ก่อนที่ขยะจะเข้าสู่กระบวนการแปรรูป จะต้อง "สิ้นเปลืองพลังงาน" ต่อไปอีกมากมาย จะดีกว่าหรือไม่หากทุกคนเพียงช่วยกันวางแผนจัดการ "คัดแยกก่อนทิ้ง"อาจารย์พัทธจารี กระแสเสน ร่วมกับทีมอาจารย์ประจำหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ประสมรักษ์ อาจารย์ศิริพร ศิริกัญญาภรณ์ และ อาจารย์ ดร.กรกวรรษ ดารุนิกร เจ้าของโครงการและผู้ประสานงานหลัก จัดทำโครงการ "การจัดการขยะแบบเบ็ดเสร็จระดับชุมชนและครัวเรือน" ร่วมเรียนรู้บริบทชุมชน "หมู่บ้านราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี" ซึ่งเป็นชุมชนตัวอย่างที่สามารถ "เปลี่ยนขยะให้เป็นทองคำ"
จากการนำนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ อันเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" ร่วมเรียนรู้การจัดการขยะ "หมู่บ้านราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี" ซึ่งมีรายได้หลักจากการแปรรูปขยะสู่ผลิตภัณฑ์สร้างรายได้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน
เริ่มต้นจากการคัดแยกขยะ โดยนำขยะอินทรีย์ไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ นำไปบำรุงพืชผักสมุนไพรออร์แกนิกที่ปลูกไว้ในพื้นที่ สร้างแหล่งอาหารที่มีคุณภาพให้กับชุมชน และนำผลผลิตไปแปรรูปสานต่อสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อาทิ แชมพูสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพร เป็นต้น ส่วนขยะรีไซเคิลได้ก็ขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้หมู่บ้านราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
อาจารย์พัทธจารี กระแสเสน ร่วมกับทีมอาจารย์ประจำหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ประสมรักษ์ อาจารย์ศิริพร ศิริกัญญาภรณ์ และ อาจารย์ ดร.กรกวรรษ ดารุนิกร เจ้าของโครงการและผู้ประสานงานหลัก จัดทำโครงการ "การจัดการขยะแบบเบ็ดเสร็จระดับชุมชนและครัวเรือน" ร่วมเรียนรู้บริบทชุมชน "หมู่บ้านราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี" ซึ่งเป็นชุมชนตัวอย่างที่สามารถ "เปลี่ยนขยะให้เป็นทองคำ"
จากการนำนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ อันเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" ร่วมเรียนรู้การจัดการขยะ "หมู่บ้านราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี" ซึ่งมีรายได้หลักจากการแปรรูปขยะสู่ผลิตภัณฑ์สร้างรายได้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน
เริ่มต้นจากการคัดแยกขยะ โดยนำขยะอินทรีย์ไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ นำไปบำรุงพืชผักสมุนไพรออร์แกนิกที่ปลูกไว้ในพื้นที่ สร้างแหล่งอาหารที่มีคุณภาพให้กับชุมชน และนำผลผลิตไปแปรรูปสานต่อสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อาทิ แชมพูสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพร เป็นต้น ส่วนขยะรีไซเคิลได้ก็ขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้หมู่บ้านราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
อาจารย์พัทธจารี กระแสเสน กล่าวว่าสาเหตุที่โครงการฯ ให้ความสำคัญต่อ "การคัดแยกขยะ" มาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากมองว่าขยะแต่ละประเภทมีมูลค่าไม่เท่ากัน และหากสามารถสร้างวัฒนธรรมในการนำภาชนะส่วนตัวมาใช้ ตลอดจนนำขยะที่ยังใช้ได้กลับมาใช้ซ้ำ จะช่วยลดปริมาณขยะได้อีกเป็นจำนวนมาก และหากชุมชนมีการจัดการขยะที่ดี เชื่อว่าจะสามารถทำให้เกิดความยั่งยืน ไม่มีขยะตกค้างจนก่อให้เกิดการปนเปื้อน และลดอัตราการเจ็บป่วยของชุมชนในที่สุด
เสริมด้วยข้อเสนอแนะต่อ "การสร้างจิตสำนึก" ที่ อาจารย์ศิริพร ศิริกัญญาภรณ์ ได้กล่าวทิ้งท้ายโดยให้นึกเสมอว่า "การจัดการขยะ เริ่มต้นได้ที่ตัวเรา ขยะที่เราก่อ เราต้องเป็นผู้จัดการเอง ยิ่งคัดแยกได้เร็ว ยิ่งเกิดการปนเปื้อนได้น้อย" โดยหวังให้แนวคิดที่ได้จากการเรียนรู้จากโครงการ "การจัดการขยะแบบเบ็ดเสร็จระดับชุมชนและครัวเรือน" สามารถขยายประโยชน์สู่ชุมชนอื่นๆ และพร้อมผลักดันสู่ระดับนโยบายได้ต่อไปในอนาคต
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210