ศ.ดร.จักรพันธ์สุทธิรัตน์รองอธิการบดีด้านการวิจัย เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมเปิดตัว IDE LaunchX: โครงการเร่งรัดการเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อ
ผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมทางด้าน Medical, Health & Well-being โดยศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ และการประกอบการ (CMICe) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมเปิดตัวเริ่มต้น Kick off โครงการ IDELaunchX โครงการเร่งรัดการเติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมทางด้าน Medical, Health & Well-being ณ ห้อง 303 ชั้น 3 อาคารรัตนวิทยาพัฒน์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ศ.นพ.รังสรรค์ฤกษ์นิมิตร ผู้อํานวยการ ศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการ (CMICe) คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า IDE LaunchX: โครงการเร่งรัดการเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมทางด้าน Medical, Health & Well-being มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาความ ร่วมมือกับผู้ประกอบการในเครือข่าย สําหรับการสนับสนุนให้เกิดการสร้างและนํานวัตกรรมเทคโนโลยีเชิงลึกมาใช้ เพื่อสร้างการเติบโตใหม่บน New S-curve อย่างยั่งยืน โดย CMICe มุ่งเน้นเป็นตัวกลาง (Intermediary) ในการสร้างความร่วมมือและพัฒนาผู้ประกอบการทางด้านการแพทย์และสุขภาพกับเครือข่ายความร่วมมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัย ผู้พัฒนานวัตกรรม ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยให้บริการการพัฒนานวัตกรรม (iBDS) เป็นต้น รวมถึงเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ Tech Startup, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนิเวศนวัตกรรม,หน่วยให้บริการการพัฒนานวัตกรรม (iBDS) และอื่นๆ เพื่อพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการ ไปสู่ผู้ประกอบการนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise : IDE) และสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและนวัตกรรมให้กับองค์กร ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยภายใต้โครงการ IDE LaunchX มี ผู้ประกอบการที่ร่วมดําเนินการ ได้แก่ บริษัท อาร์แอนด์ดีรีเสิร์ช อินโนเวชั่น แอนด์ซัพพลาย จํากัด, บริษัท ไวท์ ไลน์แอคทิเวชัน จํากัด, บริษัท คอสม่า เมดิคอล จํากัด, บริษัท เอสอีไอ เมดิคัล จํากัด, บริษัท สคูลดิโอ จํากัด,บริษัท โกลบเทค จํากัด และ บริษัท วีอาร์อินโนเซนส์จํากัด รวมถึงมีหน่วยให้บริการพัฒนานวัตกรรม (iBDS) เข้าร่วมหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิชาการ ด้านธุรกิจ และด้านกฎหมาย ได้แก่ โครงการคลินิกกฎหมายเพื่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่การพาณิชย์(Law Clinic) บริษัท เบเคอร์แอนด์แม็คเค็นซี่ จํากัด, บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด, บริษัท เอกซ์แล็บ ดิจิทัล จํากัด เป็นต้น ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะก่อให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมใหม่ ที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์อย่างมีนัยสําคัญ สร้างรายได้ และการเติบโตให้กับ ผู้ประกอบการด้วยงานนวัตกรรม โครงการ IDE LaunchX โดยศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการ
(CMICe) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการเป็นตัวกลาง (Intermediary) เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์และสุขภาพสามารถยกระดับธุรกิจและสร้างการเติบโตได้ในอุตสาหกรรม โดยในขั้นตอนของการพัฒนาผู้ประกอบการ IDE LaunchX ใช้กรอบแนวคิดและกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อนํางานวิจัย เทคโนโลยีเชิงลึกสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างเป็นระบบ (Deep-tech Academic Research to Commercialization Stage Gate) ด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ผ่านความร่วมมือ โดยการเชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน อาทิการเชื่อมโยงกับงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงลึกภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมของผู้ประกอบการ การบริการอํานวย
ความสะดวกในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และความร่วมมือกับหน่วยบริการการพัฒนานวัตกรรมชั้นนํา นอกจากนี้ยังได้มีกระบวนการในการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามแผนกลยุทธ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ประกอบการSML ภายใต้โครงการ สามารถดําเนินงานได้ตามแผนที่วางไว้และมุ่งสู่เป้าหมายในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ดร. อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ที่ปรึกษาอาวุโส หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ให้รายละเอียดเกี่ยวกับระบบนิเวศในการพัฒนาและสนับสนุนผู้ประกอบการของไทยภายใต้บพข. ว่า ประเทศไทยมีศักยภาพและความเหมาะสมในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยการใช้งานวิจัย และนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน โดยอาศัยระบบนิเวศที่เอื้ออํานวยต่อการสนับสนุน ผู้ประกอบการธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี (Technology Infrastructure) การ สนับสนุนทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูง เครือข่ายความร่วมมือในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การจัดให้มีบริการให้คําปรึกษาแนะนําโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ บพข. ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานของระบบการบริหารและจัดการทุนของประเทศไทยที่มีบทบาทในการสนับสนุนทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ รวมถึงการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างตลาดนวัตกรรมและการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ จึงจัดให้มีระบบการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมอาหารมูลค่าสูง พลังงาน เคมีและวัสดุชีวภาพ ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดิจิทัลแพลตฟอร์ม เศรษฐกิจหมุนเวียน ระบบคมนาคมแห่งชาติและสุขภาพและการแพทย์ และแผนงานสนับสนุนผู้ประกอบการ หรือนักวิจัยให้นําผลงานวิจัยออกสู่การใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ซึ่งจะเห็นว่าด้วยกลไกการสนับสนุนดังกล่าว จะช่วยให้นักวิจัย และผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาธุรกิจให้สามารถแข่งขันและเติบโตได้อย่างยั่งยืน