รักษาแผลคีลอยด์อย่างไรให้หายแบบไม่ทิ้งรอย

เมื่อเรามีเหตุเจ็บไข้ไม่สบายต้องผ่าตัด หรือเกิดอุบัติเหตุที่ไม่ได้ตั้งใจจนทำให้กลายเป็นรอยแผลเป็น บางครั้งอาจสังเกตได้ว่ารอยแผลเป็นนั้นไม่ได้หายไปไหน แต่ทิ้งร่องรอยเป็นก้อนนูนที่เห็นได้ชัด แผลเป็นในลักษณะนี้ คือ แผลเป็นคีลอยด์ ที่ทำให้หลาย ๆ คนหมดความมั่นใจ


ชวนมาทำความรู้จักกับแผลเป็นนูนที่สร้างปัญหากวนใจ พร้อมแนวทางการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยตัวเอง กับการเลือกใช้ยาลดรอยแผลเป็นที่เหมาะสม


แผลคีลอยด์ คืออะไร มีลักษณะเป็นอย่างไร?
แผลคีลอยด์ คือ รอยแผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีการขยายใหญ่ออกนอกขอบเขตของบาดแผลจนกลายเป็นแผลนูน ซึ่งแผลคีลอยด์นั้นจะมีสีที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล เช่น สีแดง สีช้ำอมม่วง หรือสีดำคล้ำ บางครั้งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บ คัน และรู้สึกตึงที่รอยแผล โดยปกติแล้วแผลคีลอยด์มักไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ต่อร่างกาย แต่มักทำให้ผู้ที่มีรอยแผลเป็นชนิดนี้เกิดความไม่มั่นใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นบริเวณที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน เช่น มือ แขน หรือแม้กระทั่งบนใบหน้า


แผลคีลอยด์ เกิดขึ้นได้อย่างไร?
โดยปกติแล้วเมื่อเราเกิดบาดแผล ร่างกายจะทำการรักษาตามกระบวนการธรรมชาติด้วยการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจนขึ้นมาเพื่อซ่อมแซม จากนั้นบาดแผลจะเริ่มสมานกันและยุบตัวลง ซึ่งแผลคีลอยด์นั้นเกิดจากความผิดปกติของกระบวนการซ่อมแซมบาดแผล ทำให้ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจนมากเกินไปจนกลายเป็นแผลนูนขึ้นมา


ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลคีลอยด์
ปัจจุบันสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลคีลอยด์ในแต่ละบุคคลยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด แต่เชื่อว่ามักเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- สีผิว แผลคีลอยด์มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีผิวสีเข้มมากกว่าผิวขาว
- พันธุกรรม สำหรับใครที่คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นแผลคีลอยด์มาก่อน ก็มีโอกาสที่จะเกิดแผลคีลอยด์ได้มากกว่าปกติ
- ตำแหน่งที่เกิดบาดแผล บริเวณหัวไหล่ หลัง หน้าอก และใบหู เป็นตำแหน่งที่มีโอกาสเกิดแผลคีลอยด์ได้มากกว่าส่วนอื่น ๆ


แผลคีลอยด์ สามารถรักษาได้ด้วยวิธีใดบ้าง?
- รักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์
การฉีดยาสเตียรอยด์เป็นวิธีมาตรฐานที่นิยมใช้ในการรักษาแผลคีลอยด์ โดยเป็นการฉีดตัวยา Triamcinolone acetonide เข้าไปยังบริเวณที่เป็นแผลคีลอยด์ ซึ่งยาชนิดนี้จะช่วยลดการอักเสบและยับยั้งการทำงานของเซลล์ผิว ทำให้แผลอ่อนนุ่มขึ้นและค่อย ๆ ยุบตัวลง รวมถึงช่วยบรรเทาอาการคันและการอักเสบ หากใครที่สงสัยว่าหลังจากฉีดคีลอยด์แล้วกี่วันหาย ปกติแล้วในการฉีดจะมีการเว้นระยะห่างประมาณ 4-6 สัปดาห์ เมื่อรอยแผลเป็นดีขึ้นแล้วจึงสามารถเว้นระยะห่างในการเข้ารับการรักษาได้ตามความเหมาะสม ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา
- รักษาด้วยตัวเอง
อีกหนึ่งวิธีในการรักษาแผลคีลอยด์ก็คือ การรักษาด้วยตัวเอง ซึ่งจะต้องเริ่มรักษาตั้งแต่ช่วงที่เกิดบาดแผลเพื่อป้องกันไม่ให้แผลมีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมกับดูแลอย่างถูกวิธี รวมถึงการเลือกใช้ยาลดรอยแผลเป็นในแบบเนื้อเจลซิลิโคนที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับการรักษาแผลคีลอยด์โดยเฉพาะ

แนวทางการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยตัวเอง
1. เริ่มดูแลแผลตั้งแต่ช่วงที่แผลเริ่มแห้ง
เมื่อร่างกายของเราเกิดบาดแผล กระบวนการรักษาแผลตามธรรมชาติจะเกิดขึ้นทันที ดังนั้น เมื่อไรก็ตามที่สังเกตได้ว่าแผลเริ่มแห้ง สิ่งที่ควรทำก็คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือลูบบริเวณแผลบ่อย ๆ รวมถึงไม่แกะสะเก็ดแผล เพราะอาจทำให้กระบวนการซ่อมแซมแผลทำงานผิดปกติได้ จากนั้นให้หมั่นทาด้วยยาลดรอยแผลเป็นเนื้อเจลซิลิโคน เพราะเนื้อเจลซิลิโคนนั้นจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้กระบวนการรักษาแผลสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. ปิดด้วยผ้าพันแผล
การปิดด้วยผ้าพันแผลเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันไม่ให้แผลนูนขึ้น โดยการใช้เทปพันแผลหรือผ้ายืดสำหรับพันแผลปิดทับลงไปให้แนบสนิทกับผิวหนัง ควรหมั่นเปลี่ยนเทป/ผ้า และหมั่นทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหมักหมมของสิ่งสกปรก
3. ปิดด้วยแผ่นเจลซิลิโคน
นอกจากการใช้เทปหรือผ้าพันแผลแล้ว อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยรักษาแผลคีลอยด์ได้ก็คือ การปิดแผลด้วยแผ่นเจลซิลิโคน เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแผล โดยจะต้องปิดอย่างต่อเนื่องวันละ 12-24 ชั่วโมง เป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 เดือน เพราะปกติแล้วแผลคีลอยด์มักมีโอกาสเกิดขึ้นได้ภายใน 3 เดือน
4. ป้องกันแผลจากแสงแดด
การปกป้องแผลจากแสงแดดจะช่วยลดโอกาสการเจริญเติบโตของแผลและป้องกันไม่ให้รอยแผลเป็นมีสีดำคล้ำจนรักษาได้ยาก สามารถทำได้ด้วยการทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอหลังจากที่แผลแห้งแล้ว หรือปกปิดแผลด้วยผ้าพันแผลเพื่อป้องกันไม่ให้แผลเผชิญกับแสงแดดโดยตรง โดยควรทำอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าแผลจะไม่นูนขึ้นและไม่เปลี่ยนสี

            ในการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยตัวเองนั้น สิ่งสำคัญ คือ การเลือกใช้ยาที่มีประสิทธิภาพและมีคุณสมบัติเหมาะสำหรับการป้องกันแผลคีลอยด์โดยเฉพาะ ขอแนะนำ ยาลดรอยแผลเป็น Provamed Scar Silicone ยาเนื้อเจลซิลิโคนที่สามารถใช้รักษาแผลจากอุบัติเหตุ แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และยังสามารถใช้ได้กับแผลที่เกิดจากการผ่าตัด ผ่าคลอด ศัลยกรรมทุกชนิด เป็นยาเนื้อเจลใส ไม่เหนียวเหนอะหนะ มีส่วนผสมของนวัตกรรมโปรตีนจากพืช (plant-Epidermal Growth Factor) ที่ใกล้เคียงกับโปรตีนในผิว ช่วยให้รอยแผลเป็นค่อย ๆ อ่อนนุ่ม

ข้อมูลอ้างอิง :


- https://www.phyathai.com/article_detail/3538/th/บอกลา_แผลคีลอยด์_โดยไม่ทิ้งร่องรอยของความเจ็บปวด


- https://www.mfuhospitalbkk.com/17308669/แผลคีลอยด์รักษาอย่างไร


ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล :www.provamed.co.th