จักษุแพทย์แนะพ่อแม่หากิจกรรม outdoor ให้ลูกวันละ 2 ชม. ลดเสี่ยงเด็กสายตาสั้น ผู้เชี่ยวชาญเผยเลนส์แว่นตา ‘Stellest’ ชะลอการเพิ่มค่าสายตาสั้นในเด็กโดยเฉลี่ยถึง 67%!

www.medi.co.th

WHO ประกาศประชากรยุคใหม่มีภาวะสายตาสั้นมากกว่า 50% และที่น่าตกใจคือ มีประชากรโลกที่จะสายตาสั้น - 500 หรือ
5 ไดออปเตอร์ จำนวนถึง 1 พันล้านคนในปี 2050 เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่เปลี่ยนไป ใช้สายตาในการทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้และการพักผ่อน เช่น เรียนออนไลน์ ดูยูทูป เล่นเกมส์ ฯลฯ ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนในระยะใกล้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน[1],[2]
จึงส่งผลต่อภาวะเสี่ยงสายตาสั้นในเด็ก


 


            พต.หญิง พญ. ณัฐธิดา วงศ์วีระวัฒน์ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคตาเด็กและกล้ามเนื้อตา (Pediatric ophthalmology and strabismus) หัวหน้าคลินิกสายตาสั้น (Myopia management clinic) ศูนย์ตา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า “เด็กที่มีสายตาสั้นตั้งแต่อายุน้อยมีความเสี่ยงที่จะมีโรคตาตอนอายุมาก มากกว่า เด็กที่สายตาสั้นมาช้า หรือ late onset เพราะการเพิ่มค่าสายตาสั้นจะสะสมไปเรื่อยๆ ไม่ลดลง จนถึงอายุ18 ปี ซึ่งคนที่สายตาสั้นมากก็จะมีความเสี่ยงเป็นโรคตาตอนอายุมากขึ้น เช่น โรคจอประสาทตาหลุดลอก 
ฉีกขาด เสื่อม หรือโรคต้อกระจกต้อหิน ฯลฯ มากกว่าคนที่สายตาสั้นน้อยหลายเท่า


            ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เด็กสายตาสั้นมากน้อยในแต่ละคน มี 4 ปัจจัยหลัก คือ 1. พันธุกรรม ถ้าพ่อแม่สายตาสั้น ลูกก็มีแนวโน้มจะสายตาสั้นได้ 2. เด็กที่คลอดก่อนกำหนดและมีปัญหาจอประสาทตาผิดปกติที่เรียกว่า ROP (Retinopathy of Prematurity) โดยเฉพาะ ได้รับการรักษาด้วย laser หรือฉีดยาเพื่อยับยั้งเส้นเลือดผิดปกติ กลุ่มนี้จะมีสายตาสั้นที่มาได้เร็วและเยอะ 3. เด็กที่มี near work activity หรือกิจกรรมที่ใช้สายตาใกล้ๆ เช่น อ่านหนังสือเยอะ เรียนเยอะ เล่นเกมส์เยอะ และ 4. เด็กที่มี outdoor activity น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน พบว่าการเริ่มสายตาสั้นมาเร็วกว่าเด็กที่มีกิจกรรมกลางแจ้งยาวนานกว่า 2 ชม.ต่อวัน


            สำหรับผู้ปกครองที่มีบุตรหลานสายตาสั้น ต้องการชะลอหรือควบคุมการเพิ่มค่าสายตา หมอแนะนำให้ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เด็กๆ ให้เขาได้มีกิจกรรมกลางแจ้งมากขึ้นเกิน 2 ชม.ต่อวัน และลดกิจกรรมใช้สายตาที่ใกล้ เป็นเวลานานๆ วิธีอื่นๆในการชะลอสายตาสั้นที่ได้การยอมรับทั่วโลก เช่น การหยอดยาชะลอสายตาสั้น การใส่เลนส์แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ


             ที่อยากแนะนำเพิ่มเติมคือการเลือกแว่นสายตาสำหรับเด็ก ในช่วง 6-7 ปีนี้มีการพัฒนาเลนส์แว่นตาหลายรุ่นที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อควบคุมสายตาสั้นได้มากขึ้น เช่น เลนส์แว่นตาเทคโนโลยีใหม่ ที่ใช้หลักการ myopic defocus เป็นทางเลือกที่ดีมาก
ในการชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาในเด็ก เนื่องจากใช้หลักการที่ช่วยชะลอสายตาสั้นได้จริงที่อธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ และมีงานวิจัยรับรองที่ใช้ในเด็กจริงๆ มาหลายปีอย่างต่อเนื่องน่าเชื่อถือได้ ข้อดีคือเป็นวิธีที่ non invasive เมื่อเทียบกับการใช้ยาหยอดตา หรือใช้คอนแทคเลนส์ เพราะฉะนั้นการใส่เลนส์แว่นตาที่ช่วยชะลอการสายตาสั้นที่เป็นเทคโนโลยีใหม่และได้รับการรับรองจาก อย. มีงานวิจัยแน่ชัดแล้ว
จึงเป็นทางเลือกที่ดีมาก”


