การศึกษาพบว่าสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลันแบบออกซิเจนในเลือดพร่อง มีอัตราการตายไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าเป้าหมายการให้ออกซิเจนจะต่ำหรือสูงก็ตาม จากรายงานการศึกษาที่เผยแพร่ใน New England Journal of Medicine
Dr. Olav L. Schjørring จาก Aalborg University Hospital ในประเทศเดนมาร์กและคณะผู้ร่วมงานได้ศึกษาผู้ใหญ่ 2,928 คนที่เข้ารักษาตัวในห้องผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลันแบบออกซิเจนในเลือดพร่อง (acute hypoxemic respiratory failure) เมื่อไม่นานมานี้ โดยสุ่มให้ได้รับออกซิเจนบำบัดซึ่งตั้งเป้าหมายความดันบางส่วนของออกซิเจนในหลอดเลือดแดงที่ 60 mm Hg หรือ 90 mm Hg (ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับออกซิเจนต่ำ จำนวน 1,441 คน และกลุ่มได้รับออกซิเจนสูง จำนวน 1,447 คน) เป็นเวลาสูงสุด 90 วัน
คณะผู้วิจัยได้พบว่า ณ 90 วัน มีผู้ป่วยร้อยละ 42.9 และ 42.4 ในกลุ่มที่ได้รับออกซิเจนต่ำและสูงตามลำดับเสียชีวิต (อัตราความเสี่ยงที่ปรับแล้ว คือ 1.02; ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เท่ากับ 0.94 ถึง 1.11; P = 0.64)
ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่ม ณ 90 วัน ทั้งในอัตราส่วนร้อยละของจำนวนวันที่ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่โดยไม่ต้องมีการช่วยชีวิต หรือในอัตราส่วนของจำนวนวันที่ผู้ป่วยมีชีวิตหลังออกจากโรงพยาบาล ทั้งสองกลุ่มมีผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก, เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial ischemia), โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (ischemic stroke), หรือภาวะลำไส้ขาดเลือด (intestinal ischemia) ในอัตราส่วนเท่าๆ กัน (P = 0.24)
“การค้นพบของเราให้น้ำหนักกับการใช้ประโยชน์จากออกซิเจนบำบัดแบบเดิมในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวแบบออกซิเจนในเลือดพร่อง” ผู้เขียนรายงานระบุ
ลดเป้าหมายการให้ออกซิเจนไม่ลดการตายจากการหายใจล้มเหลว
NEJM, HealthDay News