ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะแนวทางพัฒนานโยบายมะเร็งรักษาทุกที่

www.medi.co.th

ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนวทางพัฒนานโยบายมะเร็งรักษาทุกที่ Cancer Anywhere แนะสร้างเครือข่ายหน่วยบริการใน กทม. เพิ่มน้ำหนักการคัดกรองและรักษาตั้งแต่เป็นมะเร็งระยะแรกเริ่ม รวมทั้งให้คำแนะนำผู้ป่วยถึงทางเลือกการดูแลระยะสุดท้ายสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเข้าสู่กระบวนการรักษา


นพ.ธีระชัย ทรงเกียรติกวิน รองประธานกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขามะเร็ง กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ความเห็นถึงแนวทางการปรับปรุงพัฒนานโยบายมะเร็งรักษาที่ไหนก็ได้ (Cancer Anywhere) ว่า ปัญหาโรคมะเร็งมีหลายมิติ นโยบาย Cancer Anywhere เป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องการเข้าถึงบริการ แต่เป็นเรื่องปกติที่เมื่อแก้ปัญหาหนึ่งแล้วก็จะเจออีกปัญหาหนึ่งแทน ยกตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ กทม. มีการตั้งสมมุติฐานว่าคนไข้จากภูมิภาคไหลเข้า กทม. แต่ถ้าดูตัวเลขผู้ป่วยในภูมิภาคก็ไม่ได้ลดลง เพราะฉะนั้น อาจเป็นคนไข้ที่อยู่ใน กทม.อยู่แล้ว แต่ไม่สามารถเข้าสู่ระบบการรักษาได้ แต่เมื่อมีนโยบายนี้จึงมีโอกาสเข้าถึงการรักษามากขึ้น


อย่างไรก็ดี ดังที่กล่าวไปว่านโยบาย Cancer Anywhere แก้ปัญหาการเข้าถึงบริการแต่ไม่ได้แก้ปัญหาทั้งหมดของระบบ อย่างในพื้นที่ กทม. มีความซับซ้อน มีหน่วยบริการจากหลายสังกัด การดำเนินการในด้านนี้จึงสู้ในภูมิภาคไม่ได้เพราะในภูมิภาคทำงานกันเป็นเครือข่าย มีการนำระบบต่างๆเข้ามาแก้ปัญหาความแออัดของผู้ป่วย ทั้งระบบการส่งกลับ ระบบเทเลเมดิซีน ระบบส่งยาไปถึงบ้าน ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ หน่วยบริการใน กทม. เช่นโรงเรียนแพทย์ต่างๆ อาจจำเป็นต้องมาหารือเพื่อสร้างระบบเครือข่ายบริการร่วมกัน ไม่เช่นนั้นถ้าผู้ป่วยแออัด คิวการรักษาก็จะนานขึ้น ผู้ป่วยก็จะเข้าไม่ถึงการรักษาเหมือนเดิม

ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนวทางพัฒนานโยบายมะเร็งรักษาทุกที่ Cancer Anywhere แนะสร้างเครือข่ายหน่วยบริการใน กทม. เพิ่มน้ำหนักการคัดกรองและรักษาตั้งแต่เป็นมะเร็งระยะแรกเริ่ม รวมทั้งให้คำแนะนำผู้ป่วยถึงทางเลือกการดูแลระยะสุดท้ายสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเข้าสู่กระบวนการรักษา


นพ.ธีระชัย ทรงเกียรติกวิน รองประธานกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขามะเร็ง กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ความเห็นถึงแนวทางการปรับปรุงพัฒนานโยบายมะเร็งรักษาที่ไหนก็ได้ (Cancer Anywhere) ว่า ปัญหาโรคมะเร็งมีหลายมิติ นโยบาย Cancer Anywhere เป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องการเข้าถึงบริการ แต่เป็นเรื่องปกติที่เมื่อแก้ปัญหาหนึ่งแล้วก็จะเจออีกปัญหาหนึ่งแทน ยกตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ กทม. มีการตั้งสมมุติฐานว่าคนไข้จากภูมิภาคไหลเข้า กทม. แต่ถ้าดูตัวเลขผู้ป่วยในภูมิภาคก็ไม่ได้ลดลง เพราะฉะนั้น อาจเป็นคนไข้ที่อยู่ใน กทม.อยู่แล้ว แต่ไม่สามารถเข้าสู่ระบบการรักษาได้ แต่เมื่อมีนโยบายนี้จึงมีโอกาสเข้าถึงการรักษามากขึ้น


อย่างไรก็ดี ดังที่กล่าวไปว่านโยบาย Cancer Anywhere แก้ปัญหาการเข้าถึงบริการแต่ไม่ได้แก้ปัญหาทั้งหมดของระบบ อย่างในพื้นที่ กทม. มีความซับซ้อน มีหน่วยบริการจากหลายสังกัด การดำเนินการในด้านนี้จึงสู้ในภูมิภาคไม่ได้เพราะในภูมิภาคทำงานกันเป็นเครือข่าย มีการนำระบบต่างๆเข้ามาแก้ปัญหาความแออัดของผู้ป่วย ทั้งระบบการส่งกลับ ระบบเทเลเมดิซีน ระบบส่งยาไปถึงบ้าน ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ หน่วยบริการใน กทม. เช่นโรงเรียนแพทย์ต่างๆ อาจจำเป็นต้องมาหารือเพื่อสร้างระบบเครือข่ายบริการร่วมกัน ไม่เช่นนั้นถ้าผู้ป่วยแออัด คิวการรักษาก็จะนานขึ้น ผู้ป่วยก็จะเข้าไม่ถึงการรักษาเหมือนเดิม

ด้าน พล.ท.รศ.นพ.วิชัย วาสนสิริ ประธานชมรมศัลยแพทย์มะเร็งประเทศไทย กล่าวว่า ในเรื่องการส่งตัว ควรมีการแจ้งผู้ป่วยว่าจะต้องไปแผนกไหน เพราะบางครั้งผู้ป่วยไปแล้วก็ไม่รู้ว่าต้องไปที่ไหน ถ้ามีการแจ้งให้ชัดเจนก็จะช่วยลดขั้นตอนบางส่วน และในด้านการรักษาด้วยเคมีบำบัด อายุรแพทย์มะเร็งสามารถกำหนดสูตรยาและเมื่อส่งผู้ป่วยกลับไปยังโรงพยาบาลต้นทางและให้แพทย์ในโรงพยาบาลนั้นๆ จัดยาตามสูตรให้ เชื่อว่าจะลดความแออัดได้มากขึ้น ทั้งนี้ สปสช. อาจสนับสนุนในด้านการจัดฝึกอบรมแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนเกี่ยวกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดควบคู่ไปด้วย


ขณะที่ นพ.เพชร อลิสานันท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการเงิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภาการชาดไทย ผู้แทนเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า พัฒนาการด้านการรักษาพยาบาลมีความรวดเร็ว แต่การพิจารณาอัตราการเบิกจ่ายของ สปสช. ยังช้า ทำให้มีข้อจำกัดในการเบิกจ่ายการรักษาด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งประเด็นเรื่องการถูกเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล ซึ่งตนคิดว่าเรื่องนี้เป็นยอดของภูเขาน้ำแข็ง เพราะเชื่อว่ามีการถูกเรียกเก็บมากกว่านี้ และมีคนที่พร้อมจ่าย


“ดังนั้นเราอาจต้องพูดถึงการร่วมจ่ายบางอย่าง หรือถ้าในรายการจ่ายที่จำเป็นก็ขอให้ สปสช. พูดให้ชัดว่าอันไหนจ่าย อันไหนไม่จ่าย อันไหนโรงพยาบาลเรียกเก็บได้ เพราะสิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้คือคนไข้รู้สึกสบายใจที่ไม่ต้องจ่าย แต่เวลาอยู่หน้างาน รายการบางอย่างไม่ได้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์”นพ.เพชร กล่าว

ด้าน ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง และชีวาภิบาล (เยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม) กล่าวว่า จริงๆแล้วมีคนไทยจำนวนมากที่เข้าใจสัจธรรม ถ้าได้คุยตั้งแต่ต้น เราอาจพบว่าผู้ป่วยอาจจะเลือกอยู่กับมะเร็งอย่างสันติตั้งแต่แรก เพราะจากที่ทำงานมา ผู้ป่วยที่ได้คุยด้วย 93% เลือกที่จะอยู่อย่างสบายตายอย่างสงบ


“ข้อเสนอคือต้องหาวิธีทำให้คนเหล่านี้เข้าถึงคำปรึกษาที่เป็นกลางว่าจะทำอย่างไรกับชีวิต ถ้าผู้ป่วยต้องการอยู่อย่างสบายตายอย่างสงบ ก็เข้าสู่กระบวนการดูแลแบบ palliative care ได้เลย ส่วนผู้ที่ต้องการการรักษาก็เข้าสู่กระบวนการรักษาไป วิธีนี้เชื่อว่าจะทำให้ผู้ที่ต้องการการรักษาได้รับการดูแลที่ดีเพราะคิวลดลง ส่วนผู้ที่เข้าสู่ palliative care ก็ไม่ต้องเจ็บปวดกับการรักษา ภาระค่าใช้จ่ายของระบบก็จะลดลง”ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ กล่าว