อาหารสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน

ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

โรคเบาหวาน คืออะไร
          โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาหารที่รับประทายเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป้นกลูโคส ถ้ารับประทานอาหารมากเกินไป น้ำตาลที่นำไปใช้ได้ไม่หมดจะสะสมอยู่ในกระแสเลือดถ้ามีมากก็จะออกมาในปัสสาวะได้ เอ็มไซม์อินซูลิน ซึ่งสร้างจากตับอ่อนเป็นตัวการนำกลูโคสที่มีนี้เข้าเซลล์ เพื่อไปใช้เป็นพลังงาน ถ้าอินซูลินมีน้อยหรือตับอ่อน สร้างอินซูลินไม่เพียงพอ แต่ออกฤกธิ์ได้ไม่ดีทำให้ร่างกายใช้กลูโคสไม่ได้ จึงทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้น


อาการที่สำคัญ ของโรคเบาหวาน
          1. ปัสสาวะบ่อย (อาจมีมดขึ้นบนปัสสาวะ)
          2. กระหายน้ำบ่อยและดื่มน้ำมาก
          3. อ่นเพลีย น้ำหนักลดลง และผอมลง ทั้ง ๆ ที่รับประทานมาก
          4. อาการแทรกซ้อนของเบาหวาน เช่น ตาพร่ามัว ชาตามปลายมือ ปลายเท้า แผลหายช้า ติดเชื้อง่าย โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ


หลักในการเลือกรับประทานอาหาร
          1. รับประทานอาการให้หลากหลายและมีความสมดุลของสารอาหาร รับประทานให้เป็นเวลา
          2. หลีกเลี่ยงของหวานและอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
          3. รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ที่มีใยอาหารมากขึ้น
          4. รับประทานอาหารตามปริมาณที่นักกำหนดอาหารกำหนดไว้


อาหารที่ควรรับประทานต่อวัน
          - อาหารที่มีกากใยมาก เช่น ข้าวซ้อมมือ ขนมปัง ข้าวรำ
          - พืชที่ให้พลังงานน้อย เช่น ผักใบทุกชนิด


อาหารที่ควรลด
          - ผลไม้รสหวานจัด เช่น กล้วย สับปะรด ทุเรียน ฯลฯ โดยรับประทานให้น้อยลง


อาหารที่ควรงด
          - อาหารที่มีรสหวานจัด ขนมหวาน น้ำตาลทุกชนิด
          - ผลไม้รสหวานจัด เช่น ทุกเรียน น้ำหวาน ลูกอม น้ำอดลม


อาหารแลกเปลี่ยน
          คืออาหารที่ผู้ป่วยสามารถเลือกกินและทดแทนกันได้ใน 1 วัน แบ่งออกเป็น 6 หมวด ได้แก่
          1. หมวดข้าว แป้ง ขนมปัง
              หมวดนี้ 1 ส่วน ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี่ ได้แก่
              - ข้าวสวย/ข้าวเหนียว 1 ทัพพีเล็ก (1/3 ถ้วย)
              - ข้าวต้ม 2 ทัพพีเล็ก
              - ขนมจีน 1 ½ จับ
              - ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น 1 ทัพพี (1/2 ถ้วย)


          2. หมวดเนื้อสัตว์
              ควรรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน 1 ส่วน จะให้พลังงาน 55 กิโลแคลอรี่
              - ปลาต่าง ๆ 30 กรัม (เท่ากับเบื้อปลาทูขนาดกลางครึ่งซีก)
              - ปลาหมึก (ขนาด 5 นิ้ว) 1 ตัว
              - เนื้อปู 4 ช้อนโต๊ะ (60 กรัม)
              - กุ้งแห้ง 1 ช้อนโต๊ะ (10 กรัม)
              - ลูกชิ้น 6 ลูก
              - เนื้อไก่ไม่ติดมัน 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
              - เนื้อหมูไม่ติดมัน 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
              - ไข่ขาว 3 ฟอง
              - เต้าหู้ขาวหลอด ½ อัน (100 กรัม)


