โรคดื้อต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

by นิตยา สุทธิกุล (Nittaya Suttikul)

โรคดื้อต่อต้าน (Oppositinoal Defiant Disorder :ODD) เป็นความผิดปกติที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมเกิดอาการต่อต้านและอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย ซึ่งมักส่งผลต่อการทำงาน การศึกษาและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นแม้แต่เด็กที่เชื่อฟังมากก็ยังมีโอกาสเกิดอารมณ์ขุ่นมัวและดื้อบ้างเป็นครั้งคราว แต่รูปแบบการแสดงความโกรธ การต่อต้านและความก้าวร้าวต่อผู้ใหญ่อาจเป็นสัญญาณของโรคดื้อและต่อต้านได้
                    โรคดื้อต่อต้านพบในเด็กวัยเรียนประมาณ 1 ถึง 16% พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง เด็กหลายคนเริ่มแสดงอาการโรคดื้อและต่อต้านระหว่างอายุ 6 ถึง 8 ปี โรคดื้อและต่อต้านยังมีโอกาสพบในผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านอาจไม่พบว่ามีอาการในวัยเด็กได้


สาเหตุของโรคดื้อและต่อต้าน
ไม่มีสาเหตุของโรคดื้อและต่อต้านที่ชัดเจน แต่มีทฤษฎีว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางชีวภาพ และจิตวิทยาเมื่อร่วมกันอาจก่อให้เกิดโรคนี้ได้ อย่างกรณีของครอบครัวที่มีประวัติของโรคสมาธิสั้น (ADHD) มักมีโอกาสเป็นโรคดื้อและต่อต้านได้
ทฤษฎีหนึ่งระบุว่า โรคดื้อและต่อต้านจะเริ่มพัฒนาตั้งแต่ยังเป็นเด็กแบเบาะ พบว่า เด็กหรือวัยรุ่นที่เป็นโรคดื้อต่อต้านยังมีพฤติกรรมปกติในช่วงวัยแบเบาะ ทฤษฎีนี้ยังเชื่อว่าเด็กหรือวัยรุ่นคือช่วงวัยที่กำลังต้องการเป็นอิสระจากผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ จึงมีแนวโน้มที่จะใช้อารมณ์มากขึ้น และจะมีภาวะต่อต้าน หลายคนเลยเรียกว่าเป็นวัยต่อต้าน
นอกจากนี้ เป็นไปได้ว่าภาวะต่อต้านเป็นพฤติกรรมที่ได้จากการเรียนรู้ สะท้อนว่าการเลี้ยงดูที่ผิดวิธีของผู้ปกครองจะส่งผลต่อเด็ก เด็กอาจใช้พฤติกรรมที่ไม่ดีเรียกร้องความสนใจ และรับพฤติกรรมเชิงลบมาจากผู้ปกครอง


สาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ ได้แก่ :
- อุปนิสัยส่วนตัว เช่น เป็นคนเอาแต่ใจ
- ขาดความผูกพันที่ดีกับผู้ปกครอง
- ความเครียด หรือเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ในชีวิตประจำวัน

