ผลของมลพิษทางอากาศในเขตเมือง PM2.5

นพ.ยุทธนา อภิชาตบุตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อายุรกรรมโรค
นพ.ศิระ เลาหทัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยศาสตร์ทรวงอกเ
โรงพยาบาลวชิรพยาบาล

ช่วงนี้หลาย ๆ จังหวัดโดยเฉพาะในเขตเมืองของพื้นที่ภาคเหนือ อย่างจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และอีกหลาย ๆ จังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร กำลังประสบปัญหามลภาวะทางอากาศที่มีความรุนแรงมากขึ้น

          ช่วงนี้หลาย ๆ จังหวัดโดยเฉพาะในเขตเมืองของพื้นที่ภาคเหนือ อย่างจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และอีกหลาย ๆ จังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร กำลังประสบปัญหามลภาวะทางอากาศที่มีความรุนแรงมากขึ้น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่าปัญหามลภาวะทางอากาศเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในลำดับที่ 5 ประชากรที่เสียชีวิตในโลกจำนวน 4.2 ล้านคนมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องจากปัญหามลพิษทางอากาศ ในช่วงที่ผ่านมา ผู้คนในสังคมให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างมาก
โดยปัญหามลพิษทางอากาศในปัจจุบันองค์การอนามัยโลก ที่พบบ่อยเป็นลักษณะแบบ Particulate matter (PM) เป็นฝุ่นละอองที่มีทั้งของเหลวและของแข็ง ซึ่งเป็นโลหะพิษ (toxic compound) และสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon) แขวนลอยในอากาศโดยที่ผิวของฝุ่นละอองจะมีโลหะพิษผสมอยู่เช่น สารหนู (arsenic)ตะกั่ว (lead)แคดเมียม (cadmium) ส่งผลให้มีสภาพความเป็นกรดที่ผิวของฝุ่นละออง การแยกชนิดของฝุ่นละอองขนาดเล็กแบ่งตามขนาดออกได้เป็น 4 ประเภทโดยขนาดยิ่งเล็กเท่าไรยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ
          โดยพบว่าฝุ่นละอองขนาด > 5 μmจะเกาะติดบริเวณช่องปาก คอ และลิ้น ไม่ลงไปสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการคัดจมูก แสบตา เจ็บคอ จาม ฝุ่นละอองที่มีขนาด 2.5 - 5 μmจะสามารถลงไปจนถึงหลอดลม (trachea) และขั้วปอดส่วนต้น (bronchus) ก่อให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวผู้ป่วยจะมีอาการ ไอ หอบเหนื่อยมากขึ้นในผู้ป่วยโรคหืด (asthma) และ ในกรณีของฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 μmจะสามารถลงไปจนถึงหลอดลมฝอย (respiratory bronchiole) และ ถุงลม (alveoli) ได้

สาเหตุของการเกิดมลพิษทางอากาศ
          นพ.ยุทธนา อภิชาตบุตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อายุรกรรมโรคปอดโรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ รายงานในปี 2561 ว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม รวมไปถึงยานพาหนะก่อให้เกิดฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 μm (PM 2.5) โดยสาเหตุมักเกิดจากการเผาไหม้ในที่โล่งในทางเกษตรกรรม การเผาไหม้น้ำมันดิบ ไอเสียรถยนต์ดีเซล การเผาไหม้ในเตาเผาครัวเรือน
กระบวนการวัดค่าฝุ่นละอองในอากาศ และดัชนีอากาศ
          การรายงานระดับความรุนแรงของมลพิษในอากาศจะรายงานเป็นภาพรวม โดยรวมเอา particulate matter (PM 10, PM 2.5), carbon monoxide (CO), ozone (O3), nitrogen dioxide (NO2) และ sulfur dioxide (SO2) มาคำนวณเรียกว่า Air Quality Index (AQI) โดย AQI ในประเทศไทยจะแบ่งเป็น 5 ระดับโดยระดับสูงสุด คือ AQI ที่มากกว่า 201 ขึ้นไป(ดูเทียบจากตารางที่ 2) และ ตารางที่ 3 ในเรื่องของค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่เทียบเท่ากับค่าดัชนีคุณภาพอากาศ โดยค่าเฉลี่ย PM 2.5 นั้น จะรายงานเป็นค่าเฉลี่ยต่อเนื่อง โดยระดับที่เกิน 50 μg/m3เป็นระดับที่ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษหรือผู้มีโรคประจำตัวควรลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง และใช้หน้ากากอนามัย หรือหน้ากาก N95โดยสีเตือนนั้นจะใช้สีส้ม และถ้าค่า PM 2.5 เกิน 90 μg/m3สีเตือนเป็นสีแดง จะเริ่มมีผลเสียทางสุขภาพต่อประชาชนทั่วไปควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากาก N95 และหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด



ผลของฝุ่นละอองขนาดเล็กต่อสุขภาพอนามัย
          PM 2.5 นั้น ส่งผลทำให้การต่อต้านอนุมูลอิสระลดลง ธาตุโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง วาเนเดียม และแมงกานีส บนผิว PM 2.5 ทำให้เกิด ROS และ RNS ภายในเซลล์ ทำให้ความแข็งแรงของเซลล์ ลดลงเกิดการตายของเซลล์ นำไปสู่การอักเสบของเนื้อเยื่อ และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ผิดปกติโดยฝุ่นละอองขนาดเล็กกับระบบทางเดินหายใจนั้นอาจก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้กำเริบได้โดยเฉพาะในส่วนโรคระบบทางเดินหายใจ และ ยังส่งผลทำให้มีอัตราการเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ โรคหอบหืด(asthma) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(chronic obstructive pulmonary disease) ปอดติดเชื้อ (pneumonia) โดยเฉพาะกลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังพบว่าอัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นในระดับของ PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้น
          ผลของฝุ่นละอองต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดส่งผลทำให้ระบบเยื่อบุหลอดเลือดผิดปกติ (vascular endothelial dysfunction) ซึ่งก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดแข็งตัว (atherosclerosis) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจโต และหัวใจวาย ส่วนผลของ ฝุ่นละอองกับการเกิดโรคมะเร็งฝุ่น PM 2.5 มีความเป็นพิษต่อยีน (genotoxic) โดยตรงทำให้สารพันธุกรรมเสียหาย (DNA damage) โดยสัมพันธ์กับการก่อให้เกิดมะเร็งปอด นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบถึงระบบอื่นๆ เช่น ระบบไต ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาทส่วนกลางและ อื่นๆ

แนวทางการป้องกันและแก้ไขฝุ่นละอองขนาดเล็ก
          นพ.ศิระ เลาหทัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านโรคปอดโรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า มาตรการรณรงค์เพื่อป้องกันและลดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ในระยะยาว ควรรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชน โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กทารก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น) ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำในการ ลด ละ เลิก กิจกรรมกลางแจ้งเมื่อมีคำเตือน และใช้หน้ากากอนามัย หรือหน้ากาก N95ถ้ามีความจำเป็นต้องสัมผัสฝุ่นละออง โดยฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 μmสามารถลงไปจนถึงถุงลมปอดก่อให้เกิดปัญหาทางเดินหายใจและเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น แนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสังคมเช่น ควบคุมการใช้ยานพาหนะที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์การเผาไหม้ทางเกษตรกรรมโรงงานอุตสาหกรมที่ปล่อยควันเสีย เป็นต้นสำหรับประชาชนทั่วไปการติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในช่วงเวลาที่เกิดปัญหามลพิษทางอากาศมากๆเช่น ช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงมีนาคมเพื่อลดโอกาสสูดเอาฝุ่นละอองดังกล่าวเข้าปอด