ข้อมูลสำคัญล่าสุดของ Atogepant ออกฤทธิ์ป้องกันไมเกรนได้เร็วตั้งแต่วันแรก

ข้อมูลล่าสุดของ Atogepant ยาป้องกันไมเกรนชนิดรับประทานที่รวบรวมและวิเคราะห์จาก 3 การศึกษาทางคลินิกที่สำคัญแบบ randomized controlled trial (RCT) พบว่า Atogepant ยาป้องกันไมเกรนชนิดรับประทานในกลุ่ม anti-CGRP หรือ CGRP receptor antagonists ออกฤทธิ์ป้องกันไมเกรนได้อย่างรวดเร็วนับตั้งแต่วันแรกหลังได้รับยา ขณะเดียวกันก็สามารถลดจำนวนวันที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนต่อสัปดาห์และต่อเดือนลงได้ดีกว่ายาหลอกทั้งในกลุ่มคนไข้ไมเกรนชนิดเป็นๆ หายๆหรือแบบครั้งคราวและไมเกรนชนิดเรื้อรัง


การศึกษาเรื่อง “Early Improvements With Atogepant for the Preventive Treatment of Migraine: Results From 3 Randomized Phase 3 Trials” ของนายแพทย์ Richard B. Lipton (Department of Neurology and Headache Center, Albert Einstein College of Medicine, Bronx, New York, USA) และคณะที่รายงานไว้ในNeurology ซึ่งวารสารทางการของAmerican Academy of Neurology (AAN) ฉบับประจำวันที่ 28 มกราคม 2568 เป็นการรวบรวมข้อมูลจาก 3 การศึกษาทางคลินิกแบบ RCT ที่สำคัญของ atogepant ในคนไข้ไมเกรน ได้แก่ ADVANCE, ELEVATE และ PROGRESS trials แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อดูผลในการป้องกันไมเกรนของ atogepant ขนาด 60 mg รับประทานเพียงวันละครั้งเปรียบเทียบกับยาหลอก (placebo)


ADVANCE เป็นการศึกษาทางคลินิกแบบ phase 3, multicenter, randomized, double-blind, placebo-controlled 12-week trial ในคนไข้ episodic migraine จำนวนทั้งสิ้น 873 คนซึ่งในจำนวนนี้มี 222 คนที่ได้รับ atogepant 60 mg รับประทานเพียงวันละครั้งและ 214 คนได้รับ placebo ขณะที่ ELEVATE มี study design เหมือนกับ ADVANCE ทำในคนไข้ episodic migraine จำนวน 305 คนที่ล้มเหลวมาจากยาต้านไมเกรนชนิดรับประทาน 2-4 กลุ่มซึ่งในจำนวนนี้มี 151 คนที่ได้รับ atogepant 60 mg รับประทานเพียงวันละครั้งและอีก 154 คนได้รับ placebo ส่วน PROGRESS มี study design เช่นเดียวกับ ADVANCE และ ELEVATE แต่ทำในคนไข้ chronic migraine ที่มีประวัติป่วยเป็นไมเกรนเรื้อรังมานานกว่า 1 ปีจำนวนทั้งสิ้น 778 คนโดยในจำนวนนี้มี 256 คนที่ได้รับ atogepant 60 mg รับประทานเพียงวันละครั้ง และอีก 246 คนได้รับ placebo


ผลการศึกษาของนายแพทย์ Richard B. Lipton และคณะ พบว่าในกลุ่มคนไข้ไมเกรนทั้ง episodic และ chronic migraine ที่ได้รับ atogepant 60 mg รับประทานเพียงวันละครั้ง มีจำนวนหรือสัดส่วนของคนไข้ไมเกรนที่รายงานถึงการมี migraine day on day 1 หลังได้รับยาลดลงอย่างชัดเจนมากกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มคนไข้ไมเกรนที่ได้รับ placebo โดยมี odds ratio เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ placebo อยู่ที่ 0.39 (95% CI 0.23–0.67; p = 0.0006) ใน ADVANCE, 0.53 (95% CI 0.29–0.94, p = 0.031) ใน ELEVATE และอยู่ที่ 0.63 (95% CI 0.43–0.93, p = 0.021) ใน PROGRESS