อาการของโรคดื้อและต่อต้าน
อาการในเด็กและวัยรุ่น
โรคดื้อและต่อต้านมักส่งผลกระทบต่อเด็กและวัยรุ่นมากที่สุด อาการของโรคดื้อและต่อต้าน มีดังนี้ :
- ฉุนเฉียวง่าย หรือโกรธได้บ่อย ๆ
- มีอาการต่อต้านคำสั่งของผู้ใหญ่
- ชอบโต้เถียงผู้ใหญ่และผู้มีอาวุโสมากกว่า
- ชอบตั้งคำถามหรือหาทางหลีกเลี่ยงกฎระเบียบต่าง ๆ
- มีพฤติกรรมชอบยั่วยุให้ผู้อื่นอารมณ์เสีย หรือรำคาญ
- ชอบกล่าวโทษผู้อื่นในข้อผิดพลาด หรือการประพฤติที่ไม่ถูกต้องของตนเอง
- หงุดหงิดรำคาญง่าย
- รู้สึกอาฆาต โกรธแค้น
 การมีอาการเหล่านี้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคดื้อและต่อต้าน แต่ต้องมีอาการหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
อาการในผู้ใหญ่
อาการโรคดื้อและต่อต้านในเด็กและผู้ใหญ่มีความคล้ายคลึงกัน ดังมีรายละเอียด ดังนี้ :
- รู้สึกโกรธเกลียดโลก
- รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือโกรธเกลียดผู้คน
- ต่อต้านผู้มีอำนาจมากกว่า อย่างหัวหน้างานในที่ทำงาน
- รู้สึกต่อต้านสังคม
- ปิดกั้นตัวเองด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว และไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
- พาลเอาแต่โทษผู้อื่น
ความผิดปกติในในผู้ใหญ่มักวินิจฉัยได้ยาก เพราะมีพฤติกรรมทางอารมณ์ที่หลากหลาย และหลายพฤติกรรมยังเป็นผลจากสารเสพติด และความผิดปกติอื่น ๆ
การรักษาโรคดื้อและต่อต้าน
เกณฑ์ที่ใช้วินิจฉัยความผิดปกติของผู้ป่วย :
  เอกสารคู่มือการวินิจฉัยและวัดสถิติความผิดปกติทางจิต ที่เรียกว่า DSM-5 ได้สรุปปัจจัยหลัก 3 ประการ ที่ต้องใช้เพื่อวินิจฉัยโรคดื้อและต่อต้าน:
 1. แสดงรูปแบบพฤติกรรม: พิจารณารูปแบบของอารมณ์ด้านลบต่าง ๆ ทั้งอารมณ์โกรธ หงุดหงิด วิธีการโต้เถียง หรือการโต้เถียง ใช้เวลาวินิจฉัยประมาณ 6 เดือน ในช่วงเวลานี้ต้องสังเกตพฤติกรรมอย่างน้อย 4 รายการจากรูปแบบที่ระบุ เป็นการแสดงพฤติกรรมกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติมิตร ได้แก่ :
การแสดงอารมณ์โกรธ หรือหงุดหงิด ได้แก่:
- อารมณ์เสียบ่อย
- ขี้งอน
- ขี้รำคาญ
- โกรธหรือไม่พอใจอะไรง่าย ๆ
พฤติกรรมต่อต้าน หรือยั่วยุต่าง ๆ ได้แก่:
- ขึ้นเสียงกับผู้บังคับบัญชาหรือผู้ปกครองบ่อย ๆ
- ไม่ยอมทำตามคำขอของผู้มีอำนาจ
- ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำขอของผู้มีอำนาจ
- จงใจสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น
- กล่าวโทษผู้อื่นเวลากระทำผิด
- ความอาฆาตมาดร้าย
- การแสดงความอาฆาตแค้นอย่างน้อย 2 ครั้ง ในรอบ 6 เดือน
  2. พฤติกรรมที่ส่งผลร้ายทำลายต่อชีวิต: พฤติกรรมต่อมาที่ใช้วินิจฉัยคือ พฤติกรรมในด้านลบต่าง ๆ นั้นส่งผลให้เกิดผลเสียกับบุคคลอื่น ๆ หรือผู้คนในสังคมที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ผู้ป่วยโรคดื้อและต่อต้านอาจมีพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิต ทั้งรูปแบบการใช้ชีวิต การเข้าสังคม การศึกษา หรืออาชีพการงานได้
3. ความเชื่อมโยงกับการใช้สารเสพติด หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ : แพทย์จะไม่สามารถวินิจฉัยพฤติกรรมของผู้ป่วยได้ หากมีปัจจัยร่วม ได้แก่:
- สารเสพติด
- ภาวะซึมเศร้า
- โรคไบโพลาร์
- โรคจิต
ระดับความรุนแรงของโรคดื้อและต่อต้าน
DSM-5 แบ่งระดับความรุนแรงของโรคดื้อและต่อต้านไว้ ดังนี้:
1. ไม่รุนแรง: อาการมีจำกัด อาจมีเพียงอาการใดอาการหนึ่งเท่านั้น
2. ปานกลาง: อาการปรากฏอย่างน้อย 2 ลักษณะประกอบกัน
3. รุนแรง: อาการปรากฏอย่างน้อย 3 ลักษณะประกอบกัน
แนวทางการรักษาโรคดื้อและต่อต้าน
การรักษาในช่วงแรกนั้นสำคัญ และจำเป็นต่อวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านมาก เพราะหากไม่รักษาจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และการใช้สารเสพติดได้
ตัวเลือกที่แพทย์ใช้ในการรักษา ได้แก่ :
การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญาส่วนบุคคล
- แนวทางการจัดการความโกรธ
- ทักษะด้านการสื่อสาร
- การควบคุมสิ่งกระตุ้น
- ทักษะการรับมือกับปัญหา
แพทย์จะเริ่มจากการระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์
ครอบครัวบำบัด
นักจิตวิทยาจะทำงานร่วมกับทั้งครอบครัวเพื่อทำการบำบัดอาการของโรค ผู้ปกครองจะได้เรียนรู้และสนับสนุนให้เข้าใจกลยุทธ์ในการจัดการกับโรคดื้อและต่อต้านของบุตรหลาน

การบำบัดความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก (PCIT)
นักบำบัดจะให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับเทคนิคการเลี้ยงดูลูกหลานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
กลุ่มบำบัด
การให้เด็กเรียนรู้วิธีพัฒนาทักษะทางสังคม และความสัมพันธ์ร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ
การรักษาด้วยยา
เป็นการรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรคดื้อและต่อต้าน เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือสมาธิสั้น แต่ยังไม่มียาเฉพาะที่ใช้รักษาโรคดื้อและต่อต้าน
กลยุทธ์ในการจัดการโรคดื้อและต่อต้านที่ผู้ปกครองสามารถช่วยลูก ๆ เพิ่มเติม ได้แก่:
- เพิ่มความสัมพันธ์เชิงบวก และลดความสัมพันธ์เชิงลบ
- กำหนดแนวทางลงโทษพฤติกรรมที่ไม่ดีอย่างเหมาะสม และทำอย่างสม่ำเสมอ
- ใช้พฤติกรรมตอบสนองอาการของลูกที่สามารถคาดเดาได้ และทำในทันที
- สร้างรูปแบบการเข้าสังคมเชิงบวกขึ้นในบ้าน
- ลดสิ่งกระตุ้นด้านสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์ (ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมก่อกวนของบุตรหลานอาจเพิ่มขึ้นเมื่อนอนหลับไม่เพียงพอ ให้ผู้ปกครองตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขานอนหลับเพียงพอเพื่อแก้อาการ)
ผู้ใหญ่เป็นโรคดื้อและต่อต้านก็สามารถจัดการความผิดปกติได้โดย:
- รู้จักรับผิดชอบต่อการกระทำและพฤติกรรมของตนเอง
-ใช้สติ และหายใจลึก ๆ เพื่อควบคุมอารมณ์ของตนเอง
- หากิจกรรมคลายเครียด เช่น การออกกำลังกาย
อย่างไรก็ตาม การตอบสนองต่อแนวทางการรักษาโรคดื้อและต่อต้านในเด็กแต่ละคนอาจให้ผลแตกต่างกัน และผู้ปกครองไม่ใช่ผู้ที่ต้องร่วมรักษาอาการของเด็กเหล่านี้ แต่ครูที่โรงเรียนก็ต้องมีส่วนร่วมด้วย ดังนี้:
- ปรึกษาผู้ปกครองในการจัดการพฤติกรรมของเด็ก
- สร้างความคาดหวัง และกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนให้เด็ก ๆ ทราบ
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในห้องเรียน หรือแจ้งให้เด็ก ๆ ทราบก่อนเพื่อลดภาวะทางอารมณ์ของเด็ก
- ฝึกให้เด็กรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
- พยายามสร้างความไว้วางใจกับนักเรียน ด้วยการสื่อสารที่ชัดเจนและสม่ำเสมอ
ภาพรวมของโรคดื้อและต่อต้าน
Oppositional Defiant Disorder (โรคดื้อและต่อต้าน) คือ ความผิดปกติทางพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและวัยรุ่นเป็นหลัก ลักษณะนี้มีลักษณะเป็นพฤติกรรมเชิงลบ ไม่เป็นมิตร และท้าทายต่อผู้มีอำนาจ เช่น พ่อแม่ ครู และผู้ใหญ่คนอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง พฤติกรรมนี้มักจะนอกเหนือไปจากการต่อต้านและการไม่เชื่อฟังตามปกติในวัยเด็ก
ต่อไปนี้เป็นคุณลักษณะและลักษณะสำคัญของโรคดื้อและต่อต้าน:
- รูปแบบการท้าทายอย่างต่อเนื่อง: เด็กที่มี โรคดื้อและต่อต้าน แสดงรูปแบบพฤติกรรมท้าทาย ไม่เชื่อฟัง และไม่เป็นมิตรอย่างต่อเนื่อง พวกเขามักจะโต้เถียงกับผู้ใหญ่ ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และการร้องขอ และจงใจรบกวนหรือยั่วยุผู้อื่น
