โรคใหลตาย อาการและวิธีป้องกันโรคหลับไม่ตื่น

โรคใหลตาย หรือ โรคไหลตาย เป็นโรคที่พบเห็นบ่อยในไทย พบบ่อยในภาคอีสานและแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ โดยจะมีอาการเหนื่อล้า ต้องการพัก แต่ไม่ตื่นขึ้นมาอีกในภายหลัง มีดารานักแสดงเสียชีวิตจากโรคนี้บ่อยครั้ง เช่น แวว จ๊กมก, บีม ปภังกร และอาจมีเพิ่มอีกในอนาคต
อาการ
          โรคใหลตาย (Sudden arrhythmic death syndrome (SADS)) เป็นโรคในกลุ่มบรูกาดาซินโดรม (Brugada Syndrome, BrS) เกิดจากการมีปริมาณเกลือแร่ในร่างกายน้อย ขาดน้ำ ส่วนมากผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการผิดปกติก่อนจะพบว่าเสียชีวิตขณะหลับ ส่วนใหญ่พบในผู้ชาย อายุช่วง 25-55 ปี และพบในผู้หญิงได้ในบางครั้ง  โดยอาการจะมีไข้ อ่อนเพลีย ซึ่งเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกได้ว่ามีความผิดปกติในร่างกาย อาจไม่ได้มาจากโรคทั่วไป แต่มาจากหัวใจกำลังทำงานผิดปกติ
เหตุผลที่ทำให้เสียชีวิต
          เกลือแร่จะช่วยทำให้ไฟฟ้าทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเต้นของหัวใจ โดยมีน้ำมาเป็นตัวช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นไปอย่างปกติ  เมื่อสูญเสียเกลือแร่ สารอาหาร น้ำ จำนวนมากอย่างต่อเนื่อง บวกกับการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นไข้ ก็มีโอกาสทำให้หัวใจทำงานผิดปกติจนมีอาการใหลตายได้
สาเหตุที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติ
          1. ขาดสารอาหารสำคัญ
          เป็นสาเหตุหลัก ซึ่งพบมากทั้งแรงงานไทยที่ไปต่างประเทศ คนอีสาน ซึ่งรับประทานอาหารไม่ครบหมวดหมู่ หรือ รับประทานแต่อาหารกึ่งสำเร็จรูปมากเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อหัวใจ
          -  ขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด
          -  ขาดวิตามินบี 1 ถ้าขาดอย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้คนที่แข็งแรงอยู่ดี ๆ รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอน เมื่อหลับแล้วก็หัวใจวายตายเกือบจะทันที โดยโรคนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาวะทุพโภชนาการ และสุขนิสัยการรับประทานที่ผิด
          2. ดื่มน้ำน้อยเกินไป
          น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของร่างกายที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้น การรับประทานน้ำที่น้อยจนเกินไปจะเพิ่มภาระให้กับร่างกายอย่างมาก  บางคนสูญเสียน้ำจากการออกกำลังกายอย่างหนัก พอเพลียก็พักผ่อนโดยทานน้ำไม่เพียงพอ ก็อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้
          3. ไวรัสจากอาหาร
          ไวรัสบางชนิดสามารถเข้าร่างกายผ่านอาหาร พุ่งเป้าไปที่หัวใจ การบริโภคอาหารที่มีสารพิษวันละเล็กน้อย จนเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ จนเสียชีวิตได้
          4. ใช้งานยานอนหลับเป็นประจำ
          ผลจากยานอนหลับที่ต่อเนื่องโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร มีโอกาสกระตุ้นให้เกิดอาการใหลตายได้
          5. ไข้ขึ้นสูงแล้วไม่ทานยา
          บางรายอาการไข้สูงต่อเนื่อง ตัวร้อน น้ำในร่างกายระเหย แล้วไม่ทานยาลดไข้ ทำให้ปริมาณน้ำและสารอาหารลดจนแสดงอาการโรคใหลตายได้เช่นกัน
วิธีการรักษา
          ส่วนมากโรคใหลตายเกิดระหว่างหลับ ผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติมากนัก แทบเหมือนคนปกติ เหมือนเพลียตามปกติ ทำให้คนรอบข้างไม่ระวัง และโอกาสรอดค่อนข้างน้อย
          การรักษาผู้ที่หลับไม่ตื่นจากอาการใหลตาย ทำได้โดยการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจเพื่อกระตุ้นการเต้นหัวใจ โดยให้ผู้มีความชำนาญเรื่องเครื่องมือแพทย์เป็นคนดูแลผู้ป่วย
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
          - ถ้าคนใกล้ตัวพบว่าปลุกไม่ตื่น อาจยังพอช่วยได้ โดยจับผู้ป่วยนอนราบ เรียกรถพยาบาล
          - เมื่อประเมินผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่หายใจ หรือชีพจรที่คอไม่เต้น ให้กดหน้าอกยุบราว 1.5 นิ้ว แล้วปล่อยให้คลายตัว เป็นชุดในความถี่ราว 100 ครั้ง/นาที จนผู้ป่วยรู้ตัว
          ไม่ควรงัดปากคนไข้ด้วยของแข็ง ควรระวังว่าผู้ป่วยอาจมีโรคอื่นของสมอง เช่น ลมชัก โรคหัวใจ ที่เป็นต้นเหตุของความผิดปกติหมดได้
แนวทางป้องกัน
          - ทานอาหารให้ครบหมวดหมู่ โดยเฉพาะไข่ จะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด ช่วยป้องกันโรคใหลตายได้ อาจทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามความเหมาะสม
          - ควรดื่มน้ำให้พอเพียง ดื่มน้ำก่อนนอนเล็กน้อย สำหรับคนที่กังวลว่าจะต้องเข้าห้องน้ำตอนดึก ก็ควรทานน้ำในแต่ละวันในปริมาณที่เหมาะสม
          - ระวังการทานอาหารที่มีสารเคมี หรือไวรัสปนเปื้อน ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของหัวใจจนล้มเหลวได้ ควรปรุงสุกและทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
          ถึงอาการใหลตายจะทำให้ผู้ป่วยจากไปแบบสงบ จนบางคนรู้สึกเหมือนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่ไม่ทรมาน แต่การขาดสารอาหารอาจทำให้เกิดโรคอื่นที่ทำให้ทรมานกว่าแทน มีบางรายที่ฟื้นได้ทันแล้วอยู่ในสภาพสมองขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการสมองตายได้
          ทางที่ดีควรจะเลี่ยงความเสี่ยงการเกิดโรคใหลตายจะดีกว่า ควรทานอาหารให้ครบหมวดหมู่ ให้ความสำคัญกับสารอาหารให้ครบถ้วน จะช่วยให้คุณและคนใกล้ตัวห่างไกลจากโรคใหลตายได้

ขอบคุณข้อมูลจาก
 : Mahidol, Wikipedia, ไทยรัฐ, Drama Addict,
 : https://www.fascino.co.th/article/post/brugada-syndrome