ทีมนักเคมีของ University of Illinois Urbana-Champaign ในสหรัฐอเมริกายืนยันผลการทดลองใช้ยา Lolamicin ยาปฏิชีวนะรุ่นใหม่ของ AstraZeneca ว่ามีประสิทธิภาพขจัดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาแต่ไม่ทำลายจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
ผลงานวิจัยเกี่ยวกับตัวยาLolamicinได้รับการเผยแพร่ทางวารสารNatureและสื่อออนไลน์อื่นๆอีกมากมาย ระบุถึงการพัฒนายาปฏิชีวนะตัวใหม่ที่ช่วยลดหรือกำจัดการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่ทำให้เกิดโรคปอดบวมเฉียบพลันและภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยจากการทดลองกับหนูพบว่าจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ของหนูไม่ได้ถูกขจัดออกไปด้วยและLolamicinยังช่วยป้องกันการติดเชื้อทุติยภูมิของClostridioides difficile ซึ่งเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยและเป็นอันตรายนอกจากนี้Lolamicinยังมีฤทธิ์กำจัดแบคทีเรียดื้อยามากกว่า 130 สายพันธุ์
ศาสตราจารย์ Paul Hergenrother หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าผู้คนเริ่มตระหนักว่ายาปฏิชีวนะที่ทุกคนกำลังใช้กันในปัจจุบันเช่น amoxicillin และ clindamycin อาจช่วยรักษาการติดเชื้อแต่ก็ส่งผลด้านลบด้วยเพราะไปฆ่าแบคทีเรียที่ดีและมีประโยชน์ในร่างกายของเรา การลดจำนวนแบคทีเรียที่ดีนั้นยิ่งไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มเติมในระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งตับไตและเกิดผลเสียอื่นๆตามมาอีกด้วยทั้งนี้ยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกเท่านั้นหรือไม่ก็ขจัดเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบที่มีประโยชน์
ในการทดลองเบื้องต้นทีมวิจัยพบว่าLolamicinไม่มีผลต่อแบคทีเรียแกรมบวกแต่สามารถฆ่าเชื้อที่ดื้อยาอย่างE. coli, K pneumoniae และE. cloacae มากถึง 90% แต่พวกเขายังต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อทดสอบกับแบคทีเรียอีกมากมายควบคู่ไปกับการศึกษาด้านพิษวิทยาอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อประเมินด้วยว่าLolamicin ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่นี้จะไปกระตุ้นให้เกิดการดื้อยาในระยะยาวได้เร็วแค่ไหน ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็วสำหรับแบคทีเรียที่ถูกจำกัดด้วยยาปฏิชีวนะ
ข้อมูล : https://www.nature.com/articles/d41586-024-01566-8