หลายคนในวัยรุ่นและวัยทำงานพบปัญหาผมหงอกก่อนวัย ซึ่งปกติแล้วเส้นผมจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่ออายุประมาณ 30-40 ปี แต่ในบางคนกลับเกิดขึ้นก่อนอายุ 25 ปี สาเหตุหลักมาจากกรรมพันธุ์ แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย การมีผมขาวก่อนวัยอาจไม่ได้เป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง แต่ก็อาจทำให้ดูแตกต่างจากวัยเดียวกันได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดผมขาวก่อยวัย
1.กรรมพันธุ์ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีผมขาวตั้งแต่อายุยังน้อย อาจได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัวที่มีประวัติผมขาวเร็ว
2. ความเครียด ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสเต็มเซลล์ที่รากผม ทำให้การผลิตสีผมผิดปกติ ส่งผลให้ผมขาวก่อนวัยและยังเพิ่มโอกาสให้ผมขาดร่วงง่ายขึ้น
3. การขาดโปรตีนและวิตามินบางชนิด ร่างกายต้องการสารอาหารที่จำเป็น เช่น โปรตีนและวิตามินบี 12 เพื่อช่วยกระต้นการสร้างเมลานิน ซึ่งเป็นสารอาหารที่ทำให้ผมดกดำ อาหารที่มีโปรตีนและวิตามินบี 12 เช่น เนื้อสัตว์ นม โยเกิร์ต และผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ ควรบริโภคอย่างเพียงพอ หรือรับประทานวิตามินเสริมตามความเหมาะสม
4. ปัญหาสุขภาพ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคด่างขาว หรือไทรอยด์ อาจทำให้ผมขาวก่อนวัยได้
5. การสูบบุหรี่ บุหรี่ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อปอด แต่ยังทำลายกระบวนการสร้างเม็ดสีของเส้นผม ผู้ที่สูบบุหรี่ตั้งแต่วัยรุ่นมีความเสี่ยงที่จะเกิดผมขาวเร็วกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
6. การใช้สารเคมีหรือดูแลเส้นผมไม่ถูกวิธี การใช้สารเคมีแรงๆ หรือการทำสีผมบ่อยๆ อาจเร่งให้ผมขาวก่อนวัยได้
ป้องกันผมขาวก่อนวัยได้อย่างไรบ้าง
- รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินให้เพียงพอ
- งดสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงความเครียด
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การถอนผมหงอกไม่ทำให้ผมหงอกเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่?
แม้จะมีความเชื่อว่าการถอนผมหงอกจะทำให้ผมหงอกลามไปที่อื่น ความจริงคือผมใหม่ที่ขึ้นมาในตำแหน่งนั้นก็ยังคงเป็นผมหงอกเช่นเดิม แต่ไม่ได้ส่งผลให้เส้นผมบริเวณนั้นหงอกเพิ่มขึ้น
ถอนผมหงอกบ่อยๆ อาจทำให้ผมไม่ขึ้นอีก?
เนื่องจากเส้นผมมีวงจรชีวิตจำกัด หากถอนผมซ้ำๆ ที่ตำแหน่งเดิม อาจทำให้เซลล์รากผมเสื่อมสภาพ ส่งผลให้เกิดผมบางหรือศีรษะล้านได้
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/339