ขณะที่เรื่องความเปลี่ยนแปลงจากเมื่อเริ่มต้นการศึกษาของความถี่หรือจำนวนวันของการปวดศีรษะไมเกรนต่อสัปดาห์ หรือ weekly migraine days (WMDs) ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-4 ผลการศึกษาพบว่าในกลุ่มคนไข้ไมเกรนทั้ง episodic และ chronic migraine ที่ได้รับ atogepant 60 mg รับประทานเพียงวันละครั้งมีการลดลงของ mean WMDs ที่ชัดเจนมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มคนไข้ไมเกรนที่ได้รับ placebo โดยในสัปดาห์ที่ 1 หลังได้รับยามี LSMD from placebo อยู่ที่ -0.74 (95% CI -0.96 to -0.51; p < 0.0001) ใน ADVANCE, -1.07 (95% CI -1.37 to -0.76, p < 0.0001) ใน ELEVATE และอยู่ที่ -0.85 (95% CI -1.17 to -0.53, p < 0.0001) ใน PROGRESS ขณะที่สัปดาห์ที่ 2 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 4 ก็มีผลการศึกษาในทำนองเดียวกันนี้


ส่วนเรื่องความเปลี่ยนแปลงจากเมื่อเริ่มต้นการศึกษาของความถี่หรือจำนวนวันของการปวดศีรษะไมเกรนต่อเดือน หรือ monthly migraine days (MMDs) ในช่วง 4 สัปดาห์แรกหลังได้รับยา พบว่ากลุ่มคนไข้ไมเกรนทั้ง episodic และ chronic migraine ที่ได้รับ atogepant 60 mg รับประทานเพียงวันละครั้งทั้งใน ADVANCE, ELEVATE และ PROGRESS trials มีการลดลงของ mean MMDs ที่ชัดเจนมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มคนไข้ไมเกรนที่ได้รับ placebo โดยมี LSMD from placebo อยู่ที่ -2.35 (95% CI -2.99 to -1.70; p < 0.0001) ใน ADVANCE, -3.07 (95% CI -3.95 to -2.20, p < 0.0001) ใน ELEVATE และอยู่ที่ -2.43 (95% CI -3.49 to -1.36, p < 0.0001) ใน PROGRESS

สำหรับผลการศึกษาในแง่ functional outcomes จากการประเมินด้วย AIM-D (Activity Impairment in Migraine-Diary) และ EQ-5D-5L (European Quality-of-Life 5-Dimension 5-Level) พบว่าในกลุ่มคนไข้ไมเกรนทั้ง episodic และ chronic migraine ที่ได้รับ atogepant 60 mg รับประทานเพียงวันละครั้งทั้งใน ADVANCE, ELEVATE และ PROGRESS trials มี greater improvement ของ performance of daily activities และ quality of life เมื่อเทียบกับกลุ่มคนไข้ไมเกรนที่ได้รับ placebo


ในส่วนของเรื่อง adverse events พบว่า atogepant 60 mg รับประทานเพียงวันละครั้ง ค่อนข้างมีความปลอดภัยตลอด 12-week treatment period ในทั้ง ADVANCE, ELEVATE และ PROGRESS trials โดยในช่วง 4 สัปดาห์แรกของทั้ง 3 RCTs มีรายงานของ treatment-emergent adverse events (TEAEs) อยู่ที่ 36.4% (84/231) ใน ADVANCE, 33.3% (52/156) ในELEVATE และ 41.0% (107/261) ใน PROGRESS เทียบกับ 33.3% (74/222), 29.9% (47/157) และ 29.4% (75/255) ตามลำดับของกลุ่มคนไข้ไมเกรนที่ได้รับ placebo


อนึ่ง สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) ให้การรับรอง atogepant ครั้งแรกในเดือนกันยายน 2564 ด้วยข้อบ่งใช้สำหรับป้องกันการปวดศีรษะไมเกรนหรือเป็น preventive treatment ในคนไข้ไมเกรนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่เป็นไมเกรนแบบครั้งคราวหรือเป็นๆหายๆ (episodic migraine คือมีความถี่ของการปวดศีรษะเดือนละไม่เกิน 15 วัน) และต่อมาในเดือนเมษายน 2566 FDA ได้ให้การรับรองข้อบ่งใช้เพิ่มเติมของ atogepant นั่นก็คือสำหรับใช้เป็น preventive treatment ในคนไข้ไมเกรนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่เป็นไมเกรนชนิดเรื้อรัง (chronic migraine คือมีความถี่ของการปวดศีรษะตั้งแต่ 15 วันต่อเดือนขึ้นไปมาเป็นเวลามากกว่า 3 เดือน) ดังนั้น atogepant จึงเป็น CGRP receptor antagonist ชนิดรับประทานตัวแรกและตัวเดียวเท่านั้นในปัจจุบันที่ได้รับการรับรองจาก FDA สำหรับใช้เป็น preventive treatment ในคนไข้ไมเกรนทั้ง episodic migraine และ chronic migraine อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

 


 


แหล่งที่มาของข้อมูล: www.aan.com, www.neurology.org, www.healio.com, www.drugs.com