          3. หมวดผัก
              หมวดนี้ 1 ส่วนให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ โดยปกติผัก 1 ส่วน จะเท่ากับผักดิบ 1 ถ้วยหรือผักสุก ½ ถ้วย ควรรับประทานให้หลากหลายใน 1 วัน โดยเฉพาะผักใบเขียว – ขาว ทุกชนิด


          4. หมวดผลไม้
              หมวดนี้ 1 ส่วน จะให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี่ เช่น
              มะม่วงสุก ½ ผลเล็ก
              มะม่วงดิบ 1 ผลเล็ก
              มะละกอ 6 ชิ้นคำ
             สับปะรด 6 ชิ้นคำ
             แตงโม 10-12 ชิ้นคำ
             ฝรั่ง 1 ผลเล็ก
             ชมพู่ 2 ผล
             เงาะ 4 ผล
             องุ่น 15 ผลเล็ก
             แคนตาลูป 1/3 ผล


          5. หมวดนม
              หมวดนี้ให้พลังงานแตกต่างตามชนิดของนม หลีกเลี่ยงนมหวานทุกชนิด
              - นมเต็มไขมัน (whole milk) 240 C.C. ให้พลังงาน 150 กิโลแคลอรี่
              - นมจืดไขมันเต็ม (นม ยู เอช ที หรือนมสดพาสเจอไรส์) 1 กล่อง 240 C.C.
              - นมจืดพร่องไขมัน (นม ยู เอช ที หรือนมสดพาสเจอไรส์) 1 กล่อง 240 C.C.
              - นมขาดไขมัน (non-fat-milk) สกัดไขมันออกเกือบหมด ให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี่
           ผู้ป่วยเบาหวาน ควรดื่มนมสดพร่องมันเนย หรือขาดมันเนย เพื่อหลีกเลี่ยงไขมันในนมหรือในกรณรที่มีไขมันในเลือดสูง


          6. หมวดไขมัน
              อาหารหมวดนี้ 1 ช้อนชา ให้พลังงาน 45 กิโลแคลอรี่ ควรหลีกเลี่ยง ไขมันในเนื้อสัตว์ และกะทิ เพื่อลดไขมันและโคเลสเตอรอล
              - เนยเทียม (มาร์การีน) 1 ช้อนชา
              - มายองเนส 1 ช้อนชา
              - น้ำมันพืช (งา ถั่วเหลือง รำข้าว) 1 ช้อนชา
              - น้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ


          ตัวอย่างอาหารใน 1 วัน ประมาณ 1500 กิโลแคลอรี่
          อาหารเช้า ข้าวต้มไก่ ฝรั่ง
          ข้าว 2 ½ ทัพพี
          เนื้อไก่ต้มสุก 4 ช้อนโต๊ะ
          กระเทียมเจียว 1 ½ ช้อนชา
          ต้นหอมผักชี ตามต้องการ
          ฝรั่ง 1 ผลเล็ก
          นมสดพร้องมันเนย 1 แก้ว 240 C.C.


          อาหารกลางวัน ข้าวผัดปูใส่ไข่ พุทรา
          ข้าวสวย 3 ทัพพี
          เนื้อปู 2 ช้อนโต๊ะ
          ไข่ 1 ฟอง
          น้ำมัน 2 ช้อนชา
          แตงกวา, มะเขือเทศ, ต้นหอม ตามต้องการ
          พุทรา 3 ผล


          อาหารเย็น ข้าว + แกงส้มรวมมิตรกุ้ง + ไก่ผัดกระเพรา + ส้มโอ
          ข้าวสวย 3 ทัพพี
          ผักกากขาว, ถั่วฝักยาว, ผักกระเฉด, ใบกระเพรา ตามต้องการ
          กุ้ง 4 ตัว
          ไก่ 2 ช้อนโต๊ะ
          น้ำมัน 2 ช้อนชา
          ส้มโอ 2-3 กลีบ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1477