 


ผู้เชี่ยวชาญแนะ สวมใส่แว่นตา ‘Stellest Lens’ วันละ 12 ชม.ชะลอการเพิ่มสายตาสั้นในเด็ก 67%






[1] Gifford, K. L., Richdale, K., Kang, P., Aller, T. A., Lam, C. S., Liu, Y. M., Michaud, L., Mulder, J., Orr, J. B., Rose, K. A., Saunders, K. J., Seidel, D., Tideman, J., & Sankaridurg, P. (2019). IMI - Clinical Management Guidelines Report. Investigative ophthalmology & visual science, 60(3), M184–M203. https://doi.org/10.1167/iovs.18-25977


 




[2] Wen, L., Cao, Y., Cheng, Q., Li, X., Pan, L., Li, L., Zhu, H., Lan, W., Yang, Z., 2020. Objectively measured near work, outdoor exposure and myopia in children. Br. J. Ophthalmol. https://doi.org/10.1136/bjophthalmol-2019-315258


 



ดร.มายูมิ ฟาง นักทัศนมาตรและผู้จัดการฝ่ายวิชาการและการอบรม บริษัท เอสซีลอร์ลูซอตติกา โฮลเซล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึง เลนส์แว่นสายตา ‘Stellest’ ซึ่งได้รับการรับรองจาก อย. และจัดเป็น Clinical Lens ที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้าที่สุดเพื่อชะลอ
การเพิ่มขึ้นของค่าสายตาในเด็กวัย 8-13 ปี ว่า เลนส์แว่นตา Essilor® StellestTM เป็นโซลูชั่นล่าสุดจาก EssilorLuxottica ในการช่วยควบคุมสายตาสั้นในเด็ก ช่วยชะลอการเพิ่มค่าสายตาสั้นโดยเฉลี่ย 67%[1] เมื่อเทียบกับเลนส์สายตาชั้นเดียวหากสวมใส่วันละ 12 ชั่วโมง โดยมีผลการวิจัยทางคลินิกรองรับ              


เลนส์ Essilor® StellestTM  ช่วยแก้ไขภาวะสายตาสั้น มอบการมองเห็นที่คมชัด ด้วยโซนเลนส์ชั้นเดียว และยังช่วยควบคุมสายตาสั้นด้วยเทคโนโลยี H.A.L.T.[2] ที่มีกลุ่มเลนส์ขนาดเล็ก 1,021 เลนส์ที่ขนาดเล็กจนแทบมองไม่เห็น[3] เพื่อสร้างปริมาตรของสัญญาณแสงด้านหน้าจอประสาทตาของเด็ก ช่วยชะลอการยืดตัวของกระบอกตาด้วยการใส่ติดต่อกันอย่างน้อยวันละ 12 ชั่วโมง ลดความเสี่ยงของโรคตาต่างๆ[4] ที่จะส่งผลต่อการเติบโต การเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็กในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นโรคต้อหิน (Glaucoma), ต้อกระจก (PSCs),
จอประสาทตาลอก (Retinal detachment) และโรคจอประสาทตาเสื่อม (Myopic maculopathy) ซึ่งโรคเหล่านี้อาจนำไปสู่ความบกพร่องทางการมองเห็น[5]


 


ลูกฉันสายตาสั้นหรือยังนะ?


                คุณชนิดา สุวีรานนท์ คุณแม่ของสายลมและก้อนเมฆ จากเพจ ‘เรไรรายวัน’ เล่าถึงการสังเกตสายตาสั้นในลูกๆ ว่า “ตอนแรกเราไม่รู้ว่าลูกสายตาสั้น แต่จะเห็นเขาชอบเขียนและวาดรูปในระยะใกล้ เวลาดูทีวี ก็จะชอบมายืนดูใกล้ๆ ซึ่งตอนนั้นคิดว่าเพราะเด็กมีสมาธิและกำลังจดจ่อ เลยไม่ทันนึก อีกทั้งช่วง 2 ปีที่ผ่านมา น้องๆ เรียนออนไลน์ เราจึงไม่เห็นความผิดปกติการใช้สายตาของน้อง จนพอกลับไปเรียนตามปกติ คุณครูแจ้งว่าควรพาลูกไปตรวจสายตา เพราะน้องมองไม่ชัด หยีตาเวลาครูเขียนกระดาน พอตรวจก็พบเลยว่าน้องสายลมและก้อนเมฆสายตาสั้น  ตอนแรกเราก็กลัวว่าถ้าเด็กใส่แว่นตาเขาจะไม่ชอบ แต่ปรากฏว่าเขาชอบมาก ทำกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียนได้ตามปกติ  ซึ่งเมื่อทราบว่ามีเลนส์ที่ช่วยชะลอภาวะสายตาสั้นในเด็กอย่าง Stellest เลนส์ เรายิ่งดีใจมาก เพราะนี่คือเทคโนโลยีเลนส์สายตาสั้นที่ผลิตมาสำหรับเด็กที่ดีที่สุดตอนนี้ ทำให้เราได้ช่วยดูแลและถนอมสายตาให้ลูก ป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคทางสายตาเมื่อเขาโตขึ้น


