มหาวิทยาลัยมหิดล ผนึกกำลังแพทย์ พยาบาล นักสาธารณสุขสื่อสารสุขภาวะ-พฤติกรรมศาสตร์ และนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อสุขภาวะ แอนิเมชันแนวใหม่เพื่อชีวิตคนไทยห่างไกล NCDs ที่ง่ายต่อการเข้าถึง และใช้ได้จริงอันเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน"
รองศาสตราจารย์ ดร. มลินี สมภพเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหนึ่งในคณะผู้จัดทำนวัตกรรมสื่อสุขภาวะ สื่อแอนิเมชันแนวใหม่เพื่อชีวิตคนไทยห่างไกล NCDs ที่มี รองศาสตราจารย์ ดร.ปาหนัน พิชยภิญโญ เป็นหัวหน้าคณะผู้จัดทำ
และมีผู้ร่วมคณะ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.วีณา เที่ยงธรรม และรองศาสตราจารย์ ดร.จุฑาธิป ศีลบุตร จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนายอาโมทย์ สมบูรณ์แก้ว จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งประเด็นหลักของการพัฒนามุ่งเน้นที่ยุคสมัยของการสร้างแอนิเมชันเพื่อสุขภาวะเช่นปัจจุบัน ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ไม่ต้องคอยชี้แนะ โดยเห็นเพียงหลักการ แต่ไม่อาจเห็นผลในเชิงปฏิบัติ
การสร้างแอนิเมชันด้วยการหยิบยกเอาโจทย์ปัญหาสุขภาวะที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันมาสะท้อนให้ประชาชนค่อยๆ ทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง พบว่าเป็นหนทางที่ทำให้เกิดการเข้าถึงสุขภาวะที่จับต้องได้มากกว่า
รองศาสตราจารย์ ดร. มลินี สมภพเจริญ ได้เล่าถึงเบื้องหลังของนวัตกรรมสื่อสุขภาวะ แอนิเมชันแนวใหม่เพื่อชีวิตคนไทยห่างไกล NCDs ว่า เป็นการจัดทำภายใต้ทุน Fundamental Fund ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งเน้นที่การส่งเสริมการป้องกัน NCDs ที่พบจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดในโลก 3 อันดับแรก คือ โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
โดยในเบื้องต้นได้จัดทำเพื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในวัยทำงาน และวัยเกษียณ ซึ่งมักพบว่าเป็นวัยที่มีปัญหาโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จากปัญหาพฤติกรรมการกิน-อยู่มากที่สุด พร้อมติดตามได้ทางเว็บไซต์ในปีหน้า
โดยสะท้อนให้เห็นชีวิตคนเมืองในวัยทำงาน ผ่านตัวละครที่เป็นสาวออฟฟิศต้องเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานก่อนวัยอันควร เนื่องจากนิยมดื่มชานมไข่มุกเป็นประจำ และรับประทานผลไม้รสหวานในช่วงเย็นหวังลดหุ่นแบบผิดๆ ในขณะที่ตัวละครฝ่ายชายหลังเลิกงานมักตั้งวงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อการสังสรรค์โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง
ทืในเบื้องต้นได้จัดทำเพื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในวัยทำงาน และวัยเกษียณ ซึ่งมักพบว่าเป็นวัยที่มีปัญหาโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จากปัญหาพฤติกรรมการกิน-อยู่มากที่สุด พร้อมติดตามได้ทางเว็บไซต์ในปีหน้า
โดยสะท้อนให้เห็นชีวิตคนเมืองในวัยทำงาน ผ่านตัวละครที่เป็นสาวออฟฟิศต้องเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานก่อนวัยอันควร เนื่องจากนิยมดื่มชานมไข่มุกเป็นประจำ และรับประทานผลไม้รสหวานในช่วงเย็นหวังลดหุ่นแบบผิดๆ ในขณะที่ตัวละครฝ่ายชายหลังเลิกงานมักตั้งวงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อการสังสรรค์ โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง
นอกจากนี้ ยังได้สะท้อนผ่านพฤติกรรมเสี่ยง NCDs ในครอบครัว แม้มีลูกหลานที่มักเอาอกเอาใจพ่อแม่ปู่ย่าตายายด้วยการให้ของโปรดที่เป็นของหวาน แต่ไม่เคร่งครัดเรื่องการไปพบแพทย์ตามนัด ทำให้ต้องขาดยา และรักษาไม่ได้ผล
ก้าวต่อไปคณะผู้จัดทำเตรียมสร้างเฟสต่อไปให้มีเนื้อหาที่ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยง NDCs มากขึ้น โดยได้เปิดเผยถึงกลยุทธ์ "สื่อสารสุขภาวะอย่างไรให้ปัง" ว่าจะต้องอยู่บนพื้นฐานแห่ง "ความใส่ใจ" (Emphathy) และ "ความรับผิดชอบ" (Responsibility) ภายใต้หลักการ "TCC" T - Trust "การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ" C - Comprehension "ความเข้าถึงง่าย" และ C - Concise "ความกระชับ"
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
ภาพจาก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล