปรแกรมกายภาพบำบัดและออกกำลังกายตามขั้นตอนเพื่อส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกาย ในการลดอาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อม
    อาการปวดหัวเข่าที่มีสาเหตุจากโรคข้อเข่าเสื่อม (osteoarthritis: OA) ลดลงได้ด้วยกายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย (NEJM JW Gen Med May 15 2020 และ N Engl J Med 2020; 382:1420) อย่างไรก็ตาม แพทย์มักจะไม่สั่งให้ใช้กายภาพบำบัดหรือการบำบัดแบบนี้มีให้จำกัด และผู้ป่วยมักจะไม่สนใจโปรแกรมการออกกำลังกาย
    ในการศึกษากับกระทรวงทหารผ่านศึก สหรัฐอเมริกา คณะผู้วิจัยได้ประเมินการรักษาด้วยการบำบัดทีละขั้น ซึ่งเริ่มด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายจากอินเตอร์เน็ต  หลังจากนั้น 3 เดือน ผู้เข้าร่วมการศึกษาที่ยังไม่ถึงเกณฑ์การตอบสนองขยับต่อไปขั้นที่ 2 คือ การสอนทางโทรศัพท์ทุกสองสัปดาห์เพื่อแก้ไขอุปสรรคต่อการออกกำลังกาย  หลังจากทำในขั้นที่ 2 ผ่านไป 3 เดือน  ผู้ที่ยังไม่มีผลตอบสนองจะก้าวขึ้นไปขั้นที่ 3 คือ พบกับนักกายภาพบำบัดโดยส่วนตัว
    ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมและแจ้งว่าตนมีอาการปวดเข่าประมาณ 350 คน (มีคะแนน ≥3 บนบนมาตรวัดที่มี 10 คะแนน) ได้รับการสุ่ม (ในอัตราส่วน 2:1) ให้เข้ารับการบำบัดทีละขั้นหรือให้อยู่ในกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับเพียงคู่มือการศึกษาผ่านทางเมล์  พบว่าในกลุ่มที่รับการบำบัด ผู้ป่วยร้อยละ 65 ขยับไปขั้นที่ 2 และร้อยละ 35 ขยับขึ้นไปขั้นที่ 3
    หลังจากการติดตามเป็นเวลา 9 เดือน     คะแนนเฉลี่ย WOMAC (ซึ่งประเมินอาการปวด ภาวะฝืดแข็ง และการทำหน้าที่เคลื่อนไหว ซึ่งมีระดับคะแนนตั้งแต่ 0-96) เพิ่มขึ้น 5.5 คะแนนในกลุ่มที่รับการบำบัด เปรียบเทียบกับ กลุ่มควบคุมที่คะแนนแย่ลง 1.4
    การศึกษานี้ได้เพิ่มข้อมูลที่แสดงว่า กายภาพบำบัดมีประสิทธิผลปานกลางในการจัดการกับโรคข้อเข่าเสื่อม ผลการค้นพบที่แสดงว่า โปรแกรมทางอินเตอร์เน็ทและการสอนด้วยความจริงเสมือนอาจช่วยผู้ป่วยร้อยละ 65 แทนที่จะไปพบกับนักกายภาพบำบัด ถือว่ามีความสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าถึงกายภาพบำบัดหรือผู้ที่ลังเลที่จะออกไปบำบัดนอกบ้าน โดยเฉพาะในระหว่างที่มีการระบาดของโรคโควิด-19