            อยากฝากผู้ปกครองควรพาบุตรหลานไปตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี และให้คอยสังเกตบุตรหลาน เช่น ลูกมักหยีตาเมื่อมองไกลๆ  ลูกต้องเดินเข้าไปดูสิ่งต่างๆ ในระยะใกล้ๆ หรือจดจ่ออ่านหนังสือ วาดรูปในระยะใกล้กว่าปกติ  อาการซุ่มซ่าม เช่น เดินชนโต๊ะ เก้าอี้ สิ่งของบ่อยๆ และเด็กบ่นปวดหัว หรือปวดตาบ่อยๆ ก็ควรพาไปตรวจสายตาค่ะ


 


                เลนส์ Stellest ใช้วัสดุเลนส์ที่น้ำหนักเบา บาง ป้องกันรังสี UV และยังทนทานต่อแรงกระแทกมากที่สุด[6]เพราะใช้วัสดุ Airwear®
เด็กจึงใส่สบาย และเหมาะกับวิถีชีวิตที่เต็มไปด้วยกิจกรรมของเด็กๆ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.essilor.co.th/en/products/stellest หรือ ปรึกษาการตรวจวัดค่าสายตาให้แก่บุตรหลานได้ที่ร้านแว่นตาชั้นนำ Essilor Expert และ Essilor Partner ได้แล้ววันนี้


 


ข้อมูลสำหรับบรรณาธิการ           


ผลการวิจัยทางคลินิกแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเลนส์ ESSILOR® STELLESTTM



  • การวิจัยทางคลินิกในเด็ก 167 คน ที่มีภาวะสายตาสั้น เดือนกรกฎาคม 2018 โดย Essilor joint Research and Development Centre กับมหาวิทยาลัยทางการแพทย์เวินโจว ในประเทศจีน

  • ระยะเวลา 2 ปี หลังจากที่เด็กสวมใส่เลนส์แว่นตา Essilor® StellestTM จากการวิจัยพบว่าช่วยชะลอการเพิ่มของค่าสายตาสั้นโดยเฉลี่ย 67%3 เมื่อเทียบกับเลนส์สายตาชั้นเดียวหากสวมใส่วันละ 12 ชั่วโมงทุกวัน

  • หลังจากปีแรก การเติบโตของลูกตาของเด็ก 9 ใน 10 คนที่สวมใส่เลนส์แว่นตา Essilor® StellestTMใกล้เคียงหรือช้ากว่าเด็กที่ไม่มีค่าสายตาสั้น

  • เลนส์ Essilor® StellestTM สวมใส่สบาย ง่ายในการปรับตัวสำหรับเด็ก ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า:

    • สำหรับเด็ก การมองเห็นที่ชัดเจนเหมือนกับใช้เลนส์แว่นตาชั้นเดียว

    • 100% ของเด็กปรับตัวได้ภายใน 1 สัปดาห์








[1] Compared to single vision lenses, when worn by children at least 12 hours per day every day. Bao, J., Huang, Y., Li, X., Yang, A., Zhou, F., Wu, J., Wang, C., Li, Y., Lim, E.W., Spiegel, D.P., Drobe, B., Chen, H., 2022. Spectacle Lenses With Aspherical Lenslets for Myopia Control vs Single-Vision Spectacle Lenses: A Randomized Clinical Trial. JAMA Ophthalmol. 140(5), 472–478. https://doi.org/10.1001/jamaophthalmol.2022.0401. 




[2] Highly Aspherical Lenslet Target.




[3] Aesthetic finish




[4] Bullimore MA, Brennan NA. Myopia Control: Why Each Diopter Matters. Optom Vis Sci. 2019;96(6): 463-5. 




[5] Flitcroft DI. The complex interactions of retinal, optical and environmental factors in myopia aetiology. Prog Retin Eye Res. 2012;31:622-60.




[6] Test realised on multiple materials 1.50, 1.53, 1.56, 1.60, 1.67 and 1.74 in comparison with 1.59 by an accredited external laboratory using method defined in the safety US standard ANSI/ISEA Z87.1-


2020 clause(s) 7.1.4.3 on High Velocity Impact and 9.14 on Prescription Lenses Material Qualification Test using plano lenses with the same hard coat and 2.0mm+/-0.2mm center thickness.