“แวดวงการแพทย์” VS “วงการพลังงาน” ตะลึงตึงตึง เมื่อเจอ “แบตเตอรี่กินได้” นวัตกรรมจาก “อิตาลี”

Mario Caironi 


By Jakkrit Siririn


“แวดวงการแพทย์” VS “วงการพลังงาน” ตะลึงตึงตึง เมื่

               ดร. Mario Caironi นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งอิตาลี หรือ Istituto Italiano di Tecnologia แห่งเมือง Milan คือผู้ค้นคิดประดิษฐกรรมแบตเตอรี่ต้นแบบที่สามารถกินได้ และชาร์จไฟได้ตามปกติ
เบื้องหลังการถ่ายทำของ “แบตเตอรี่กินได้” ก็คือ ใช้วัตถุดิบจากผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด ดังนั้น นวัตกรรมนี้อาจเป็นใบเบิกทางสู่การพัฒนาด้านพลังงาน ด้านอาหาร และด้านการแพทย์ไปพร้อม ๆ กัน
               ดร. Mario Caironi เกิดที่เมืองแบร์กาโม ประเทศอิตาลี เมื่อปี ค.ศ. 1978 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าที่ Politecnico di Milano เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 2003 และปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศเกียรตินิยมอันดับ 1 ในปี ค.ศ. 2007 ด้วยวิทยานิพนธ์การสร้างหน่วยความจำจากสารอินทรีย์
               ดร. Mario Caironi ได้ทำงานวิจัยหลังปริญญาเอก หัวข้อเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตความละเอียดสูงโดยทรานซิสเตอร์อินทรีย์ ในปี ค.ศ. 2007 ร่วมกับ ศ.ดร. Henning Sirringhaus ที่ Cavendish Laboratory เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และทำงานอยู่ที่เคมบริดจ์เป็นเวลา 3 ปี
ต่อมาในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2010 ดร. Mario Caironi ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทีมที่ Center for Nano Science and [email protected] ของ Istituto Italiano di Tecnologia เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี เริ่มทำผลงานทางวิชาการ และเป็นนักเขียนบทความทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 130 ชิ้น ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
               ดร. Mario Caironi สนใจในเทคนิคการพิมพ์ความละเอียดสูงที่ใช้โซลูชันสำหรับการผลิตอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ออปโตอิเล็กทรอนิกส์ และเทอร์โมอิเล็กทริก โดยใช้สารอินทรีย์ รวมถึงอุปกรณ์ของทรานซิสเตอร์เอฟเฟกต์ภาคสนามที่ใช้เซมิคอนดักเตอร์อินทรีย์

                โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานการประดิษฐ์คิดค้นด้านชีวการแพทย์ หรือเซ็นเซอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบอินทรีย์ที่ฝังไว้สำหรับการดูแลสุขภาพ โดย ดร. Mario Caironi เป็นผู้รับสิทธิ์ ERC ในปี ค.ศ. 2014 และผู้รับสิทธิ์ Consolidator ในปี ค.ศ. 2019
                สำหรับผลงานวิจัยชิ้นล่าสุด คือ “แบตเตอรี่กินได้” นี้ ดร. Mario Caironi หวังว่าจะสามารถปฏิวัติอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถบริโภคได้ โดย ดร. Mario Caironi ได้กล่าวว่า นี่เป็นตัวอย่างแรกของแบตเตอรี่ที่ทั้งกินได้ และชาร์จไฟได้
ซึ่ง ดร. Mario Caironi ได้ผลิต “แบตเตอรี่กินได้” จากผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย “อัลมอนด์” “ลูกเคเปอร์” “ถ่านชาร์โคล” “สาหร่าย” “ทองคำเปลว” และ “ขี้ผึ้ง”
              ดร. Mario Caironi อธิบายว่า แกนกลางของอุปกรณ์ดังกล่าว จะมีขั้วไฟฟ้าอยู่ 2 ขั้ว โดยจะต้องใช้วัสดุจำนวน 2 ชนิด แบบ 2 โมเลกุล เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้แบบขั้วบวก-ขั้วลบ

 “สำหรับขั้วบวก ผมใช้ไรโบฟลาวิน ซึ่งเป็นวิตามินที่พบได้ในอัลมอนด์ ส่วนขั้วลบ ผมใช้เควอซิทิน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และพบได้ในลูกเคเปอร์” ดร. Mario Caironi กระชุ่น

                สำหรับการอัดประจุ ดร. Mario Caironi ใช้ถ่านชาร์โคลในการเพิ่มการนำไฟฟ้า ในขณะที่ตัวคั่นภายในแบตเตอรี่เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ดร. Mario Caironi ใช้สาหร่ายแผ่นแบบที่ใช้ในการห่อซูชิ
               ส่วนขั้วไฟฟ้าของแบตเตอรี่จะถูกหุ้มด้วยขี้ผึ้ง โดยมีหน้าสัมผัสเป็นทองคำที่กินได้ 2 แผ่น ซึ่งรองรับด้วยฐานเซลลูโลสเพื่อเป็นตัวนำไฟฟ้า
ดร. Mario Caironi ชี้ว่า แบตเตอรี่ที่กินได้นี้ ช่วยให้เราสามารถกลืนอุปกรณ์ เช่น เซ็นเซอร์ เข้าไป และมันจะย่อยสลายภายในร่างกายของเราเหมือนกับอาหาร หลังจากที่ใช้งานเสร็จแล้ว
                ดร. Mario Caironi หวังว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กินได้ เช่นเดียวกับ “แบตเตอรี่กินได้” นี้ จะส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อการวินิจฉัย และการรักษาอาการต่าง ๆ ในระบบทางเดินอาหาร และยังสามารถใช้ตรวจสอบคุณภาพอาหารในอนาคตได้อีกด้วย
โดยที่ผ่านมา อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่กินได้นั้น ต่างมีใช้อยู่บ้างแล้วในปัจจุบัน แต่ร่างกายของเราไม่สามารถย่อยได้ แปลไทยเป็นไทยก็คือ หากพบปัญหาในระหว่างกระบวนการย่อยอาหาร ก็อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อนำอุปกรณ์ดังกล่าวออกมา
แต่อุปกรณ์ของ ดร. Mario Caironi สามารถย่อยได้ทั้งหมดโดยไม่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพใด ๆ เลย
                นอกจากนี้ การใช้งานอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้นอกเหนือจากเรื่องสุขภาพก็คือ การตรวจสอบคุณภาพอาหาร และการพัฒนาหุ่นยนต์แบบนิ่มที่กินได้
ทั้งนี้ “แบตเตอรี่กินได้” ของ ดร. Mario Caironi ที่เป็นต้นแบบชิ้นนี้ ทำงานที่กระแสไฟฟ้า 0.65 โวลต์ ซึ่งเป็นแรงดันไฟฟ้าต่ำเกินไปที่จะทำให้เกิดปัญหาภายในร่างกายมนุษย์
                โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แบตเตอรี่กินได้” ของ ดร. Mario Caironi มีสมรรถนะการจ่ายไฟที่ 48 ไมโครแอมป์ ได้นานสูงสุด 12 นาทีอีกด้วย
                 นอกจากนี้ ยังสามารถจ่ายไฟให้กับหลอดไฟ LED ขนาดเล็ก หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่น ๆ โดย ดร. Mario Caironi กำลังพยายามเพิ่มความจุ พร้อมทั้งลดขนาดอุปกรณ์ลงให้เท่ากับยาเม็ดแคปซูลที่สามารถกลืนได้ง่ายขึ้น
ครับ


 


ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.salika.co/2023/05/11/mario-caironi/