นักวิจัยของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) ใช้ระบบสแกนfMRI ตรวจพบความเปลี่ยนแปลงในสมองของกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่หมกมุ่นอยู่กับการเล่นอินเทอร์เน็ต ที่อาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและพัฒนาการในเวลาต่อมา
นาย Max Chang และทีมงานวิจัยในสถาบัน UCL Great Ormond Street Institute for Child Health เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารPLOS Mental Healthหลังจากทำการสแกนสมองด้วยระบบถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กเชิงฟังก์ชัน (fMRI) กับอาสาสมัครวัยรุ่นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชียในอังกฤษรวมทั้งอ้างอิงและวิเคราะห์ข้อมูลจากบทความวิชาการ 12 บทความที่เกี่ยวข้องกับคนหนุ่มสาว 237 คนอายุระหว่าง 10-19 ปี โดยทั้งหมดได้รับการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการว่าติดอินเทอร์เน็ตระหว่างปี ค.ศ. 2013 ถึง 2023
สำหรับผลการตรวจด้วยเครื่อง fMRI พบว่า การเชื่อมต่อระบบการทำงานของโครงข่ายประสาทในสมองของอาสาสมัครทั้งหมดซึ่งเป็นผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต มีประสิทธิภาพลดลงโดยเฉพาะส่วนที่เป็น active thinking (the executive control network) การเปลี่ยนแปลงนี้นำไปสู่พฤติกรรมและแนวโน้มที่ติดอินเทอร์เน็ตมากขึ้น รวมถึงทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางสติปัญญา การประสานงานทางกายภาพสุขภาพจิตและพัฒนาการของร่างกายด้วย
นาย Max Chang กล่าวว่าวัยรุ่นเป็นช่วงที่มีพัฒนาการสำคัญในเชิงชีววิทยากระบวนการรับรู้และบุคลิกภาพของตนเองสมองมีความเสี่ยงสูงจากการติดอินเทอร์เน็ตในช่วงเวลานี้พวกเขาจะรู้สึกว่าจำเป็นต้องเล่นอินเทอร์เน็ตต้องใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ดและบริโภคสื่อจนทำให้กินอาหารผิดเวลานอนน้อยลงนายชางหวังว่า การค้นพบเบาะแสการเปลี่ยนแปลงในสมองของวัยรุ่นจากการติดอินเทอร์เน็ตในครั้งนี้ จะนำไปสู่การหาวิธีการคัดกรองและรักษาอาการติดอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต
ผลสำรวจของสำนักงาน Ofcom พบว่ากว่า 60% ของประชาชนในสหราชอาณาจักรประมาณ 50 ล้านคนที่ใช้เวลาอยู่กับระบบออนไลน์สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 24 ชั่วโมงยอมรับว่าติดอินเทอร์เน็ตและส่งผลเสียต่อชีวิตของพวกเขาเช่นการไปทำงานหรือไปเรียนสายหรือละเลยกิจกรรมที่ต้องทำประจำในบ้าน
ข้อมูล :