- ความหงุดหงิดและความโกรธ: อารมณ์ฉุนเฉียวหงุดหงิดและโกรธบ่อย ๆ เป็นเรื่องปกติในเด็กที่มีโรคดื้อและต่อต้าน พวกเขาอาจหงุดหงิดง่ายและมักจะอารมณ์เสีย
- ความพยาบาท: เด็กบางคนที่มีโรคดื้อและต่อต้าน อาจมีพฤติกรรมพยาบาท แสวงหาการแก้แค้น หรือจงใจพยายามทำร้ายผู้อื่นเมื่อรู้สึกผิด
- ปัญหาสังคมและวิชาการ: โรคดื้อและต่อต้าน สามารถนำไปสู่ปัญหาในโรงเรียนและความสัมพันธ์ทางสังคมได้ เด็กที่มีภาวะ โรคดื้อและต่อต้าน อาจมีปัญหาในการสร้างและรักษาเพื่อนไว้ และพฤติกรรมของพวกเขาอาจส่งผลเสียต่อผลการเรียนของพวกเขาได้
- อาการกำเริบและระยะเวลา: โรคดื้อและต่อต้าน มักเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็ก โดยมีอาการมักจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนในช่วงวัยรุ่นตอนต้น ความผิดปกตินี้อาจคงอยู่นานหลายปีหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา
สิ่งสำคัญที่ควรทราบ คือ โรคดื้อและต่อต้าน ควรแยกความแตกต่างจากพฤติกรรมปกติและพฤติกรรมไม่เหมาะสมที่เหมาะสมตามวัย ซึ่งเด็กอาจแสดงออกมาเมื่อผ่านช่วงพัฒนาการต่าง ๆ การวินิจฉัยโรคดื้อและต่อต้านเกิดขึ้นเมื่อพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รุนแรง และทำให้การทำงานในแต่ละวันของเด็กแย่ลงอย่างมาก
สาเหตุที่แท้จริงของโรคดื้อและต่อต้านยังไม่ทราบแน่ชัด แต่น่าจะเป็นผลมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และระบบประสาทร่วมกัน พลวัตของครอบครัว วินัยที่ไม่สอดคล้องกัน และการเผชิญกับความเครียด สามารถมีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาหรือทำให้โรคดื้อและต่อต้านรุนแรงขึ้นได้
การรักษาโรคดื้อและต่อต้าน มักเกี่ยวข้องกับการบำบัดพฤติกรรม การฝึกอบรมผู้ปกครอง และในบางกรณีอาจต้องใช้ยาร่วมกัน พฤติกรรมบำบัดมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะจัดการอารมณ์ พัฒนาทักษะทางสังคม และพัฒนากลยุทธ์ในการรับมือที่ดีขึ้น การฝึกอบรมผู้ปกครองสามารถเป็นเครื่องมือในการสอนผู้ปกครองถึงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการพฤติกรรมของบุตรหลานและปรับปรุงพลวัตของครอบครัว ในบางกรณีอาจมีการจ่ายยาเพื่อจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นร่วม เช่น โรคสมาธิสั้น หรือความวิตกกังวล
การแทรกแซงและการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปรับปรุงผลลัพธ์ในเด็กที่มีโรคดื้อและต่อต้าน หากคุณสงสัยว่าบุตรหลานของคุณอาจเป็นโรคดื้อและต่อต้าน สิ่งสำคัญคือ ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่สามารถให้การวินิจฉัยที่แม่นยำและพัฒนาแผนการรักษาที่เหมาะสมได้


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา


-https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/oppositional-defiant-disorder/symptoms-causes/syc-20375831


- https://www.webmd.com/mental-health/oppositional-defiant-disorder


- https://medlineplus.gov/ency/article/001537.htm


- https://www.cdc.gov/childrensmentalhealth/behavior.html


ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล :https://ihealzy.com/oppositional-defiant-disorder-0626/