กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รับมอบเทคโนโลยี Dust Boy จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อนำมาใช้ในการตรวจคุณภาพอากาศ วัดค่าฝุ่น PM2.5 PM10 อุณหภูมิและความชื้น พร้อมส่งมอบไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพอาการให้ประชาชนสุขภาพดี
นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยในการรับมอบผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการใช้ประโยชน์ Go Green ด้วยวิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ณ อาคาร สวทช. (โยธี) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพประชาชน และกำหนดมาตรการในการดำเนินงานที่สอดรับกับวาระแห่งชาติ เรื่อง การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง โดยมีภารกิจสำคัญในการลดหรือป้องกันปัจจัยเสี่ยงการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตลอดจนการเฝ?าระวังและเตือนภัยถึงผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลและป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็กได้อย่างทันท่วงที
“ในปี 2564 ที่ผ่านมา กรมอนามัยได้บูรณาการความร่วมมือกับศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินโครงการวิจัยการเฝ?าระวังและเตือนภัยป?ญหาหมอกควันด?วยเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศระบบเซ็นเซอร? DustBoy ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อวัดข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศด้วยระบบเซ็นเซอร์ และเชื่อมต่อข้อมูลด้วยระบบสถาปัตยกรรมเน็ตเวิร์คอัจฉริยะ โดยเครื่องวัดฝุ่นมีหลักการทำงานโดยเทคนิคการกระเจิงแสง (Light Scattering) สามารถวัดฝุ่น PM2.5 PM10 อุณหภูมิและความชื้น สามารถเชื่อมต่อข้อมูลด้วยระบบสถาปัตยกรรมเน็ตเวิร์คอัจฉริยะ พร?อมส?งข?อมูลผลการวัดแบบออนไลน์ผ่านสัญญาณ WIFI 2.4 GHz สามารถใช?เครื่องคอมพิวเตอร?หรือสมาร?ทโฟนดูผลการวัดได้ เริ่มใช้งานตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่เสี่ยงตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย โดยส่วนใหญ่ติดตั้งในสถานบริการสาธารณสุขทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล รวมถึงสถานที่ที่มีกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ โรงเรียน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และสถานดูแลผู้สูงอายุ” นายแพทย์อรรถพล กล่าว
นายแพทย์อรรถพล กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมอนามัยยังคงดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้รับสนับสนุนเครื่องตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในบรรยากาศด้วยระบบเซนเซอร์ (Dust Boy) จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จำนวน 500 เครื่อง เพื่อขยายผลการเฝ้าระวังให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยง รวมถึงเป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวัง สื่อสาร และแจ้งเตือนให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองและปฏิบัติตนในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างเหมาะสม โดยจะติดตั้งในสถานบริการสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจะส่งผลให้มีการเฝ้าระวัง ป้องกันได้อย่างทันท่วงที สร้างการรับรู้และสามารถดูแลตนเองและปฏิบัติตนในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพได้ อย่างเหมาะสม รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อวางแผนการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนต่อไป” รองอธิบดีกรมอนามัยกล่าว
***
กรมอนามัย / 31 ตุลาคม 2566